ข้อที่ 1. สนามแข่งขัน ( THE COURT )
1.1 พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ เมื่อวัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นสนามหญ้าหรือสนามทราย )
1.2 เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากกรอบนอกเข้ามาในสนามและถือเป็นส่วนของพื้นที่สนามแข่งด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร
1.3 เส้นกลาง มีขนาดกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนามออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาเท่าๆกัน
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้างเขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสอง ด้านรัศมี 90 เมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร
1.4 เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมของสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลางให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ก่งกลางของเส้นกลางตัดกับขอบด้านในของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้านรัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นนขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกรัศมี 90 เซนติเมตร
1.5 วงกลมเสิร์ฟ ให้รัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากจุดกงกลางของเส้นหลังไปในสนาม 2.45 เมตร และวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างไปในสนาม 3.05 เมตร แ ละวัดจากขอบด้านนอกของเส้นข้างเข้าไปในสนาม 3.05 เมตร ใช้ตรงจุดตัดจากเส้นหลังและเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร ( ดูรูปขนาดสนามจากภาคผนวก )
ข้อที่ 2. เสา ( THE POSTS )
2.1 เสามีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร ) ตั้งอยู่อย่างมั่นคงพอที่จะทำให้ตาข่ายตึง โดยต้องทำจากวัสดุที่มีความแข็งแกร่งและมีรัศมีไม่เกิน 4 เซนติเมตร
2.2 ตำแหน่งของเสา ให้ตั้งหรือวางไว้อย่างมั่นคงนอกสนามตรงกับแนวเส้นกลาง ห่างจากเส้นข้าง 30 เซนติเมตร
ข้อที่ 3. ตาข่าย ( THE NET )
3.1 ตาข่ายให้ทำด้วยเชือกอย่างดีหรือไนล่อน มีรูตาข่ายกว้าง 6 – 8 เซนติเมตร ความกว้างของผืนตาข่าย 70 เซนติเมตร และความยาวไม่น้อยกว่า 6.10 เมตร ให้มีวัสดุที่ทำเป็นแถบ ขนาดความกว้าง 5 เซนติเมตร ตรงด้านข้างของตาข่ายทั้งสองด้านจากด้านบนถึงด้านล่างตรงกับแนวเส้นข้างซึ่งเรียกว่า “แถบแสดงเขตสนาม”
3.2 ตาข่ายให้มีขนาดความกว้าง 5 ซนติเมตร ทั้งด้านบนและด้านล่าง โดยมีเชือกธรรมดาหรือเชือก ไนล่อนอย่างดี ร้อยผ่านแถบและขึงตาข่ายให้ตึงเสมอระดับหัวเสา ความสูงของตาข่ายโดยวัดจากพื้นถึงส่วนบนของตาข่ายที่กึ่งกลางสนามมีความสูง 1.52 เมตร ( ผู้หญิง 1.42 เมตร ) และวัดตรงเสาทั้งสองด้านมีความสูง 1.55 เมตร ( ผู้หญิง 1.45 เมตร )
ข้อที่ 4 ลูกตะกร้อ ( THE SEPAKTRAKRAW BALL’ )
ลูกตะกร้อต้องมีลักษณะเป็นทรงกลม ทำด้วยหวายหรือใยสงเคราะห์ชั้นเดียวมี 12 รู กับ 20 จุดตัดไขว้ หากทำด้วยหวายต้องมีจำนวน 9 – 11 เส้น ขนดของเส้นรอบวงต้องไม่น้อยกว่า 42 เซนติเมตร และไม่มากกว่า 44 เซนติเมตร ( ผู้หญิง 43 – 45 เซนติเมตร) น้ำหนักก่อนใช้แข่งขันต้องไม่น้อยกว่า 170 กรัม และไม่เกินกว่า 180 กรัม ( ผู้หญิง 150 – 160 กรัม )
ข้อที่ 5 ผู้เล่น ( THE PLAYERS )
5.1 การแข่งขันมี 2 ทีม ประกอบด้วยผู้เล่นฝ่ายละ 3 คน
5.2 ผู้เล่นหนึ่งในสามคนจะเป็นผู้ เสิร์ฟลูกและอยู่ด้านหลังเรียกว่า “ผู้เสิร์ฟ” “Server ( Tekong )”
5.3 ผู้เล่นอีกสองคนอยู่ด้านหน้า โดยคนหนึ่งจะอยู่ด้านซ้ายเรียกว่า “หน้าซ้าย” ( left inside ) และคนที่อยู่ด้านขวาเรียกว่า “หน้าขวา” ( night inside )
ข้อที่ 6. เครื่องแต่งกายของผู้เล่น ( PLAYER ATTIRE)
6.1 สำหรับผู้ชายต้องสวมเสื้อยืด กางเกงขาสั้น ( สำหรับผู้หญิงให้สวมเสื้อยืดมีแขนและกางเกงขาสั้นระดับเข่า ) และรองเท้ากีฬาพื้นยาง ( ถุงเท้าด้วย ) ห้ามผู้เล่นสวมสิ่งอื่นใดที่จะเป็นอันตรายแก่ฝ่ายตรงข้ามในระหว่างการแข่งขัน กรณีที่อากาศหนาวอนุญาตให้ผู้เล่นสวมชุดวอร์มแข่งขันได้
6.2 ส่วนต่างๆของเครื่องแต่งกายของผู้เล่นถือเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายและชายเสื้อจะต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลาการแข่งขัน
6.3 สิ่งใดก็ตามที่จะช่วยเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ หรือช่วยในการเคลื่อนที่ของผู้เล่นไม่อนุญาตให้ใช้
6.4 หัวหน้าทีม ( captian) จะต้องใส่ปลอกแขน ที่แขนเสื้อด้านซ้าย
6.5 เสื้อของผู้เล่นทุกคนจะต้องติดหมายเลขด้านหลังให้เห็นได้ชัดเจนให้แต่ละทีมใช้หมายเลข 1 – 15 เท่านั้น มีขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 19 เซนติเมตร ซึ่งกำหนดให้ผู้เล่นจะต้องมีเพียงหมายเลขเดียวตลอดการแข่งขัน ( tournament )
ข้อที่ 7. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น ( SUBSTITUTION )
7.1ผู้เล่นคนใดที่ได้ลงแข่งขันในแต่ละทีม หรือได้เปลี่ยนตัวไปแล้วจะไม่อนุญาตให้ลงแข่งในทีม ( regu )อื่นๆอีก สำหรับการแข่งขันประเภททีมชุด ( team ) เฉพาะครั้งนั้นๆ
7.2 การเปลี่ยนตัวผู้เล่นจะกระทำเวลาใดก็ได้ โดยผู้จัดการทีมยื่นขอต่อกรรมการผู้ชี้ขาด เมื่อลูกตะกร้อไม่ได้อยู่ในการเล่น ( ลูกตาย )
7.3 แต่ละทีม ( regu ) มีผู้เล่นสำรองไม่เกิน 2 คน แต่อนุญาต ให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ 1 คนเท่านั้น
7.4 ผู้เล่นคนใดถูกผู้ตัดสินให้ออกจากการแข่งขัน จะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้ ถ้าหากว่ายังมิได้มีการเปลี่ยนตัว
7.5 ทีมใด ( regu ) มีผู้เล่นน้อยกว่า 3 คน จะไม่อนุญาตให้ทำการแข่งขันและปรับทีมนั้นเป็นแพ้การแข่งขัน
ข้อที่ 8 เจ้าหน้าที่ ( OFFICIALS )
กีฬาเซปักตะกร้อ มีเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการแข่งขันดังต่อไปนี้
8.1 กรรมการผู้ชี้ขาด 1 คน
8.2 กรรมการผู้ตัดสิน 2 คน ( ผู้ตัดสิน 1 คนผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 คน )
8.3 กรรมการผู้กำกับเส้น 6 คน ( กำกับเส้นข้าง 4 คน และกำกับเส้นหลัง 2 คน
ข้อที่ 9. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกาย ( THE COIN TOSS AND WARM UP )
ก่อนเริ่มการแข่งขันกรรมการผู้ตัดสินจะทำการเสี่ยง ผู้ชนะการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกลูกส่ง หรือเลือกแดนก็ได้ ทีมที่ชนะการเสี่ยงจะเป็นทีมที่อบอุ่นร่างกายในสนามก่อนเป็นเวลา 2 นาที แล้วตามด้วยทีมที่เหลืออยู่ด้วย
ตะกร้อที่ใช้ในการแข่งขัน และให้มีบุคคลอยู่ในสนามได้ 5 คนเท่านั้น ( ผู้เล่นตัวจริง 3 คน และหรือ ผู้จัดการทีม ผู้ฝึกสอนและผู้เล่นสำรอง )
ข้อที่ 10. ตำแหน่งของผู้เล่นระหว่างการส่งลูก ( OSITION OF PLAYERS DURING SERVICE )
10.1 เมื่อเริ่มผู้เล่นทั้งสองทีม ( both regus ) ต้องยืนอยู่ในที่ที่กำหนไว้ในแดนของตน ลักษณะที่เตรียมพร้อม
10.2 ผู้เสิร์ฟ ( tekong ) ต้องวางเท้าหลักอยู่ในวงกลมเสิร์ฟ
10.3 ผู้เล่นด้านหน้าทั้งสองคนของฝ่ายเสิร์ฟจะต้องยืนอยู่ในเสี้ยววงกลมตนเอง
10.4 ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ในแดนของตน
ข้อที่ 11. การเริ่มเล่นและการส่งลูก ( THE START OF PLAY AND SERVICE )
11.1 การเริ่มเล่นให้ฝ่ายที่ได้เสิร์ฟ เป็นฝ่ายส่งลูกก่อนในเซตแรก ทีมที่ชนะในเซตแรกจะได้รับสิทธิ์เลือกการเสิร์ฟในเซตที่ 2
11.2 เมื่อกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว ถือเป็นการเริ่มเล่น ผู้โยนจะต้องโยนลูกตะกร้อออกไปให้ผู้เสิร์ฟลูก หากผู้โยนโยนลูกตะกร้อออกไปก่อนกรรมการผู้ตัดสินขานคะแนนต้องโยนใหม่ และต้องเตือนผู้โยนนั้น
11.3 ระหว่างการเสิร์ฟ ในทันทีที่ผู้เสิร์ฟได้เตะลูกตะกร้อแล้วผู้เล่นทุกคนสามารถเคลื่อนที่ในแดนของตนได้
11.4 การเสิร์ฟที่ถูกต้อง เมื่อลูกตะกร้อได้ข้ามไปยังฝ่ายตรงข้ามระหว่างแถบตาข่าย ไม่ว่าจะสัมผัสตาข่ายหรือไม่ก็ตาม ต้องให้ลูกตกสู่พื้นอยู่ในขอบเขตของสนาม
ข้อที่ 12. การผิดกติกา ( FAULTS )
12.1 สำหรับผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ ระหว่างการเสิร์ฟ
12.1.1 ผู้เล่นหน้า คนที่ทำหน้าที่โยนลูกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ได้โยนให้ผู้เสิร์ฟเตะลูกส่ง เช่น โยนลูกเล่น เคาะลูกเล่น โยนลูกให้ผู้เล่นหน้าอีกคน ฯลฯ หลังจากผู้ตัดสินขานคะแนนแล้ว
12.1.2 ผู้เล่นหน้ายกเท้าหรือเหยียบเส้น หรือถูกตาข่าย หรือส่วนของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนฝ่ายตรงข้ามขณะที่โยนลูก
12.1.3 ผู้เสิร์ฟ กระโดดเสิร์ฟ
12.1.4 ผู้เสิร์ฟไม่ได้เตะลูกที่โยน
12.1.5 ลูกตะกร้อถูกผู้เล่นฝ่ายเดียวกันก่อนข้ามตาข่าย
12.1.6 ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายแต่ออกนอกเขตสนาม
12.1.7 ลูกตะกร้อไม่ข้ามตาข่าย
12.2 สำหรับผู้เล่นฝ่ายรับ ระหว่างการเสิร์ฟ เจตนากระทำในลักษณะที่ทำให้ฝ่ายเสิร์ฟลูกเสียสมาธิ หรือส่งเสียงรบกวน หรือร้องตะโกน
12.3 สำหรับผู้เล่นทั้งสองฝ่าย ระหว่างการแข่งขัน
12.3.1 ถูกลูกตะกร้อในแดนฝ่ายตรงข้าม
12.3.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายล้ำเข้าไปในแดนของฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือด้านล่างของตาข่าย ยกเว้นการติดตามล้ำตาข่ายหรืการลงสู่พื้นภายหลังการเล่นลูก ( follow through )
12.3.3 เล่นลูกเกิน 3 ครั้ง
12.3.4 ลูกถูกมือหรือแขน
12.3.5 หยุดลูก หรือยึดลูกไว้ใต้แขน ระหว่างขาหรือลำตัว
12.3.6 ส่วนหนึ่งของร่างกายหรืออุปกรณ์ของเครื่องแต่งกายผู้เล่น ถูกตาข่ายหรือถูกเสาหรือถูกเก้าอี้กรรมการผู้ตัดสิน หรือตกลงในพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม
12.3.7 ลูกตะกร้อถูกเพดาน หลังคา ผนัง หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ
ข้อที่ 13. การนับคะแนน ( SCORING SYSTEM )
13.1 ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับก็ตาม เมื่อมีการทำผิดกติกาเกิดขึ้น ( fault ) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันทีและจะเป็นฝ่ายเสิร์ฟต่อไป
13.2 ทีมที่ชนะการแข่งขันในแต่ละเซตจะต้องทำคะแนนได้ 21 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนนและคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25 คะแนน เมื่อคะแนน 20 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 25 แต้ม
13.3 การแข่งขันจะต้องชนะกัน 2 เซต โดยมีการพักระหว่างเซต 2 นาที
13.4 ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซต จะต้องทำการแข่งในเซตที่ 3 ซึ่งเรียกว่า “ไทเบรค” โดยแข่งขันกัน 15 คะแนน แต่ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 14 : 14 ผู้ชนะจะต้องมีคะแนนต่างกัน 2 คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 17 คะแนน เมื่อคะแนน 14 เท่า ผู้ตัดสินต้องขานว่า “ดิวส์คู่” ไม่เกิน 17 แต้ม
13.5 ก่อนเริ่มการแข่งขันในเซตที่ 3 ผู้ตัดสินต้องทำการเสี่ยง ผู้ชนะในการเสี่ยงจะได้สิทธิ์เลือกการเสิร์ฟและให้มีการเปลี่ยนแดนเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำคะแนนได้ 8 คะแนน
ข้อที่ 14. การขอเวลานอก ( TIME OUT )
แต่ละทีม ( regu ) สามารถขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 นาที โดยให้ผู้จัดการทีมหรือผู้ฝึกสอนขอเวลานอกต่อกรรมการผู้ตัดสินเมื่อลูกตระก้อไม่ได้อยู่ในการเล่น และมีบุคคลในระหว่างการขอเวลานอกได้ 5 คน ที่บริเวณท้ายสนามของแต่ละด้าน
ข้อที่ 15. อุบัติเหตุและการหยุดการแข่งขัน ( TEMPORARY SUSPENSION OF PLAY )
15.1 กรรมการผู้ตัดสินสามารถหยุดการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางหรือรบกวนการแข่งขัน หรือผู้เล่นเกิดบาดเจ็บและต้องได้รับการดูแลทันที
15.2 การหยุดพักสำหรับผู้เล่นที่ได้รับบาดเจ็บถือเป็นเวลานอก สำหรับการบาดเจ็บอนุญาตให้พักการแข่งขันได้ไม่เกิน 5 นาที ภายหลังจากหยุดครบ 5 นาทีแล้ว ผู้เล่นคนนั้นไม่สามารถทำการแข่งขันต่อได้ จะต้องทำการเปลี่ยนตัวผู้เล่นนั้นออก ถ้าเกิดกรณีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่นไปแล้ว ให้ปรับทีมนั้นเป็นแพ้ และให้ฝ่ายตรงข้ามชนะการแข่งขันในครั้งนั้น
15.3 ในระหว่างหยุดพักการแข่งขัน ผู้เล่นทุกคนต้องอยู่ในสนามและไม่อนุญาตให้ดื่มน้ำหรือได้รับการช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น
ข้อที่ 16. วินัยและมารยาทในการแข่งขัน ( DISCIPLINE )
16.1 ผู้เล่นทุกคนจะต้องปฏิบัติตามกติกาการแข่งขัน
16.2 ในระหว่างการแข่งขันจะอนุญาตให้หัวหน้าทีมเท่านั้นเป็นผู้ติดต่อหรือซักถามต่อกรรมการผู้ตัดสิน ( ในลักษณะสุขภาพ )
ข้อที่ 17. ความผิดและบทลงโทษ ( PENALTY )
17.1 ความผิดที่ถูกตักเตือน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดจะต้องถูกตักเตือนและได้รับบัตรเหลืองใน 6 กรณีดังต่อไปนี้
17.1.1 ปฏิบัติตนไม่มีน้ำใจนักกีฬา
17.1.2 แสดงกิริยาและวาจาไม่สุภาพ
17.1.3 ไม่ปฏิบัติตามกฎ กติกาการแข่งขัน
17.1.4 ถ่วงเวลาการแข่งขัน
17.1.5 เข้าหรือออกสนาม โดยไม่ได้อนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.1.6 เจตนาเดินออกไปจากสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
17.2 ความผิดที่ถูกให้ออกจากการแข่งขัน
ผู้เล่นที่กระทำความผิดถูกให้ออกจากการแข่งขันและได้รับบัตรแดงมี 5 กรณี ดังต่อไปนี้
17.2.1 กระทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง
17.2.2 ประพฤติร้ายแรงโดยเจตนาทำให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บ
17.2.3 ถ่มน้ำลายใส่ฝ่ายตรงข้ามหรือผู้อื่น
17.2.4 ทำความผิดอย่างร้ายแรงโดยสบประมาทหรือดูถูกและหรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมไปยังฝ่ายตรงข้าม
17.2.5 ได้รับการเตือนด้วยบัตรเหลืองเป็นครั้งที่ 2 ในการแข่งขันครั้งนั้น
17.3 ผู้เล่นที่กระทำผิดถูกเตือนหรือให้ออกจากการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นความผิดทั้งในหรือนอกสนามแข่งขัน ผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน กรรมการผู้ตัดสิน ผู้ช่วยผู้ตัดสิน หรือบุคคลอื่นๆให้พิจารณาลงโทษตามความผิดที่ได้กระทำขึ้น
ข้อที่ 18. ความผิดขอเจ้าหน้าที่ทีม ( MISCONDCT OF OFFICIALS )
ในระหว่างการแข่งขันหากทีมหรือเจ้าหน้าที่ของทีมคนหนึ่งคนใดกระทำความผิดเกี่ยวกับวินัยและมารยาท ทั้งในสนามและนอกสนามแข่งขัน เจ้าหน้าที่ทีมหรือทีมนั้นๆจะต้องถูกพิจารณาลงโทษทางวินัยและมารยาท
ข้อที่ 19. บททั่วไป ( GENERAL )
ในการแข่งขันหากมีปัญหาหรือเรื่องราวใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นในทุกกรณี ซึ่งนอกเหนือจากที่มิได้ระบุไว้ในกกติกาข้อใดๆของการแข่งขัน ให้ถือคำตัดสินของกรรมการผู้ชี้ขาดเป็นที่สิ้นสุด