การนับคะแนนของกีฬา

 

ระบบการแข่งขัน ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก

มีทีมร่วมแข่งขัน 20 ทีม แข่งขันในระบบพบกันหมด เหย้าและเยือน ทีมชนะได้ 3 คะแนน ทีมเสมอได้ 1 คะแนน และทีมแพ้ไม่ได้คะแนน ตลอดฤดูกาลทุกทีมจะต้องแข่งขันทั้งสิ้น 38 นัด เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 3 สโมสรที่ได้คะแนนน้อยที่สุด จะต้องตกชั้นไปเล่นในฟุตบอลลีกแชมเปียนชิป

4 ทีมที่อันดับดีสุดจะได้ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยสามทีมอันดับแรกจะผ่านเข้าไปรอในรอบแบ่งกลุ่ม (ทีมชนะเลิศได้อยู่โถ 1) ในขณะที่ทีมอันดับ 4 จะต้องแข่งรอบเพลย์ออฟอีกทีหนึ่ง ส่วนอันดับ 5 จะได้เล่นยูฟ่ายูโรปาลีก (ยูฟ่า คัพ) เดิม และทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศก็จะได้สิทธิ์ไปเล่นในยูโรปาลีก โดยอัตโนมัติเช่นกัน ในกรณีที่ทีมอันดับ 1-4 ชนะการแข่งขันฟุตบอลถ้วยภายในประเทศ สิทธิ์การแข่งยูฟ่ายูโรปาลีก จะได้แก่อันดับ 6 และ 7 ของพรีเมียร์ลีกแทน

 

ทีมพรีเมียร์ลีกที่ได้สิทธิไปแข่งฟุตบอลยุโรป มีเงื่อนไขดังนี้

แชมป์พรีเมียร์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1

รองแชมป์พรีเมียร์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม

อันดับที่ 3 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม

แชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่มและได้อยู่โถ 1

แชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีก : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบแบ่งกลุ่ม

อันดับที่ 4 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในรอบเพลย์ออฟ

แชมป์เอฟเอคัพ : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบแบ่งกลุ่ม

อันดับที่ 5 : ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีกในรอบแบ่งกลุ่ม

 พรีเมียร์ลีก อังกฤษ 2021

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ 2019

พรีเมียร์ลีก อังกฤษ 2018

ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/

 

การปรับเปลี่ยนระบบลีก

สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีนโยบายในการพัฒนาศักยภาพสโมสรฟุตบอลลีกอาชีพอย่างยั่งยืน และยกระดับลีกภายในประเทศ ให้ก้าวไปสู่ลีกชั้นนำของอาเซียนและเอเชีย เริ่มจากการตั้งบริษัท ไทยลีก จำกัด ขึ้นมาแทน บริษัท พรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ จำกัด ในการรับสัมปทานการจัดแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ และปรับเปลี่ยนชื่อลีกแต่ละระดับให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เน้นความเรียบง่าย กระชับ น่าจดจำและร่วมสมัยที่สุด

 

การแข่งขันฟุตบอลลีกภายในประเทศไทยภายใต้การจัดของ บริษัท ไทยลีก จำกัด ตั้งแต่ฤดูกาล 2560 จะแบ่งออกเป็น 5 ระดับ โดยมีชื่อเรียกหลักอย่างเป็นทางการประกอบด้วย

ไทยลีก (Thai League) ชื่อย่อ T1 เป็นการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ระดับสูงสุดของประเทศไทย โดยฤดูกาล 2560 ทีมที่เข้าแข่งขันมาจากทีมที่ได้อันดับ 1-15 ของไทยลีก ฤดูกาล 2559 และ ทีมอันดับ 1-3 จากไทยลีกดิวิชัน 1 2559 รวมเป็น 18 ทีม และฤดูกาล 2562 จะมีการปรับลดจำนวนทีมเหลือ 16 ทีม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการจัดตารางแข่งขันให้ฟุตบอลทีมชาติไทยได้มีเวลาเตรียมทีมแข่งขันรายการต่างๆ สามารถมีช่วงเวลาหยุดพักแข่งขันตามหลักสากล

 

ไทยลีก 2 (Thai league 2) ชื่อย่อ T2 เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระดับที่สองรองจาก ไทยลีก โดยฤดูกาล 2560 ทีมที่เข้าแข่งขันมาจาก ทีมอันดับ 16-18 จาก ไทยลีก ฤดูกาล 2559, ทีมอันดับ 4-15 จากไทยลีกดิวิชัน 1 2559 และ 3 ทีมที่ได้สิทธิ์จากเอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 18 ทีม

 

ไทยลีก 3 (Thai league 3) ชื่อย่อ T3 เป็นฟุตบอลลีกอาชีพระดับ 3 ของไทยซึ่งจะเริ่มแข่งขันในฤดูกาล 2560 เป็นฤดูกาลแรก โดยคัดเอาทีมอันดับ 1-4 จาก 8 โซนของเอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559 รวมเป็น 32 ทีมแล้วแบ่งเป็น 2 โซนๆ ละ 16 ทีม

 

ไทยลีก 4 (Thai league 4) ชื่อย่อ T4 เป็นฟุตบอลลีกอาชีพระดับ 4 ของไทย โดยทีมที่เข้าแข่งขันมาจากสโมสรในเอไอเอสลีก ดิวิชั่น 2 ฤดูกาล 2559 ที่ไม่ได้สิทธิ์เลื่อนชั้นไปเล่น ไทยลีก 3 รวมกับทีมสำรองของสโมสรในไทยลีก

อเมเจอร์ ทัวร์นาเมนต์ (Amateur tournament) ลีกสมัครเล่น

 

กติกาการให้คะแนนมวยไทย
กติกาการให้คะแนนมวยไทย

กติกาให้คะแนน  

การให้คะแนนมวยไทยสมัครเล่น มี 2 วิธี

     1. การให้คะแนนการตัดสินด้วยใบให้คะแนน (SCORING CARD)

หลักเกณฑ์การให้คะแนน การให้คะแนนต้องให้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

      1.1 เกี่ยวกับการชก (อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก)

      ก. การชกที่ได้คะแนน ในแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคิดคะแนนให้แก่ผู้แข่งขันแต่ละขันแต่ละคน ตามจำนวนของการชกที่ถูกต้อง ตามแบบของมวยไทย เช่น ผู้แข่งขันจะกระแทรก ชก ตี เตะ ทุบ ถอง เหน็บ ถีบ ฯลฯ บริเวณทุกส่วนบนร่างกายคู่ต่อสู้ด้วยประการใดๆ ก็ได้ที่เข้าลักษณะของมวยไทย โดยปราศจากการป้องกันและทำให้ผู้แข่งขันเสียเปรียบถือว่าได้คะแนน ในการชกคลุกวงใน หรือการเข้าคลุกนั้น ต้องคิดคะแนนให้ผู้แข่งขันที่แลกอาวุธ (แม่ไม้มวยไทย คือ หมัด เข่า ศอก) ได้ถูกต้องมากกว่า ดีกว่า เมื่อสิ้นสุดการเข้าคลุกวงในกันนั้น 

       ข.การชกที่ไม่ได้คะแนน มีดังนี้

              • การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด

              • ชกถูกแขน ขา ของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน

              • ไม่มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากร่างกาย

       1.2 เกี่ยวกับฟาวล์

          ก. ระหว่างการชกแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาวล์ เตือนและตำหนิโทษตามสมควรในการฟาวล์เท่าที่ได้มองเห็น แม้ผู้ชี้ขาดจะเห็นหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ชี้ขาดเตือนให้ใส่เครื่องหมาย(c) ในช่องที่แบ่งไว้ของผู้กระทำฟาวล์

         ข. การตำหนิโทษ ผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนนผู้แข่งขันคนหนึ่ง ผู้ตัดสินอาจให้คะแนนอีกคนหนึ่งก็ได้ เมื่อผู้ตัดสินจะให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันที่คู่ต่อสู้ฟาวล์ซึ่งถูกผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนน ผู้ตัดสินต้องใส่ (w) ในช่องที่แบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้ถูกสั่งตัดคะแนนเพื่อแสดงว่าเขาได้กระทำเช่นนั้น ถ้าผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยต้องใส่(x) ในช่องแบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้แข่งขันที่ถูกตัดสินคะแนน

          ค.ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาวล์อย่างชัดเจนโดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำฟาวล์ผู้ตัดสินจะต้องประเมินความรุนแรงของการฟาวล์และตัดคะแนนในการกระทำฟาวล์ไปตามความเหมาะสม แม้ผู้ชี้ขาดจะไม่เห็นก็ตามผู้ตัดสินจะต้องแสดงให้เห็นว่านักมวยได้กระทำเช่นนั้นโดยใส่ (J) ลงไปในช่องที่แบ่งไว้ทางด้านนักมวยที่กระทำผิด พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่าทำผิดด้วยเหตุใด

          1.3 เกี่ยวกับการให้คะแนน

               ก. เมื่อสิ้นสุดแต่ละยก แต่ละยกมี 20 คะแนน ไม่มีการให้คะแนนเป็นเศษส่วน เมื่อสิ้นสุดแต่ละยกผู้แข่งขันที่ดีกว่า(มีทักษะมากกว่า) จะได้ 20 คะแนน และคู่แข่งขันจะได้ลดลงไปตามส่วนถ้าผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายชกตีเท่ากัน ให้คะแนนคนละ 20 คะแนน

               ข. เกณฑ์การคิดคะแนน การคิดคะแนนให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้คือ 1 คะแนนสำหรับอาวุธที่กระทำถูกต้อง 1 อาวุธ

               ค. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงถ้าได้คะแนนแต่ละยกตามเกณฑ์ข้อ ก. และข้อ ข.

แล้วผู้ตัดสินพบว่าคะแนนของผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายเท่ากัน จะต้องพิจารณาตัดสินผลการแข่งขันให้แก่ผู้แข่งขันที่

                    • เป็นฝ่ายรุกมากที่สุด หรือถ้าเป็นฝ่ายรุกเท่ากันให้พิจารณาผู้ที่มีแบบการชกดีกว่า หรือถ้ายังเท่ากันอีก

                    • เป็นผู้มีการป้องกันดีกว่า (การปิดป้อง ปัด จับ รั้ง การหลบหลีก การฉาก ฯลฯ) จนคู่ต่อสู้ทำอะไรไม่ได้ (คือสามารถป้องกันอาวุธต่างๆ ของคู่ต่อสู้ให้พ้นจากอันตราย พลาดจากเป้าหมายไปได้)

                    • ในการแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันแบบแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผลเป็นเสมอกันได้)

           2. การให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์(Use of electronic scoring machine) 

วิธีการให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องการใช้คอมพิวเตอร์ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติ ดังนี้

          1. ต้องมีผู้ตัดสิน 5 คน ทำหน้าที่ในการตัดสินข้างสังเวียน(judge 1- judge5)

          2. เมื่อผู้ตัดสินนั่งประจำที่ข้างสังเวียน ให้สำรวจความเรียบร้อย ของแป้นกด (Key board) (เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ จะทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว๗ ลักษณะของแป้นกดเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีปุ่มในการกดอยู่ 4 ปุ่ม ดังนี้

               • ด้านซ้ายมือสำหรับนักมวยมุมแดงมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับตัดคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)

               • ด้านขวามือสำหรับนักมวยมุมน้ำเงินมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)

          3. ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะต้องกดให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้อย่างถูกต้องตามกติกาหรือการใช้ทักษะมวยไทยที่ให้คะแนน

          4.ผู้ตัดสินที่กดปุ่มให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้ถูกต้องจะถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นคะแนนข้อมูลของแต่ละบุคคล (INDIVIDUAL SCORE) 

          5. คะแนนหรือข้อมูลจากการกดของผู้ตัดสินทั้ง 5 จะถูกบันทึกไว้และคำนวณออกมาเป็นผลขั้นสุดท้ายโดยอัตโนมัติ(ACEPTED SCORE)โดยคิดเฉพาะการกระทำที่ผู้ตัดสินให้คะแนนอย่างน้อย 3 ใน 5 บันทึกลงในเครื่องพร้อมกันภายใน 1 นาที (เห็นเหมือนกันอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ภายใน 1 วินาที เป็นหลักในการตัดสินผลการแข่งขัน)

          6. ผู้แข่งขันที่สามารถใช้อาวุธแม่ไม้มวยไทย ดังต่อไปนี้

          1. เตะด้วยส้นเท้าที่ศีรษะ ใบหน้า (จระเข้ฟาดหาง)

          2. โยนเข่าลอยที่ศีรษะ ใบหน้า

          3. ศอกกลับศีรษะ ใบหน้า

          4. เตะสูงที่ศีรษะ ใบหน้า (ก้านคอ) ได้ถูกต้องเข้าเป้าหมายมีน้ำหนัก จะได้คะแนนพิเศษเพิ่มขึ้น 3 คะแนนโดยพิจารณาการให้คะแนนจากการกดเครื่องไฟฟ้า โดยให้คณะลูกขุนพิจารณา

         7. คะแนนในแต่ละยกที่สมบูรณ์จะบันทึกรวมกันไปตลอดจนครบยกสุดท้าย ผู้กระทำได้ถูกต้องมากกว่าจะเป็นผู้ชนะโดยคะแนน

         8. นักมวยที่ถูกตัดคะแนน (WARING)คะแนนจะหายไป 2 คะแนน (มีค่าเท่ากับ 2 การกระทำ) ไปเพิ่มให้กับฝ่ายตรงข้าม

         9. คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะบันทึกจำนวนทักษะที่กระทำทั้งหมด จัดเก็บไว้ทั้งส่วน บุคคลและผลอย่างน้อย 3 คน

        10. ถ้าการชกสิ้นสุด ผลสุดท้ายคะแนนออกมาเสมอกัน จะ ต้องนำคะแนนดิบมาพิจารณา โดยตัดคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่ให้คะแนนไว้สูงสูดและต่ำสุดออก แล้วนำคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คน มารวมกัน นักมวยที่มีคะแนนรวมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้ามีผลเสมอกันอีก ลูกขุน (JURY) จะให้ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน พิจารณาครั้งสุดท้ายโดยการกดปุ่มบันทึกของแต่ละคนอีก 1 ครั้ง (ปุ่มแดงหรือปุ่มน้ำเงิน)

        11. การใช้ทักษะที่กระทำได้มากกว่าคู่ต่อสู้ จำนวน 25 คะแนน ถือว่ามีฝีมือเหนือกว่า ให้JURY แจ้งให้ REFEREE ยุติการแข่งขัน โดยให้สัญญากดออด และ REFEREE ยุติการแข่งขันฝีมือเหนือกว่าสำหรับเยาวชนหรือนักมวยหญิง จำนวน 20 คะแนน

         12. ถ้าเครื่องให้คะแนนขัดข้องต้องปฏิบัติ ดังนี้

          •ประธานคณะลูกขุน จะยุติการแข่งขัน 1 นาที ถ้ายังซ่อมเครื่องไม่ได้ให้แข่งขันต่อไป โดยให้คะแนนลูกขุน 3 หรือ 5 คน เป็นผู้ให้คะแนน

          ถ้าไม่สามารถซ่อมเครื่องได้ คณะลูกขุนสามารถตัดสินให้ใช้การตัดสินด้วยใบให้คะแนนสำหรับคู่มวยต่อไป

การใช้ทักษะมวยไทยสมัคเล่นที่ได้คะแนน

ผู้ตัดสินต้องพิจารณาจากการกระทำด้วยทักษะมวยไทย เช่น หมัด เท้า เข่า ศอก ดังนี้

          •ถูกเป้าหมายของมวยไทยสมัครเล่น

          •ปราศจากการป้องกันจากคู่ต่อสู้

          •มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากหัวไหล่ ลำตัว สะโพก แขน หรือขา

          •ทักษะมวยไทยที่ใช้กระทำไม่ผิดกติกา (ฟาวล์)

สรุป     1. เห็นกด

           2. เข้าเป้า ปราศจากการป้องกัน

           3. มีน้ำหนัก

           4.ไม่ฟาวล์

 

รูปแบบการแข่งขัน

ไทยพรีเมียร์ลีก มีสโมสรฟุตบอลเข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งหมด 18 ทีม ตามปกติจะดำเนินการจัดแข่งขัน ระหว่างเดือนมีนาคมถึงตุลาคมของทุกปี โดยแต่ละสโมสรจะแข่งขันแบบพบกันหมด สองนัดเหย้าเยือนรวม 34 นัดต่อสโมสรต่อฤดูกาล ซึ่งในแต่ละนัด ผู้ชนะจะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1 คะแนน แพ้ไม่ได้คะแนน ทั้งนี้เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สโมสรที่ได้คะแนนรวมสูงสุด จะได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้สิทธิไปแข่งขันรายการเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ส่วนทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศจะได้ไปแข่งในรายการเอเฟซีแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือก รอบสอง (กรณีสโมสรที่ชนะเลิศหรือรองชนะเลิศไทยพรีเมียร์ลีก และสโมสรที่ชนะเลิศไทยเอฟเอคัพในฤดูกาลเดียวกัน เป็นสโมสรเดียวกัน สิทธิแข่งขันเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก รอบสอง ซึ่งปกติเป็นของสโมสรชนะเลิศไทยเอฟเอคัพ จะตกเป็นของสโมสรที่ได้คะแนนอันดับที่ 3 ของไทยพรีเมียร์ลีกแทน) ส่วนทีมที่ได้คะแนนรองลงมา จะเรียงอันดับลดหลั่นกันตามคะแนนรวมที่ได้ โดยสามอันดับสุดท้าย จะตกชั้นสู่ไทยลีกดิวิชัน 1 และสามอันดับแรก จากไทยดิวิชัน 1 จะขึ้นชั้นมาแทน

 

ในกรณีที่มีทีมมากกว่า 1 ทีมขึ้นไป ได้คะแนนรวมเท่ากันเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาเรียงลำดับดังนี้

 

พิจารณาจากผลการแข่งขันของทีมที่มีคะแนนเท่ากันที่เคยแข่งกันมาในฤดูกาลที่เพิ่งจบการแข่งขัน (Head To Head)

พิจารณาจากจำนวนครั้งที่ชนะ (Number of Wins) ของแต่ละทีมที่คะแนนเท่ากัน

พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ และประตูเสีย (Goals Difference)

พิจารณาเฉพาะประตูได้ (Goals For)

แข่งขันกันใหม่ 1 นัด เพื่อหาทีมชนะ หากผลการแข่งขันเสมอกันในเวลาปกติให้ตัดสินด้วยการเตะลูกโทษ ณ จุดเตะโทษ

ในกรณีที่พิจารณาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นตามลำดับแล้วและได้เกณฑ์ตัดสินตามข้อหนึ่งข้อใดแล้วให้ยุติการพิจารณาข้อต่อไป

ในการจัดอันดับระหว่างการแข่งขัน เพื่อแสดงลำดับในตารางคะแนนระหว่างฤดูกาล ให้ใช้เกณฑ์พิจารณาดังต่อไปนี้

 

พิจารณาจากคะแนนรวมสูงสุด

ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้พิจารณาจากผลต่างของประตูได้ ประตูเสีย

ถ้ายังเท่ากันอีกให้ดูเฉพาะประตูได้

ถ้ายังเท่ากันอีกให้ทำการจับฉลาก

 

กติกาการให้คะแนนมวยไทย
กติกาการให้คะแนนมวยไทย

กติกาให้คะแนน  

การให้คะแนนมวยไทยสมัครเล่น มี 2 วิธี

     1. การให้คะแนนการตัดสินด้วยใบให้คะแนน (SCORING CARD)

หลักเกณฑ์การให้คะแนน การให้คะแนนต้องให้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

      1.1 เกี่ยวกับการชก (อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก)

      ก. การชกที่ได้คะแนน ในแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคิดคะแนนให้แก่ผู้แข่งขันแต่ละขันแต่ละคน ตามจำนวนของการชกที่ถูกต้อง ตามแบบของมวยไทย เช่น ผู้แข่งขันจะกระแทรก ชก ตี เตะ ทุบ ถอง เหน็บ ถีบ ฯลฯ บริเวณทุกส่วนบนร่างกายคู่ต่อสู้ด้วยประการใดๆ ก็ได้ที่เข้าลักษณะของมวยไทย โดยปราศจากการป้องกันและทำให้ผู้แข่งขันเสียเปรียบถือว่าได้คะแนน ในการชกคลุกวงใน หรือการเข้าคลุกนั้น ต้องคิดคะแนนให้ผู้แข่งขันที่แลกอาวุธ (แม่ไม้มวยไทย คือ หมัด เข่า ศอก) ได้ถูกต้องมากกว่า ดีกว่า เมื่อสิ้นสุดการเข้าคลุกวงในกันนั้น 

       ข.การชกที่ไม่ได้คะแนน มีดังนี้

              • การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด

              • ชกถูกแขน ขา ของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน

              • ไม่มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากร่างกาย

       1.2 เกี่ยวกับฟาวล์

          ก. ระหว่างการชกแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาวล์ เตือนและตำหนิโทษตามสมควรในการฟาวล์เท่าที่ได้มองเห็น แม้ผู้ชี้ขาดจะเห็นหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ชี้ขาดเตือนให้ใส่เครื่องหมาย(c) ในช่องที่แบ่งไว้ของผู้กระทำฟาวล์

         ข. การตำหนิโทษ ผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนนผู้แข่งขันคนหนึ่ง ผู้ตัดสินอาจให้คะแนนอีกคนหนึ่งก็ได้ เมื่อผู้ตัดสินจะให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันที่คู่ต่อสู้ฟาวล์ซึ่งถูกผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนน ผู้ตัดสินต้องใส่ (w) ในช่องที่แบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้ถูกสั่งตัดคะแนนเพื่อแสดงว่าเขาได้กระทำเช่นนั้น ถ้าผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยต้องใส่(x) ในช่องแบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้แข่งขันที่ถูกตัดสินคะแนน

          ค.ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาวล์อย่างชัดเจนโดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำฟาวล์ผู้ตัดสินจะต้องประเมินความรุนแรงของการฟาวล์และตัดคะแนนในการกระทำฟาวล์ไปตามความเหมาะสม แม้ผู้ชี้ขาดจะไม่เห็นก็ตามผู้ตัดสินจะต้องแสดงให้เห็นว่านักมวยได้กระทำเช่นนั้นโดยใส่ (J) ลงไปในช่องที่แบ่งไว้ทางด้านนักมวยที่กระทำผิด พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่าทำผิดด้วยเหตุใด

          1.3 เกี่ยวกับการให้คะแนน

               ก. เมื่อสิ้นสุดแต่ละยก แต่ละยกมี 20 คะแนน ไม่มีการให้คะแนนเป็นเศษส่วน เมื่อสิ้นสุดแต่ละยกผู้แข่งขันที่ดีกว่า(มีทักษะมากกว่า) จะได้ 20 คะแนน และคู่แข่งขันจะได้ลดลงไปตามส่วนถ้าผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายชกตีเท่ากัน ให้คะแนนคนละ 20 คะแนน

               ข. เกณฑ์การคิดคะแนน การคิดคะแนนให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้คือ 1 คะแนนสำหรับอาวุธที่กระทำถูกต้อง 1 อาวุธ

               ค. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงถ้าได้คะแนนแต่ละยกตามเกณฑ์ข้อ ก. และข้อ ข.

แล้วผู้ตัดสินพบว่าคะแนนของผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายเท่ากัน จะต้องพิจารณาตัดสินผลการแข่งขันให้แก่ผู้แข่งขันที่

                    • เป็นฝ่ายรุกมากที่สุด หรือถ้าเป็นฝ่ายรุกเท่ากันให้พิจารณาผู้ที่มีแบบการชกดีกว่า หรือถ้ายังเท่ากันอีก

                    • เป็นผู้มีการป้องกันดีกว่า (การปิดป้อง ปัด จับ รั้ง การหลบหลีก การฉาก ฯลฯ) จนคู่ต่อสู้ทำอะไรไม่ได้ (คือสามารถป้องกันอาวุธต่างๆ ของคู่ต่อสู้ให้พ้นจากอันตราย พลาดจากเป้าหมายไปได้)

                    • ในการแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันแบบแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผลเป็นเสมอกันได้)

           2. การให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์(Use of electronic scoring machine) 

วิธีการให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องการใช้คอมพิวเตอร์ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติ ดังนี้

          1. ต้องมีผู้ตัดสิน 5 คน ทำหน้าที่ในการตัดสินข้างสังเวียน(judge 1- judge5)

          2. เมื่อผู้ตัดสินนั่งประจำที่ข้างสังเวียน ให้สำรวจความเรียบร้อย ของแป้นกด (Key board) (เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ จะทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว๗ ลักษณะของแป้นกดเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีปุ่มในการกดอยู่ 4 ปุ่ม ดังนี้

               • ด้านซ้ายมือสำหรับนักมวยมุมแดงมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับตัดคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)

               • ด้านขวามือสำหรับนักมวยมุมน้ำเงินมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)

          3. ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะต้องกดให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้อย่างถูกต้องตามกติกาหรือการใช้ทักษะมวยไทยที่ให้คะแนน

          4.ผู้ตัดสินที่กดปุ่มให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้ถูกต้องจะถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นคะแนนข้อมูลของแต่ละบุคคล (INDIVIDUAL SCORE) 

          5. คะแนนหรือข้อมูลจากการกดของผู้ตัดสินทั้ง 5 จะถูกบันทึกไว้และคำนวณออกมาเป็นผลขั้นสุดท้ายโดยอัตโนมัติ(ACEPTED SCORE)โดยคิดเฉพาะการกระทำที่ผู้ตัดสินให้คะแนนอย่างน้อย 3 ใน 5 บันทึกลงในเครื่องพร้อมกันภายใน 1 นาที (เห็นเหมือนกันอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ภายใน 1 วินาที เป็นหลักในการตัดสินผลการแข่งขัน)

          6. ผู้แข่งขันที่สามารถใช้อาวุธแม่ไม้มวยไทย ดังต่อไปนี้

          1. เตะด้วยส้นเท้าที่ศีรษะ ใบหน้า (จระเข้ฟาดหาง)

          2. โยนเข่าลอยที่ศีรษะ ใบหน้า

          3. ศอกกลับศีรษะ ใบหน้า

          4. เตะสูงที่ศีรษะ ใบหน้า (ก้านคอ) ได้ถูกต้องเข้าเป้าหมายมีน้ำหนัก จะได้คะแนนพิเศษเพิ่มขึ้น 3 คะแนนโดยพิจารณาการให้คะแนนจากการกดเครื่องไฟฟ้า โดยให้คณะลูกขุนพิจารณา

         7. คะแนนในแต่ละยกที่สมบูรณ์จะบันทึกรวมกันไปตลอดจนครบยกสุดท้าย ผู้กระทำได้ถูกต้องมากกว่าจะเป็นผู้ชนะโดยคะแนน

         8. นักมวยที่ถูกตัดคะแนน (WARING)คะแนนจะหายไป 2 คะแนน (มีค่าเท่ากับ 2 การกระทำ) ไปเพิ่มให้กับฝ่ายตรงข้าม

         9. คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะบันทึกจำนวนทักษะที่กระทำทั้งหมด จัดเก็บไว้ทั้งส่วน บุคคลและผลอย่างน้อย 3 คน

        10. ถ้าการชกสิ้นสุด ผลสุดท้ายคะแนนออกมาเสมอกัน จะ ต้องนำคะแนนดิบมาพิจารณา โดยตัดคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่ให้คะแนนไว้สูงสูดและต่ำสุดออก แล้วนำคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คน มารวมกัน นักมวยที่มีคะแนนรวมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้ามีผลเสมอกันอีก ลูกขุน (JURY) จะให้ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน พิจารณาครั้งสุดท้ายโดยการกดปุ่มบันทึกของแต่ละคนอีก 1 ครั้ง (ปุ่มแดงหรือปุ่มน้ำเงิน)

        11. การใช้ทักษะที่กระทำได้มากกว่าคู่ต่อสู้ จำนวน 25 คะแนน ถือว่ามีฝีมือเหนือกว่า ให้JURY แจ้งให้ REFEREE ยุติการแข่งขัน โดยให้สัญญากดออด และ REFEREE ยุติการแข่งขันฝีมือเหนือกว่าสำหรับเยาวชนหรือนักมวยหญิง จำนวน 20 คะแนน

         12. ถ้าเครื่องให้คะแนนขัดข้องต้องปฏิบัติ ดังนี้

          •ประธานคณะลูกขุน จะยุติการแข่งขัน 1 นาที ถ้ายังซ่อมเครื่องไม่ได้ให้แข่งขันต่อไป โดยให้คะแนนลูกขุน 3 หรือ 5 คน เป็นผู้ให้คะแนน

          ถ้าไม่สามารถซ่อมเครื่องได้ คณะลูกขุนสามารถตัดสินให้ใช้การตัดสินด้วยใบให้คะแนนสำหรับคู่มวยต่อไป

การใช้ทักษะมวยไทยสมัคเล่นที่ได้คะแนน

ผู้ตัดสินต้องพิจารณาจากการกระทำด้วยทักษะมวยไทย เช่น หมัด เท้า เข่า ศอก ดังนี้

          •ถูกเป้าหมายของมวยไทยสมัครเล่น

          •ปราศจากการป้องกันจากคู่ต่อสู้

          •มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากหัวไหล่ ลำตัว สะโพก แขน หรือขา

          •ทักษะมวยไทยที่ใช้กระทำไม่ผิดกติกา (ฟาวล์)

สรุป     1. เห็นกด

           2. เข้าเป้า ปราศจากการป้องกัน

           3. มีน้ำหนัก

           4.ไม่ฟาวล์

คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 718,201 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 818,274 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 835,430 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 973,339 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 915,100 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,015,279 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 593,272 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 657,613 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม