นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล ทั้งสองคนได้พักอยู่ที่วังเปรมประชากรโดยมีกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ซึ่งเป็นผู้ที่มีฝีมือมวยไทยเยี่ยมยอดมากคนหนึ่งเป็นผู้ควบคุมการฝึกซ้อม

 

นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล
นายทับ จำเกาะ และนายยัง หาญทะเล

         นักมวยที่พักอยู่ในวังเปรมประชากรได้รับการฝึกซ้อมอย่างแข็งขัน การกินอยู่หลับนอนสมบูรณ์สุขภาพทางกายและทางจิตดี ทำให้นักมวยทุกคนพร้อมที่จะชกมวยได้ตลอดเวลาดังนั้นการเปรียบมวยในสมัยนั้นจึงไม่ถือเอาน้ำหนักของนักมวยเป็นสิ่งที่สำคัญ การหาคู่ชกเมื่อยืนเทียบกันพิจารณาเห็นสมควรและสมัครใจกันทั้งสองฝ่ายแล้วสามารถตกลงกันได้เลยซึ่งนายทับ จำเกาะ ได้คู่ชกเป็นนักมวยฝีมือดีจากมหาสารคามและนายทับ จำเกาะ เป็นฝ่ายชนะ

 

การกินอยู่หลับนอนสมบูรณ์สุขภาพทางกายและทางจิตดี
การกินอยู่หลับนอนสมบูรณ์สุขภาพทางกายและทางจิตดี

 

         ต่อมาสนามมวยสวนกุหลาบได้คัดเลือกนักมวยฝีมือดีอีกคนหนึ่งมาชกกับนายทับจำเกาะ คือ นายประสิทธิ์ บุญยารมณ์ ซึ่งเป็นครูพลศึกษาเคยซ้อมอยู่กับนายทิม อติเปรมานนท์ หรือคนทั่วไปเรียก “ครูทิม” ซึ่งเป็นครูพลศึกษาที่มีฝีมือมวยไทยเป็นเลิศคนหนึ่งการฝึกซ้อมอยู่ในความควบคุมของพระยาภักดีนรเศรษฐ์ พระยาโอวาทวรกิจ และพระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ ตอนแรกทางสนามมวยจะจัดให้นายทับ จำเกาะ ชกกับนายบังสะเลบศรไขว้ ซึ่งเป็นนักมวยที่แข็งแรง บึกบึน รูปร่างใหญ่โต อยู่ในความควบคุมของหม่อมราชวงศ์มานพฯ แต่นายทับ จำเกาะไม่ยอมชกด้วย จึงจัดให้ชกกับนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์แทน “ต่อมานายทับ จำเกาะ ได้ทราบว่าตนเองจะได้ชกกับนักมวยฝีมือดีอย่างนายประสิทธิ์บุญยารมณ์ ก็คิดมากจนล้มป่วยเพราะมีจิตใจไม่สู้ เกรงกลัวคู่ต่อสู้จนเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ต้องพาไปทำพิธีปลุกเสกจากพระครูวิมลคุณาการ (หลวงพ่อสุก) วัดมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของเสด็จกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์”

 

นายประสิทธิ์ บุญยารมณ์
นายประสิทธิ์ บุญยารมณ์

 

         มวยคู่นี้เป็นมวยที่ประชาชนสนใจมากในยุคนั้น ผู้ชมได้เข้าชมจนแน่นสนามมวยสวนกุหลาบ พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี แม่กองเสือป่าเป็นผู้เป่าปี่ มีลูกน้องในคณะตีกลองแขกและฉิ่งให้จังหวะ ซึ่งสามารถกระตุ้นอารมณ์ได้เป็นอย่างดี การชกกันเป็นไปในแบบระมัดระวังมากเพราะต่างก็มีไม้ตายด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่นายทับใช้ชั้นเชิงหลอกต่อยผิดนายประสิทธิ์ จึงวิ่งเข้าต่อยแต่เป็นจังหวะที่นายทับเตะตามอย่างรุนแรง และนายทับได้เตะติดต่อกันหลายครั้งจนนายประสิทธิ์ล้มลงด้วยความเจ็บปวดและยอมแพ้ไป

 

ชมได้เข้าชมจนแน่นสนามมวยสวนกุหลาบ
ชมได้เข้าชมจนแน่นสนามมวยสวนกุหลาบ

 

         การพ่ายแพ้ของนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์ นักมวยเมืองกรุงต่อนายทับ จำเกาะนักมวยโคราชในครั้งนั้นทำให้ชาวกรุงเรียกร้องที่จะเฟ้นหานักมวยฝีมือดีขึ้นต่อสู้กับนายทับ จำเกาะ เป็นคนต่อไป เช่น นายสุวรรณ นิวาสะวัด ศิษย์เอกของหลวง

 

 การพ่ายแพ้ของนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์
 การพ่ายแพ้ของนายประสิทธิ์ บุญยารมณ์

 

         พิพัฒน์พลกาย (กระจ่าง วิโรจน์เพชร) นายอินทร์ ศักดิ์เดช มวยไชยาลูกศิษย์เอกของ“หมื่นมวยมีชื่อ ” นายพูน ศักดา มวยดีจากโคราช ครูทิม อติเปรมมานนท์ นายสิน ดิลกวิลาศ(น้าชายของสมาน ดิลกวิลาศ) ชาวพระนคร “แต่ก็ไม่มีผู้ใดได้ชกกับนายทับ เพราะนายทับได้กลับไปโคราชบ้านเกิดเมืองนอน และไม่ยอมกลับมาชกมวยอีกเลย”

 

 มวยไชยาลูกศิษย์เอกของ“หมื่นมวยมีชื่อ ” นายพูน ศักดา
 มวยไชยาลูกศิษย์เอกของ“หมื่นมวยมีชื่อ ” นายพูน ศักดา

 

         ส่วนนายยัง หาญทะเล นักมวยฝีมือดีที่เดินทางมาจากโคราชพร้อมนายทับจำเกาะ ยังหาคู่ชกที่เหมาะสมไม่ได้ พระยานนทิเสนสุเรนทรภักดี ซึ่งเป็นผู้บริหารสนามมวยสวนกุหลาบจึงปรึกษาหารือคณะกรรมการเพื่อหาคู่ชกให้ในที่สุดก็จัดให้ชกกับมวยจีนชื่อ “จี๊ฉ่าง” ซึ่งนายเคียงเหลียน สีบุญเรือง และนายฮุนกิมฮวด แห่งสโมสรสามัคคีจีนสยามเป็นผู้สั่งมาจากฮ่องกง แต่บางเสียงก็ว่าเป็นจีนกวางตุ้ง ซึ่งเป็นอาจารย์สอนมวยจีนอยู่ย่านสำเพ็ง ทำการฝึกซ้อมที่ค่ายมวยแถววัดแก้วแจ่มฟ้า (วัดแก้วฟ้าล่าง) ถนนสี่พระยาส่วนนายยัง หาญทะเล ก็ทำการฝึกซ้อมอยู่ที่วังเปรมประชากร โดยการควบคุมของเสด็จในกรมฯ ทำ “พิธี “ชุบตัว” หรือพิธี “อตตมสูตร” ซึ่งจะต้องพาไปรดน้ำมนต์ และมีการลงคาถาอาคมรับมอบเครื่องรางของขลังต่างๆ ซึ่งจะทำให้นักมวยมีจิตใจกล้าหาญพร้อมที่จะต่อสู้กับศัตรูได้เสมอ” หลังจากที่นายยัง หาญทะเลได้ผ่านพิธีชุบตัวแล้วก็มีจิตใจกล้าหาญ พร้อมที่จะต่อสู้กับมวยจีน

 

พิธี “ชุบตัว” หรือพิธี “อตตมสูตร
 พิธี “ชุบตัว” หรือพิธี “อตตมสูตร

 

         มวยคู่นี้สามารถดึงดูดความสนใจของประชาชนได้มากเป็นประวัติการณ์ เพราะทั้งชาวจีนและชาวไทยต่างพากันเข้าชมจนบัตรหมด ที่นั่งเต็มก่อนการชกหลายชั่วโมงนายยัง หาญทะเล แต่งกายตามแบบของมวยไทยในสมัยรัชกาลนั้น มีผ้าขนหนูสีเทาชุบน้ำพาดบ่า เคี้ยวหมาก ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องรางของขลังอย่างหนึ่งที่ได้มาจากครูบาอาจารย์ของนักมวย ขนาบข้างด้วยพี่เลี้ยงพระชลัมภ์พิสัยเสนี มีวงปี่กลองของหมื่นสมัคร เสียงประจิตบรรเลงอยู่ข้างล่างของเวที เมื่อถึงเวลาชกกรรมการได้เรียกนักมวยและพี่เลี้ยงของนักมวยทั้งสองฝ่ายมาชี้แจงกติกาการชก เมื่อตกลงกันแล้วผู้ตัดสินก็กล่าวสรุปผลมีความสำคัญว่า “การแข่งขันเพื่อการแพ้ชนะมีกำหนด 11 ยก คนทำคู่ต่อสู้ล้มให้ไปคอยอยู่ที่มุมกลองจึงไม่ใช้มุมของฝ่ายใด ต้องแยกกันเมื่อได้ยินเสียงบอกแยก ห้ามซ้ำ ใช้ลูกติดพันได้คนใดไม่เชื่อฟังถือว่าผิดประเพณี ใช้เสียงกลองเป็นสัญญาณ” ซึ่งกติกาเหล่านี้เป็นกติกาการแข่งขันชกมวยของสนามมวยสวนกุหลาบปี พ.ศ. 2464 “ผลปรากฏว่านายยังชกชนะจี๊ฉ่าง ซึ่งถูกกรรมการนับ 10 แล้วยังไม่สามารถลุกขึ้นได้เป็นฝ่ายแพ้ไป”

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาเพิ่มเติม : ประวัติมวยไทย




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 710,873 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 806,264 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 821,728 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 955,269 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 903,320 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 999,954 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 585,351 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 645,922 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม