แสดงข้อเข่าปกติและข้อเข่าเสื่อม
แสดงข้อเข่าปกติและข้อเข่าเสื่อม

 

โรคข้อเข่าเสื่อม

 

    ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่มักพบในผู้สูงอายุหรือวัยกลางคนขึ้นไป และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งการที่มีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น

 

สาเหตุ
     โรคข้อเข่าเสื่อม มักเกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิดข้อ ซึ่งเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการใช้งานมาก เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า ผิวข้อที่สึกจะมีการเสียดสีกัน ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าตามมาได้
     ปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม
     - เพศหญิง อายุเกิน 50 ปี
     - อ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมาก
     - ลักษณะงานที่ต้องย่อเข่า หรือคุกเข่าบ่อย ๆ
     - การมีลักษณะเข่าโก่งออกนอก หรือโค้งเข้าใน
     - การบาดเจ็บบริเวณเอ็น หรือเยื่อหุ้มข้อเข่า
     - ปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ เช่น กระดูกบาง หญิงวัยหมดประจำเดือน การได้รับยาฉีดเข้าข้อ โรคข้ออักเสบจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคเกาต์ โรครูมาตอยด์ เป็นต้น

 

อาการ
1. ปวดข้อ เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดมักปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน และอาการปวดลดลงหลังจากการพัก
2. ข้อยึดติด ถ้าเป็นมากมุมของการเหยียด - งอเข่า จะลดลง เคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันลำบาก
3. ข้อบวม อาจพบแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดจากเยื่อบุข้อมีการอักเสบหรือมีการสร้างน้ำไขข้อเพิ่มขึ้น
4. มีเสียงในข้อเข่า หรือมีความรู้สึกว่า กระดูกเสยดสีกันเวลาเคลื่อนไหวข้อเข่า
5. มีกระดูกงอ เวลาคลำใต้ผิวหนังจะรู้สึกว่ามีกระดูกยื่นออกมาบริเวณข้อต่อ และมีขนาดใหญ่ขึ้น
6. ถ้าเป็นรุนแรง ข้อเข่าจะผิดรูปทำให้เกิดภาวะเข่าโก่งได้
7. กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อมีขนาดเล็กลงและไม่มีแรง

 

การรักษา
     ควรพิจารณาเป้าหมายของการรักษา โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับภาวะโรค ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นมาก
การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อม แบ่งเป็น
     - การรักษาโดยไม่ใช้ยา (การออกกำลังกาย)
     การให้ความรู้ การลดน้ำหนัก หรือใช้การออกกำลังกายควบคู่กับการรักษาโดยใช้ยา ร่วมกับป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น กล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่าอ่อนแรง งอหรือเหยียดเข่าไม่สุด เป็นต้น
     - การรักษาโดยการผ่าตัดข้อเข่าเทียม (Total Knee Arthroplasty)
     แพทย์จะใช้วิธีการรักษานี้เมื่อผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนในการผ่าตัด คือ เป็นผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่ามากจากโรคข้อและสูญเสียความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีการอนุรักษ์ (การรักษาโดยไม่ใช้ยา หรือการใช้ยาร่วมกับการออกกำลังกาย) ประกอบกับการมีข้อเข่าผิดรูปมาก ทำให้มีการเดินผิดปกติและมีการสึกกร่อนของผิวข้อมาก

 

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาด้วยตนเอง
1. ถ้ามีอาการปวดเข่าจากข้อเสื่อมที่ไม่มีการบวม แดงร้อน อาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบรอบ ๆ เข่านาน 20 - 30 นาที วันละ 1 - 2 ครั้ง เพื่อลดอาการปวด
2. การลดน้ำหนักตัว เพราะจะทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักน้อยลง และช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่าด้วย
3. หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ เพราะท่าดังกล่าว จะทำให้ข้อเข่าเสียดสีกันและเสื่อมเร็วขึ้น
4. ควรนั่งถ่ายบนชักโครก หรือใช้เก้าอี้ที่มีรูตรงกลางวางไว้เหนือคอห่าน แทนการนั่งยอง ๆ และควรทำที่จับบริเวณด้านข้างโถนั่ง หรือใช้เชือกห้อยจากเพดาน เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
5. ควรนอนบนเตียงที่มีความสูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี ไม่ควรนอนบนพื้น เพราะต้องงอเข่ามากเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิดข้อเสียดสีกันมากขึ้น
6. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ถ้าจำเป็นควรเปลี่ยนอิริยาบถหรือขยับเหยียด - งอข้อเข่าอยู่เรื่อย ๆ
7. หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นผิวที่ขรุขระ เพราะจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นในบางจังหวะก้าวเดิน และอาจจะเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย
8. ควรใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวเวลาเดิน ซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักตัว ทำให้เดินได้มั่นคงและเจ็บน้อยลง
9. ควรออกกำลังกล้ามเนื้อเข่าเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่าแข็งแรง เพิ่มความทนทานในการใช้งานช่วยป้องกัน และลดความพิการที่อาจเกิดขึ้นกับข้อเข่า

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน
     การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อม จะเน้นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา หรือกล้ามเนื้อเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารต่อไปนี้ให้เริ่มทำจากท่าง่ายไปยาก ทุกท่าให้เริ่มจากน้อยไปมาก โดยทำเซตละ 10 - 30 ครั้ง วันละ 2 - 3 เซต เป็นอย่างน้อย ค่อย ๆ เพิ่มจำนวนตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของแต่ละคน จนได้ประมาณ 100 ครั้งต่อวัน

ท่าที่ 1 นอนหงาย เหยียดเข่า
ท่าที่ 1 นอนหงาย เหยียดเข่า

     นอนหงาย เอาหมอนเล็ก ๆ วางใต้เข่า เกร็งขาให้เข่าเหยียดตรง นิ่งค้างไว้ 10 วินาที
หมายเหตุ : ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือยังมีอาการปวดเข่ามากขณะงอเหยียด

 

ท่าที่ 2 นั่งเหยียดเข่าพร้อมกระดกข้อเท้า
ท่าที่ 2 นั่งเหยียดเข่าพร้อมกระดกข้อเท้า

     นั่งเหยียดเข่าตรงขณะส้นเท้าวางติดพื้น เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขาพร้อมกระดกข้อเท้าขึ้น นิ่วค้างไว้ 10 วินาที หรือเท่าที่ทำได้
หมายเหตุ : ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่กล้ามเนื้อยังไม่แข็งแรงพอที่จะยกขาตนเองได้

 

ท่าที่ 3 ยกขาพ้นพื้น
ท่าที่ 3 ยกขาพ้นพื้น

     นอนหงายชันเข่าข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งเหยียดตรง ยกขาข้างที่เหยียดตรงให้ลอยสูงพ้นพื้น นิ่งค้างไว้ 10 วินาที แล้วค่อย ๆ วางลง ทำซ้ำ 10 ครั้ง สลับทำอีกข้างหนึ่ง
หมายเหตุ : ท่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อไม่แข็งแรงมากนัก หรือยังมีอาการปวดเข่ามากขณะ งอ - เหยียด

 

ท่าที่ 4 นั่งเหยียดเข่า
ท่าที่ 4 นั่งเหยียดเข่า

     นั่งพิงพนักเก้าอี้ เหยียดเข่าตรงพร้อมกระดกข้อเท้าขึ้นเกร็งค้างไว้ 10 วินาที แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง

 

ท่าที่ 5 นั่งเหยียดเข่า ให้แรงต้าน ท่าที่ 5 นั่งเหยียดเข่า ให้แรงต้าน
ท่าที่ 5 นั่งเหยียดเข่า ให้แรงต้าน

     นั่งไขว้ขา ขาที่อยู่ด้านล่างเกร็งเหยียดเข่าตรงเท่าที่ทำได้ เกร็งค้างไว้ 10 วินาที โดยใช้น้ำหนักขาเป็นแรงต้าน แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง อาจเพิ่มความยากโดยใช้ถุงทรายคล้องเหนือข้อเท้า เพื่อช่วยฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาได้ดี

 

ท่าที่ 6 นอนคว่ำงอเข่า
ท่าที่ 6 นอนคว่ำงอเข่า

     นอนคว่ำ งอเข่าข้างหนึ่งให้ส้นเท้าชิดสะโพกมากที่สุด นิ่งค้างไว้ 10 วินาที โดยอีกข้างเหยียดตรงอยู่และค่อย ๆ วางลงกลับสู่ท่าเริ่มต้น แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง

 

ท่าที่ 7 เหยียดขาก้มแตะ
ท่าที่ 7 เหยียดขาก้มแตะ

     นั่งเหยียดขาตรงข้างหนึ่ง ส่วนอีกข้างตั้งชันเข่าไว้ ค่อย ๆ ก้มตัวโน้มลงไปข้างหน้า ขณะที่เอื้อมมือไปแตะปลายเท้าข้างที่เหยียดตรง นิ่งค้างไว้ 10 วินาที กลับสู่ท่าเริ่มต้น แล้วสลับทำอีกข้างหนึ่ง

 

     ในการยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ควรทำซ้ำ 6 - 10 ครั้ง ในแต่ละท่าและทำเป็นประจำสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อป้องกันการยึดติดของข้อเข่าหรือ งอ - เหยียดเข่า ไม่เต็มช่วงการเคลื่อนไหว

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 718,112 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 818,192 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 835,355 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 973,247 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 915,003 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,015,144 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 593,222 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 657,535 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม