โรคลมแดด คืออะไร
โรคลมแดด คืออะไร

 

โรคลมแดดหมายภึงโรคที่เกิดจากภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง และร่างกายปรับตัวไม่ได้ โลกเรากำลังเผชิญกับ ภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิของโลก เพิ่มขึ้น น้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลก มีการละลายเพิ่มขึ้น รวมทั้งระดับน้ำในทะเล ก็สูงขึ้นทำให้โลกร้อนขึ้น มีโอกาสที่จะเกิดโรคลมแดด เพิ่มขึ้น

 

ภาวะอุณหภูมิในร่างกายสูง

ร่างกายเราขับความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างไร

ร่างกายของคนเราได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม และจากการสร้างความร้อของร่างกายเช่น ในขณะพักร่างกายเราสามารถสร้างความร้อนและมีอุณหภูมิเพิ่ม 1.1 องศาเซ้นติเกรดต่อชั่วโมง ในขณะที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะสร้างความร้อนได้ 15 เท่าในขณะที่พัก แต่ร่างกายของเราสามารถปรับอุณหภูมิให้คงที่(Core Temperature) ที่ 37 องศาเซ็นติเกรด(98.6 f) โดยอาศัยกระบวนการดังนี้

  1.  Conduction คือการนำความร้อนออกจากร่างกาย โดยจะต้องมีสื่อการมาสัมผัส เช่น น้ำ ร่างกายจะใช้กลไกนี้ในการขับความร้อนได้เพียงร้อยละ2-3 ของความร้อนที่ร่างกายผลิตได้
  2. Convection คือการกระจายความร้อนของร่างกายสู่สิ่งแวดล้อมรอบตัว ร่างกายเราใช้กระบวนการนี้ขับความร้อนได้ร้อยละ 10 ของความร้อนที่ผลิตได้ แต่หากอุณหภูมิอากาศสูงกว่าร่างกายของเรา ก็ไม่สามารถใช้กระบวนการนี้ในการขับความร้อนออกจากร่างกาย
  3. Radiation คือการที่ร่างกายขับความร้อนเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ร่างกายเราใช้กระบวนการนี้ขับความร้อนได้ถึงร้อยละ65 ของความร้อนที่ผลิตได้ แต่หากอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้นก็จะขับความร้อนได้น้อยลง
  4. Evaporation ร่างกายเราขับความร้อนโดยผ่านทางเหงื่อ น้ำลาย สามารถขับความร้อนได้ร้อยละ30 ของความร้อนที่ผลิตได้

จะเห็นได้ว่าร่างกายเราจะขับความร้อนส่วนใหญ่คือวิธีที่3และ4 แต่เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น ร่างกายเราจะเหลือวิธีการขับความร้อนโดยทางเหงื่อและทางหายใจได้อย่างเดียว

การปรับตัวกับความร้อน

ความสามารถในการปรับตัวกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นกับ สุขภาพ อายุ และสภาพแวดล้อมซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการปรับตัวเป็นวันหรือสัปดาห์โดยจะมีการปรับตัวดังนี้ เหงื่อจะออกเร็วขึ้นและมีปริมาณมากขึ้น ปริมาณเกลือในเหงื่อจะน้อยลง หัวใจทำงานเพิ่มขึ้น มีการสร้างฮอร์โมนเพื่อเก็บน้ำและเกลือเพิ่มขึ้น

 เมื่ออุณหภูมิร่างกายเพิ่มขึ้นจะกระตุ้นสมองส่วน hypothalamus และสมองส่วนปลายทำให้เลือดไหลไปผิวหนังเพิ่มขึ้น เหงื่อออกมากขึ้น หายใจเร็วขึ้นเพื่อขับความร้อนออกจากร่างกาย สำหรับผู้สูงอายุหรือคนป่วยความสามารถเหล่านี้จะเสียไปทำให้อุณหภูมิร่างกายสูง

 ร่างกายเราจะทนกับอุณหภูมิได้แค่ไหน

ร่างกายเราสามารถทนกับอุณหภูมิที่ 42 องศาได้ 45 นาทีถึง 8 ชั่วโมงเซลล์ของร่างกายจะสร้าง heat-shock proteins ซึ่งจะทำให้เซลล์มีความทนต่อความร้อน ทนต่อการขาดเลือดหรือแม้กระทั่งการขาดออกซิเจน ทำให้เซลล์ตายช้าลง

 

ความรุนแรงของโรคลมแดด

 

สาเหตุของหรือปัจจัยเสี่ยงของโรคลมแดด

โรคประจำตัว

  • โรคหัวใจ
  • โรคผิวหนัง (eg, scleroderma, ectodermal hyperplasia)
  • ไฟไหม้ผิวหนัง
  • ร่างกายขาดน้ำ (เช่น อาเจียน ท้องร่วง)
  • โรคต่อมไร้ท่อ (เช่น ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ, เบาหวาน, pheochromocytoma)
  • โรคระบบประสาท(เช่น, autonomic neuropathies, parkinsonism, dystonias)
  • สมองเสื่อม
  • ไข้

พฤติกรรม

  • ออกกำลังกายหรือทำงานในสภาพอากาศร้อนจัด
  • ระบบระบายอากาศไม่ดี
  • ใส่เสื้อผ้าหนาหรือกันการระเหยของเหงื่อ
  • ดื่มน้ำน้อย

ยาหรือสารพิษ

  • ยาลดความดันโลหิต Beta-blockers
  • Anticholinergics
  • ยาขับปัสสาวะ Diuretics
  • สุรา Ethanol
  • ยาแก้แพ้ Antihistamines
  • ยาต้านการซึมเศร้า Cyclic antidepressants
  • Sympathomimetics (eg, cocaine, amphetamines)
  • Phenothiazines
  • Lithium
  • Salicylates

ปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่น

  • ขาดน้ำและเกลือแร่ Salt or water depletion
  • อ้วน Obesity
  • อยู่คนเดียว Living alone
  • ผู้ป่วยนอนบนเตียงช่วยตัวเองไม่ได้ Confined to bed
  • สูงอายุExtremities of age 

 

บทความคุณภาพจาก http://siamhealth.net/

ขอบคุณภาพสวยๆจาก SheKnows




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 719,062 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 819,279 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 837,066 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 974,733 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 915,973 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,017,194 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 594,333 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 658,529 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม