ประวัติ ความเป็นมา ภาพประกอบ กีฬาวอลเลย์บอล

ความรู้กีฬา ประวัติ กติกา ของกีฬาแต่ละชนิด
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
tc_botun
Hero Member
Hero Member
โพสต์: 523
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ พ.ค. 19, 2014 10:25 am

ประวัติ ความเป็นมา ภาพประกอบ กีฬาวอลเลย์บอล

โพสต์ โดย tc_botun »

ประวัติ ความเป็นมา ภาพประกอบ กีฬาวอลเลย์บอล

volleyball.jpg

กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2438 โดยนายวิลเลี่ยม จี มอร์แกน(Willam G.Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสนาม วาย.เอ็ม.ซี.เอ (Young Men’s Christian Association)
เมืองฮอลโยค(Holyoke) มลรัฐแมทซาชูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้นมา เนื่องจากในฤดูหนาวหิมะตกมากผู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้
เขาได้พยายามคิดและดัดแปลงกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจหรือผ่อนคลายความตึงเครียด ขณะที่เขาดูการแข่งขันเทนนิส ได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะ
และวิธีการเล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสขึงระหว่างเสาโรงยิมเนเซียมสูงจากพื้น 6 ฟุต 6 นิ้ว ใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมแล้วใช้มือและ
แขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา เนื่องจากยางในลูกบาสเกตบอลนิ่มเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนที่ไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล
แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่ หนัก และแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ

เขาจึงว่าจ้างให้บริษัท A.G Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วยยาง มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว หนัก 9-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว
เขาได้ตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า “มินโตเนท” (Mintonette)

ปี พ.ศ. 2439 มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Sprpingfield College) นายวิลเลี่ยม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุม
ซึ่งศาสตราจารย์อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T.Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนท (Mintonette) เป็น “วอลเลย์บอล”(Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่น
ที่ตีโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น

ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก และแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว เพราะเป็นเกมที่เล่นง่าย
สามารถเล่นได้ตามชายทุ่ง ชายหาด และตามค่ายพักแรมทั่วไป
volleyball2.jpg
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง