ฟาล์วบุคคล (Personal Foul)
คำจำกัดความ
1. ฟาล์วบุคคล เป็นการฟาล์วของผู้เล่นซึ่งมีการถูกต้องกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามในขณะเป็นบอลดีหรือบอลตายผู้เล่นจะต้องไม่ดึง สกัดกั้น ผลัก เข้าชนขัดขาขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามโดยการยื่นมือ แขนข้อศอก ไหล่ สะโพก ขา เข่า หรือเท้า รวมทั้งการก้มตัวที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติ (ออกจากแนวรูปทรงกระบอก) หรอใช้วีการหยาบคายอื่น ๆ หรือการเล่นที่รุนแรง
2. การสกัดกั้น (Blocking) เป็นการถูกต้องตัวกันอย่างผิดกติกา ซึ่งขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นขณะมีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล
3. การชน (Charging) เป็นการถูกต้องตัวกันขณะมีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล โดยการผลัดหรือเคลื่อนที่เข้าหาลำตัวของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
4. การป้องกันที่ถูกต้องจากด้านหลัง (Illegal guarding from the rear) เป็นการถูกต้องตัวกันของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามจากด้านหลัง ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เล่นฝ่ายรับพยายามเล่นลูกบอลไม่ใช่แสดงว่าเป็นการถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามจากด้านหลัง
5. การดึง (Holding) เป็นการถูกต้องตัวกันของผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามซึ่งขัดขวางผู้เล่นที่เคลื่อนที่อย่างอิสระการถูกต้องตัวกันนี้(การดึง) สามารถเกิดขึ้นได้กับส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
6. การกำบังที่ผิดกติกา (Illegal screening) เป็นความพยายามที่ผิดกติกาเพื่อให้เกิดความล่าช้าหรือขัดขวางการเคลื่อนที่ของผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ซึ่งไม่ได้ครอบครองลูกบอลจากตำแหน่งที่เขาต้องการในสนาม
7. การใช้มืออย่างผิดกติกา (Illegal use of hands) เกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นฝ่ายรับอยู่ในสถานการณ์ป้องกัน และใช้มือสัมผัสและยังคงถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามที่มีลูกบอล หรือปราศจากลูกบอลเพื่อขัดขวางการเคลื่อนที่ของเขา
บทลงโทษ (Penalty)
1. การฟาล์วบุคคลจะขานต่อผู้ที่ละเมิดในทุกกรณี ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม
2. ถ้าการฟาล์วเป็นการกระทำต่อผู้เล่นซึ่งไม่อยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
- เกมการแข่งขันจะเริ่มต้นใหม่โดยส่งบอลเข้าเล่นจากนอกสนามโดยทีมที่ไม่ได้ละเมิดใกล้จุดเกิดเหตุมากที่สุด
- และถ้าทีมที่ละเมิดเป็นทีมที่กระทำฟาล์วบทลงโทษให้นำกติกาข้อ 55 (บทลงโทษของการฟาล์วทีม) จะนำมาประยุกต์ใช้,br> 44.2.2 ถ้าการฟาล์วกระทำต่อผู้เล่นซึ่งอยู่ในลักษณะกำลังยิงประตู
- และการยิงประตูตามพื้นที่เป็นผล จะนับคะแนนและได้โยนโทษอีก 1 ครั้ง
- และการยิงประตูในพื้นที่ 2 คะแนน ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู ให้โยนโทษ 2 ครั้ง
- และการยิงประตูในพื้นที่ 3 คะแนน ลูกบอลไม่ลงห่วงประตู ให้โยนโทษ 3 ครั้ง
- และผู้เล่นกระทำฟาล์วในขณะที่หรือก่อนสัญญาณเสียงของนาฬิกาแข่งขันดังขึ้น เป็นการแสดงถึงการสิ้นสุดเวลาช่วงการเล่นหรือช่วงต่อเวลาพิเศษ หรือเมื่อสัญญาณเสียงของเครื่องจับเวลา 24 วินาที ดังขึ้น ในขณะที่ลูกบอลยังคงอยู่ในมือของผู้เล่นและการยิงประตูเป็นผล จะไม่นับคะแนน จะให้โยนโทษ 2 ครั้งหรือ 3 ครั้ง
หลักการของรูปทรงกระบอก (Cylinder principle)
หลักการของรูปทรงกระบอก เป็นการอธิบายถึงที่ว่างภายในรูปทรงกระบอกที่สร้างขึ้นโดยจินตนาการ เกิดขึ้นโดยผู้เล่นยืนอยู่บนพื้นสนาม ประกอบด้วยพื้นที่สูงขึ้นไปในอากาศเหนือผู้เล่นและถูกจำกัด ดังต่อไปนี้
- ด้านหน้า โดยฝ่ายมือทั้ง 2 ข้าง
- ด้านหลัง โดยสะโพกหรือก้นและ
- ด้านข้าง โดยส่วนนอกสุดของแขนและเขามือและแขนอาจยื่นไปด้านหน้าของลำตัวได้ แต่ต้องไม่ออกไปไกลเกินกว่าตำแหน่งของเท้าประมาณช่วงไหล่ แขนช่วงแรกด้านในและมือยกขึ้น เป็นระยะทางระหว่างเท้าของเขเป็นสัดส่วนกับความสูงของเขาด้วย
หลักการของแนวดึง (Principle of verticality)
1. ในสนามบาสเกตบอล ผู้เล่นแต่ละคนมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง (รูปทรงกระบอก) ในสนามซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ก่อน
2. หลักการนี้ใช้ป้องกันพื้นที่ในสนาม ซึ่งผู้เล่นคนนั้นยืนอยู่ และพื้นที่ที่สูงขึ้นไปในอากาศเหนือผู้เล่น เมื่อผู้เล่นกระโดดขึ้นไปเป็นแนวดึ่งภายในรูปทรงกระบอกของตน
3. ทันทีที่ผู้เล่นออกจากพื้นที่ในแนวดิ่งของเขา (รูปทรงกระบอก) และมีการถูกต้องตัวกันกับฝ่ายตรงข้ามซึ่งยืนในตำแหน่งแนวดิ่งของเขา (รูปทรงกระบอก) ผู้เล่นซึ่งออกจากตำแหนงแนวดึ่ง (รูปทรงกระบอก) ต้องรับผิดชอบต่อการถูกต้องตัวกัน
4. ผู้เล่นฝ่ายรับจะไม่ถูกลงโทษสำหรับการกระโดดขึ้นจากพื้นที่แนวดิ่ว (ภายในรูปทรงกระบอก) หรือยกมือและแขนขึ้นไปในพื้นที่แนวดึ่งของเขาและภายในรูปทรงกระบอกของตนเอง
5. ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ว่าจะอยู่บนพื้นหรือลอยตัวอยู่ในอากาศ จะต้องไม่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันกับผู้เล่นฝ่ายรับในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง โดย
- การใช้แขนช่วยเพิ่มพื้นที่ของตนเอง (การกวาดแขนออก)
- การแยกขาหรือแขนจนทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันระหว่างหรือต่อเนื่องภายหลังการยิงประตู
ตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง (Legal Guarding Position)
1. ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปยืนในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง เมื่อ
- ผู้เล่นหันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามและ
- เท้าทั้ง 2 ข้างของผู้เล่นอยู่บนพื้นสนาม
2. ตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องเป็นแนวดิ่งสูงขึ้นไปเหนือผู้เล่น (รูปทรงกระบอก) จากพื้นสนามถึงเพดาน เขาอาจจะยกแขนและมือเหนือศีรษะของเขาขึ้นไป หรือกระโดดขึ้นไปตามแนวดิ่ง แต่ต้องให้อยู่ในตำแหน่งแนวดิ่งภายในแนวรูปทรงกระบอก
การป้องกันผู้เล่นซึ่งครอบครองบอล (Guarding a player who controls the ball)
1. เมื่อป้องกันผู้เล่นซึ่งครอบครองบอล (ผู้เล่นกำลังถือลูกบอลหรือกำลังเลี้ยงลูกบอล) องค์ประกอบของเวลาและระยะทางจะไม่นำมาประยุกต์ใช้
2. ผู้เล่นที่ครอบครองบอลต้องเชื่อว่าจะต้องถูกป้องกันและต้องพร้อมที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทาง แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายตรงข้ามต้องอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง ด้านหน้าของเขาแม้ว่าการป้องกันจะกระทำภายในช่วงเสี้ยวของวินาที
3. การป้องกัน (ฝ่ายรับ) ผู้เล่นต้องยืนในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง ปราศจากการถูกต้องตัวกัน ก่อนที่จะเข้าไปยืนในตำแหน่งของเขา
4. เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นฝ่ายรับเข้าไปยืนในตำแหน่งป้องกันที่ถูกต้อง เขาอาจเคลื่อนที่เพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามของเขา แต่เขาไม่อาจยื่นแขน ไหล่ สะโพก หรือขาของเขา และทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันเพื่อขัดขวางผู้เลี้ยงลูกบอลผ่านตนเอง
5. เมื่อตัดสินเป็นการสกัดกั้น/ การชมผู้เล่นในขณะที่ผู้เล่นมีลูกบอล ผู้ตัดสินจะต้องใช้หลักการ ดังต่อไปนี้
- ผู้เล่นฝ่ายรับต้องเข้าไปในตำแหน่งป้องกันที่ถูกต้องโดยหันหน้าเข้าหาผู้เล่นที่มีลูกบอลและเท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่บนพื้นสนาม
- ผู้เล่นฝ่ายรับอาจจะอยู่ในท่ายืนนิ่ง กระโดดขึ้นตามแนวดิ่ง หรือเคลื่อนที่ไปด้านข้าง หรือถอยหลังเพื่ออยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง
- เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในตำแหน่งการป้องกัน เท้าข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง อาจพ้นจากพื้นได้ชั่วขณะหนึ่ง ตราบใดที่การเคลื่อนที่ด้านข้างหรือถอยหลัง ไม่หันไปสู่ผู้เล่นที่ถือลูกบอล เป็นการเคลื่อนที่ป้องกันตามปกติ
- การถูกต้องตัวกันที่เกิดขึ้นต่อลำตัวในขณะผู้เล่นฝ่ายรับได้เข้าไปอยู่ในตำแหน่งนั้นก่อน
- การกำหนดตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องผู้ป้องกันอาจเปลี่ยนทิศทางภายในรูปทรงกระบอก เพื่อรับแรงกระแทรกหรือหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บในกรณีข้างบนการฟาล์วจะพิจารณาเป็นกระทำฟาล์วโดยผู้เล่นที่ครอบครองบอล
ผู้เล่นซึ่งลอยตัวอยู่ในอากาศ (The player who is in the air)
1. ผู้เล่นซึ่งกระโดดขึ้นไปในอากาศจากจุดใดในสนามมีสิทธิ์ที่จะลงสู่พื้นสนามที่จุดเดิม
2. เขามีสิทธิ์ที่จะลงสู่พื้นที่จุดอื่นในสนามได้โดย มีข้อแม้ว่าเส้นทางระหว่างจุดกระโดดและจุดที่ลงสู่พื้นต้องไม่มีฝ่ายตรงข้าม ยืนอยู่ก่อน และพื้นที่จุดนั้นต้องไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามยืนอยู่ก่อนในช่วงเวลาที่ตนเองกระโดดขึ้น
3. ถ้าผู้เล่นกระโดดและลงสู่พื้น แต่แรงการเคลื่อนที่ทำให้เกิดการถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามซึ่งอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้องที่อยู่ไกลออกไปจากจุดที่ลงสู่พื้น ผู้กระโดดต้องรับผิดชอบสำหรับการถูกต้องตัวกัน
4. ผู้เล่นไม่อาจเคลื่อนที่เข้าไปในทิศทางของฝ่ายตรงข้าม หลังจากผู้เล่นนั้นกระโดดขึ้นไปในอากาศแล้ว
5. การเคลื่อนที่เข้าไปอยู่ใต้ผู้เล่นซึ่งลอยตัวอยู่ในอากาศและมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น เป็นการฟาล์วผิดวิสัยนักกีฬาอย่างชัดเจนอาจเป็นฟาล์วเสียสิทธิ์ได้
การป้องกันผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอล (Guarding a player who not control the ball)
1. ผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอลมีสิทธิ์เคลื่อนที่อย่างอิสระในสนามและยืนในตำแหน่งใดก็ได้ที่ไม่มีผู้เล่นคนอื่นยืนอยู่ก่อน
2. เมื่อการป้องกันของผู้เล่นซึ่งไม่ได้ครอบครองบอล องค์ประกอบของเวลาและระยะทางจะนำประยุกต์ใช้และ/หรือเกินไปในเส้นทางของการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้ามจนทำให้ผู้เล่น นั้นไม่มีเวลาหรือระยะทางเพียงพอที่จะหยุดหรือเปลี่ยนทิศทางของการเคลื่อนที่ ระยะทางเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความเร็วของฝ่ายตรงข้ามไมน้อยกว่า 1 ก้าวปกติ และไม่เกิน 2 ก้าวปกติ ถ้าผู้เล่นไม่พิจารณาองค์ประกอบของเวลาและระยะทางในการเข้าไปยังตำแหน่งการป้องกันอย่างถูกต้อง และการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น ผู้เล่นคนนั้นต้องรับผิดชอบสำหรับการถูกต้องตัวนั้น
3. เมื่อใดก็ตามที่ผู้เล่นฝ่ายรับ ยืนอยู่ในตำแหน่งการป้องกันที่ถูกต้อง จะต้องไม่ถูกต้องตัวกันฝ่ายตรงข้ามเพื่อป้องกันไม่ให้ผ่านโดยการยื่นแขน ไหล่ สะโพก หรือขา เข้าขัดขวางเส้นทางอย่างไรก็ตาม เขาอาจหันข้างหรือให้แขนแนบข้างหน้าและชิดลำตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บ
การกำบังที่ถูกกติกาและผิดกติกา (Screening : Legal and illegal)
1. การกำบังเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นพยายามขัดขวางหรือป้องกันฝ่ายตรงข้างซึ่งไม่ได้ครอบครองบอลให้ไปยังตำแหน่งที่เขาต้องการในสนาม
2. การกำบังถูกต้องเกิดขึ้นเมื่อผู้เล่นซึ่งกำบังฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติดังนี้
- ยืนนิ่ง (ด้านในรูปทรงกระบอกของเขา) เมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- เท้าทั้ง 2 ข้าง อยู่บนพื้นสนามเมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
3. การกำบังที่ผิดกติกาเกิดขึ้น เมื่อผู้เล่นซึ่งกำบังฝ่ายตรงข้ามต้องปฏิบัติดังนี้
- กำลังเคลื่อนที่เมื่อมีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- ไม่ให้ระยะทางเพียงพอในการกำบังนอกสายตาฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่งเมื่อเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
- ไม่เคารพองค์ประกอบของเวลาและระยะทางในการกำบังฝ่ายตรงข้ามที่เคลื่อนที่เมื่อเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น
4. ถ้าการกำบังอยู่ในสายตาของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่ง (ด้านหน้าหรือด้านข้าง) ผู้เล่นที่กำบังอาจจะทำการกำบังอย่างใกล้ชิดต่อฝ่ายตรงข้าม โดยมีข้อแม้ว่าไม่มีการถูกต้องตัวกัน
5. ถ้าการกำบังอยู่นอกสายตาของฝ่ายตรงข้ามที่ยืนนิ่ง การกำบังต้องให้โอกาสฝ่ายตรงข้าม 1 ก้าวปกติ ในการเข้ากำบังโดยไม่มีการถูกต้องตัวกัน
การสกัดกั้น (Blocking)
1. ผู้เล่นซึ่งพยายามกำบังเป็นการกระทำฟาล์วเพราะสกัดกั้น ถ้ามีการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น เมื่อเขากำลังเคลื่อนที่และฝ่ายตรงข้ามยืนนิ่ง หรือถอยออกจากผู้เล่นที่กำบัง
2. ถ้าผู้เล่นไม่สนใจเล่นลูกบอล หันหน้าเข้าหาฝ่ายตรงข้ามและเปลี่ยนตำแหน่งตามฝ่ายตรงข้ามที่เปลี่ยนตำแหน่งเสียจากว่ามีปัจจัยอื่นที่มีผลมาร่วมด้วย คำว่า “ปัจจัยอื่นที่มีผลมาร่วมด้วย” หมายถึงการจงใจผลัก ชน หรือดึงของผู้เล่นซึ่งถูกกำบัง
3. ผู้เล่นยื่นแขนหรือศอกนอกรูปทรงกระบอกในการยืนบนพื้นสนามได้ แต่เขาจะต้องลดแขนหรือศอกลงภายในรูปทรงกระบอก เมื่อฝ่ายตรงข้ามพยายามเคลื่อนที่ผ่านไป โดยถ้าผู้เล่นไม่ลดแขนหรือศอกลงและเกิดการถูกต้องตัวกันเกิดขึ้น จะเป็นการสกัดกั้นหรือการดึง
การถูกต้องตัวฝ่ายตรงข้ามด้วยมือ และ/หรือแขน (Contacting an opponent with the hand(s) and/or arm(s))
1. การสัมผัสฝ่ายตรงข้ามด้วยมือตามปกติไม่จำเป็นต้องเป็นการละเมิดกติกา
2. ผู้ตัดสินจะต้องตัดสินใจว่าผู้เล่นซึ่งทำให้เกิดการถูกต้องตัวกันนั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบหรือไม่
ถ้าการถูกต้องตัวกันโดยผู้เล่นแสดงชัดเจนว่าจำกัดอิสระในการเคลื่อนที่ของฝ่ายตรงข้าม การถูกต้องตัวนั้นเป็นการฟาล์ว
3. การใช้มือหรือแขนอย่างถูกต้อง เมื่อผู้เล่นฝ่ายรับอยู่ในตำแหน่งการป้องกัน และมือหรือแขนสัมผัสและยังคงถูกต้องตัวกันกับฝ่ายตรงข้ามที่ถือลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล
4. การถูกต้องตัวกันบ่อย ๆ หรือ “การแหย่” ฝ่ายตรงข้ามที่มีลูกบอลหรือไม่มีลูกบอล พิจารณาเป็นการฟาล์ว ซึ่งอาจนำไปสู่ความหยาบคายที่รุนแรงมากขึ้น
5. เป็นการฟาล์วของผู้เล่นฝ่ายรุกทีมีลูกบอลดังต่อไปนี้
- “งอแขนเกี่ยว“ หรือพันด้วยแขนหรืองอข้อศอกกรอบผู้เล่นฝ่ายรับ เพื่อให้ได้เปรียบ
- “ผลักออก” เพื่อป้องกันผู้เล่นฝ่ายรับจากการเล่น หรือพยายามเล่นลูกบอล หรือเพื่อขยายพื้นที่ระหว่างตัวเองและผู้เล่นฝ่ายรับ
- ขณะเลี้ยงลูกบอลใช้แขนด้านในหรือมือยืนออกไปเพื่อป้องกันฝ่ายตรงข้ามเข้าแย่งบอลไปครอบครอง
การเล่นตำแหน่งโพสท์ (Post Play)
1. หลักการของแนวดึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการเล่นตำแหน่งโพสท์ ผู้เล่นฝ่ายรุกที่เล่นในตำแหน่งโพสท์และการป้องกันของฝ่ายตรงข้ามต้องเคารพสิทธิ์ของแนวดิ่งของคนอื่น ๆ (รูปทรงกระบอก)
2. เป็นฟาล์วโดยผู้เล่นฝ่ายรุก หรือผู้เล่นฝ่ายรับในตำแหน่งโพสท์ ใช้ไหล่หรือสะโพกเข้าไปในตำแหน่งของฝ่ายตรงข้ามหรือขัดขวางการเคลื่อนที่อย่างอิสระของฝ่ายตรงข้ามโดยยื่นข้อศอกแขน ขา หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
สาระน่ารู้อื่นๆเกี่ยวกับบาสเกตบอล
- บาสเก็ตบอล
- กติกาบาสเกตบอล
- สหพันธ์กีฬาบาสเกตบอล
- ประวัติกีฬาบาสเกตบอล
- พูดคุยเกี่ยวกับกีฬาทุกประเภท ข่าวสารเพิ่มเติม
- สัญญาณมือของกรรมการ