สมัยนี้เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของกีฬามวยไทยอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงจากการคาดเชือกมาเป็นแบบสวมนวม สาเหตุเพราะในสมัยสนามมวยหลักเมืองท่าช้างนี้ มีนักมวยชกกันตายต่อสายตาผู้ชมรอบสนามมวยเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก

 

การเปลี่ยนแปลงจากการคาดเชือกมาเป็นแบบสวมนวม
การเปลี่ยนแปลงจากการคาดเชือกมาเป็นแบบสวมนวม

 

          ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2466-2472 สนามมวยหลักเมืองท่าช้าง ได้จัดการแข่งขันชกมวยขึ้นโดยมีพลโทพระยาเทพหัสดินทร์เป็นนายสนาม ทำหน้าที่บริหารและจัดการแข่งขันมวยไทย สนามมวยนี้ตั้งอยู่บริเวณที่เป็นโรงละครแห่งชาติปัจจุบัน ได้ปรับปรุงสภาพของเวทีมวยให้ดีกว่าเดิมคือทำเวทีมวยให้แน่นหนาถาวรกว่าสมัยสนามมวยสวนกุหลาบมีเชือกกั้นเวทีมวยเส้นใหญ่ขึ้น เสาเชือกแข็งแรงมั่นคงยิ่งขึ้น ทางขึ้นลงของนักมวยไม่มีเพราะนักมวยที่ขึ้นชกกันในสมัยสวนกุหลาบมีหลายครั้งที่นักมวยตกเวทีตรงช่องขึ้นลงนี้

 

ได้จัดการแข่งขันชกมวยขึ้นโดยมีพลโทพระยาเทพหัสดินทร์เป็นนายสนาม
ได้จัดการแข่งขันชกมวยขึ้นโดยมีพลโทพระยาเทพหัสดินทร์เป็นนายสนาม

 

          “สมัยนี้เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของกีฬามวยไทยอีกอย่างหนึ่งก็คือ มีการเปลี่ยนแปลงจากการคาดเชือกมาเป็นแบบสวมนวม สาเหตุเพราะในสมัยสนามมวยหลักเมืองท่าช้างนี้มีนักมวยชกกันตายต่อสายตาผู้ชมรอบสนามมวยเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก” นักมวยคนนั้นก็คือ นายแพ เลี้ยงประเสริฐ นักมวยฝีมือดีจากท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ต่อยนายเจีย แขกเขมร ด้วยหมัดคาดเชือกจนตาย หลังจากที่เกิดเหตุการณ์อันน่าสลดใจนี้ทางคณะกรรมการหลายฝ่ายรวมทั้งทางการตำรวจได้ตกลงให้การชกมวยไทยทั่วประเทศมีการสวมนวมชก และให้สวมถุงเท้าแทนรองเท้า โดยนักมวยคู่แรกที่สวมนวมชกกันที่สนาม

 

นักมวยฝีมือดีจากท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์
นักมวยฝีมือดีจากท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์

 

          มวยหลักเมืองท่าช้าง คือ นายคำเหมย เมืองยศ นักมวยฝีมือดีจากลานนาไทย (เขลางค์นคร) ซึ่งครั้งนั้นเข้ามาซ้อมอยู่ที่ค่ายทวีสิทธิ์ของครูกิมเส็ง ชกกับนายนพ ชมศรีเมฆ นับว่าเป็นนักมวยคู่ประวัติศาสตร์ในวงการกีฬามวยไทยคู่หนึ่ง แต่การชกปรากฏว่านักมวยทั้งสองที่สวมถุงเท้าชกมักจะหกล้ม หรือไม่ก็เสียจังหวะขณะที่เตะจนทำให้การชกมวยไทยไม่สะดวกเท่าที่ควร นักมวยไม่กล้าเตะ คนดูก็ไม่พอใจ ต่อมาจึงให้เลิกสวมถุงเท้าแต่ยังคงใช้นวมแทนหมัดคาดเชือกอยู่

 

มวยหลักเมืองท่าช้าง คือ นายคำเหมย เมืองยศ
มวยหลักเมืองท่าช้าง คือ นายคำเหมย เมืองยศ

 

          การฝึกหัดมวยไทยในสมัยนั้นมีการนำเอาวิธีการทางพลศึกษามาใช้ในการฝึกหัดด้วยเช่น การบริหารร่างกาย การเพาะกล้ามเนื้อให้แข็งแรงมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ทั้งนี้ก็เพราะมีครูมวยที่ได้ศึกษาวิชาพลศึกษามาทำการฝึกสอนมวยไทยหลายคน “การที่การฝึกหัดมวยไทยได้รับอิทธิพลมาจากการพลศึกษานี้เองจึงทำให้การฝึกหัดมวยไทยเป็นระบบมากขึ้น” และเนื่องจากนักการศึกษาได้มีโอกาส ไปศึกษาต่างประเทศและได้นำเอาแนวความคิด วิธีการ และอุปกรณ์การฝึกต่างๆ เข้ามาใช้ในประเทศไทย เช่น การฝึกหัดในโรงยิมส์ หรือค่ายซ้อมที่มีอุปกรณ์การฝึกซ้อมครบครัน

          มีกระสอบทรายสำหรับฝึกหัดเตะต่อย มีเป้าล่อแบบสั้นและยาว มีนวมซ้อมและนวมชกจริงส่วนการฝึกสมรรถภาพทางกายก็มีการฝึกยกบาร์เบล ดัมเบล เล่นบาร์เดี่ยว บาร์คู่ กระโดดเชือกชกลม ฯลฯ

 

การฝึกหัดในโรงยิมส์
การฝึกหัดในโรงยิมส์

 

          “สำหรับมวยไทยในปัจจุบันนี้ มีการกำหนดกฎกติกาต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน นักมวยต้องสวมนวม และแต่งกายแบบนักกีฬามวย คือ สวมกางเกงขาสั้น สวมกระจับ ส่วนผู้ใดจะสวมปลอกรัดข้อเท้า และจะมีเครื่องรางของขลังผูกไว้ที่แขนท่อนบนก็ได้” ในการแข่งขันมีผู้ตัดสินชี้ขาดบนเวที 1 คน มีผู้ตัดสินให้คะแนนอยู่ข้างเวที 2 คน มีผู้จับเวลา 1 คนและมีแพทย์ประจำเวที 1 คน จำนวนยกในการแข่งขันทั้งหมดมี 5 ยก ยกละ 3 นาที พักระหว่างยก 2 นาที การแข่งขันแบ่งเป็นรุ่นตามน้ำหนักตัวของนักมวยเหมือนกับหลักเกณฑ์ของมวยสากล ผู้ตัดสินมีอำนาจหน้าที่ตามกติกาการ แข่งขัน อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้แข่งขันได้คือ หมัด เท้า เข่า และศอกเข้าชก เตะ ถีบ ทุบ ถอง ตี ฯลฯ ได้ทุกส่วนของร่างกายโดยไม่จำกัดที่ชก

 

นักมวยต้องสวมนวม และแต่งกายแบบนักกีฬามวย
นักมวยต้องสวมนวม และแต่งกายแบบนักกีฬามวย

 


          ก่อนการแข่งขันนักมวยทั้งสองจะทำการไหว้ครูและร่ายรำ คือ กราบสามครั้งเพื่อระลึกถึง บิดา มารดา ครูอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่เคารพนับถือ ตลอดจนขอคุณพระศรีรัตนตรัย หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาช่วยคุ้มครอง และขอให้ได้ชัยชนะด้วยความปลอดภัยในที่สุด แล้วจึงร่ายรำไปรอบ ๆ เวทีตามแบบฉบับของครูที่ได้สอนไว้ให้โดยตลอดนักมวยทุกคนจะสวม “มงคล” ที่ศีรษะ “มงคลนี้ทำด้วยด้ายดิบหลายเส้นรวมกันแล้วพันหุ้มด้วยผ้าโตขนาดนิ้วมือ ทำเป็นรูปบ่วงเพื่อสวมศีรษะ การสวมมงคลไว้ก่อนแข่งขันนี้เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ครูอาจารย์ได้ทำพิธีปลุกเสกและให้ความเป็นสิริมงคลไว้แก่ตน” ฉะนั้นนักมวยจะสวมมงคลไว้ตลอดเวลาที่ทำการไหว้ครูและร่ายรำ และจะถอดออกจากศีรษะได้เมื่อจะเริ่มการแข่งขัน ในระหว่างการไหว้ครูและร่ายรำนั้นจะมีดนตรีบรรเลงประกอบตามทำนองของดนตรีไทยเป็นจังหวะช้าๆเครื่องดนตรีเหล่านั้นได้แก่ ปี่ชวา กลองแขก 2 และฉิ่ง 1 เมื่อถอดมงคลแล้วกรรมการผู้ชี้ขาดจะให้นักมวยทั้งสองมาจับมือกัน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีน้ำใจเป็นนักกีฬาพร้อมกันนั้นก็จะตักเตือนกติกาสำคัญๆ อันเกี่ยวกับการแข่งขันให้นักมวยทั้งสองได้ทราบ

 

กราบสามครั้งเพื่อระลึกถึง บิดา มารดา ครูอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์
กราบสามครั้งเพื่อระลึกถึง บิดา มารดา ครูอาจารย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

 

          ครั้นเมื่อการต่อสู้ได้เริ่มขึ้นอย่างจริงจังแล้วดนตรีจะบรรเลงในทำนองเร่งเร้าให้นักมวยทั้งสองเกิดความรู้สึกฮึกเหิมและมุ่งเข้าต่อสู้กันอย่างดุเดือด การร่ายรำและการต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบนั้น นอกจากจะถือว่าเป็นศิลปะแล้ว ยังเป็นประเพณีอันดีงามของชาวไทยมาแต่โบราณกาล จนไม่อาจจะทิ้งให้สูญหายไปเสียได้

          ปัจจุบัน การแข่งขันมวยไทยเป็นกีฬาอาชีพโดยสิ้นเชิง เฉพาะในกรุงเทพฯ มีการแข่งขันเป็นประจำเกือบทุกวัน วันละ 2 รอบก็มี สำหรับการควบคุมการแข่งขันชกมวยอาชีพขึ้นอยู่กับกฎข้อบังคับของกระทรวงมหาดไทย ที่มิใช่อาชีพก็มีเพียงการฝึกสอนในสถาบันการพลศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ศิลปะมวยไทยสูญหายไปและเพื่อรักษาไว้ซึ่งศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ

 

การร่ายรำและการต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบ
การร่ายรำและการต่อสู้โดยมีดนตรีประกอบ

 

          ชาวต่างประเทศที่มีโอกาสได้มาท่องเที่ยวในประเทศไทย มักจะไม่ยอมพลาดโอกาสที่จะไปชมการแข่งขันมวยไทย เพราะมวยไทยมีวิธีชกแปลก และยิ่งกว่านั้นนักมวยไทยยังได้เคยเดินทางไปแสดงในต่างประเทศมาแล้วหลายครั้งจนเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไป “มีศิลปะการต่อสู้ของชาติต่างๆ ได้ขอเข้ามาต่อสู้กับมวยไทย เช่น ยูโด คาราเต้ เทควันโดมวยสากล มวยปล้ำ มวย Kick Boxing ฯลฯ ซึ่งทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่าการต่อสู้แบบมวยไทยเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบด้าน จึงสนใจเรียนมวยไทยกันมาก” อีกทั้งมีคนไทยที่มีความรู้ด้านมวยไทยเป็นอย่างดี”ซึ่งอาจเป็นครูสอนมวยไทยมาก่อน หรือบางคนเป็นนักมวยที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงมาก่อนไปอาศัยในต่างประเทศ ได้เปิดสอนมวยไทยในประเทศที่ตนเองไปอาศัยอยู่ ก็ได้รับการสนใจเป็นอันมากจากชาวต่างชาติ ปัจจุบันมวยไทยอาชีพได้เผยแพร่จนเป็นที่รู้จักทั่วกัน จนมีการจัดการแข่งขันมวยไทยในต่างประเทศบ่อย ๆ เช่น อังกฤษ อเมริกา แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ฯลฯ เป็นการแข่งขันมวยไทยระหว่างนักมวยไทยกับมวยต่างชาติที่นิยมฝึกมวยไทย หรือการแข่งขันระหว่างนักมวยไทยด้วยกันเองในต่างแดน จากความสนใจของชาวต่างชาติที่ฝึกมวยไทยนี้เอง จึงมีนักมวยต่างชาติเข้าใจและมีฝีมือในการต่อสู้แบบมวยไทยเป็นอย่างดีมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน 

          มีศิลปะการต่อสู้ของชาติต่างๆ ได้ขอเข้ามาต่อสู้กับมวยไทยเช่น ยูโด คาราเต้ เทควันโด มวยสากล มวยปลำ้ มวย Kick Boxingฯลฯ ซึ่งทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่าการต่อสู้แบบมวยไทยเป็นวิธีการต่อสู้ที่มีพิษสงรอบด้าน จึงสนใจเรียนมวยไทยกันมาก

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 710,872 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 806,264 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 821,727 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 955,269 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 903,319 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 999,952 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 585,351 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 645,921 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม