ความดันเลือดสูง กินอะไร คลายโรค

บอร์ด พูดคุยเรื่องสุขภาพ
ตอบกลับโพส
สมุนไพรใกล้ตัว
Sr. Member
Sr. Member
โพสต์: 377
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ก.ย. 26, 2009 11:17 am

ความดันเลือดสูง กินอะไร คลายโรค

โพสต์ โดย สมุนไพรใกล้ตัว »

ความดันเลือดสูง กินอะไร คลายโรค
โรคความดันเลือดสูง หรือโรคแรงดันสูง ภาษาอังกฤษเรียก Hypertension ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างสูงต่อการเกิดอาการหัวใจวาย หรือ หลอดเลือดสมองแตก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติ แม้ความดันเลือดจะสูงมากๆ ก็ตาม  บ้างทราบว่าตัวเองมีความดันเลือดสูง แต่ก็ละเลยไม่สนใจรักษาเพราะรู้สึกปกติ สบายดี ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่างๆ ตามมาภายหลัง
ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ จะทราบได้ว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ ทำได้โดยการวัดความดันเลือดเท่านั้น ประชาชานทุกคนสามารถตรวจวัดความดันเลือดได้ตามสถานบริการสาธารณสุขต่างๆ
รูปภาพ

ความดันเลือดคืออะไร
ค่าความดันเลือดมี 2 ค่า เรียกว่า “ตัวบน” และ “ตัวล่าง”
ค่าตัวบนเป็นความดันเลือดในหลอดเลือดที่เกิดขึ้นขณะที่หัวใจบีบตัวไล่เลือดออกจากหัวใจ
ค่าตัวล่าง คือ ความดันของเลือดที่ยังค้างอยู่ในหลอดเลือดขณะที่หัวใจคลายตัว
ปัจจุบันความดันเลือดที่เรียกว่า “เหมาะสม” ของผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปีคือ ตัวบนไม่เกิน 120 มม.ปรอท และตัวล่างไม่เกิน 80 มม.ปรอท  จะเรียกได้ว่ามีความดันเลือดสูง เมื่อความดันเลือดตัวบนมากกว่า(หรือเท่ากับ) 90 มม.ปรอท  ค่าระหว่างนี้เป็นกลุ่มก้ำกึ่ง (borderline-to moderate range)  ถ้าใครสงสัยว่าตัวเองมีโรคนี้หรือไม่ให้ไปพบแพทย์ตรวจวินิจฉัยได้
ถ้าอายุเกิด 40 แล้วก็ควรไปตรวจร่างกายปีละครั้งเพราะคุณอาจมีความดันเลือดสูงหรืออยู่ในเกณฑ์ก้ำกึ่งโดยไม่มีอาการก็ได้  ถ้าทราบผลการตรวจวัดความดันเลือดแล้ว ตัวคุณและแพทย์จะได้ช่วยกันหาหนทางดูแลสุขภาพของคุณได้ถูกต้อง
“การดูแลหรือป้องกันความดันเลือดสูงวันนี้ จะลดโอกาสผลแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต”
ความดันเลือดสูงเกิดจากอะไรและมีอาการอย่างไร
ความดันเลือดสูงส่วนใหญ่เป็นโรคที่ไม่มีสาเหตุเฉพาะ มีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้องทั้งพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น อาหารรสเค็ม เชื้อชาติ วิถีชีวิต  ความเครียด  ส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด ไตวาย หรือ เนื้องอกบางชนิด

ทำไมต้องตรวจวัดความดันเลือด
คนที่มีความดันเลือดสูงอยู่เป็นระยะเวลานานจะเกิดการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดเลี้ยงสมอง ตา หัวใจ และ ไต  เป็นเหตุให้หลอดเลือดสมองตีบตันหรือแตก เกิดเป็นอัมพาตช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ นอกจากนี้  อาจเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหรือไตวายเรื้อรังได้
ความดันเลือดสูงมีผลทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ในที่สุดจะเกิดหัวใจโต กล้ามเนื้อหัวใจหนา  อาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายตามมา โรคความดันเลือดสูงจึงได้ชื่อว่าเป็นฆาตกรเงียบ  เพราะก่อความเสียหายได้มากทั้งกับหลอดเลือดและอวัยวะอื่นๆ โดยไม่แสดงอาการ กว่าจะแสดงอาการร่างกายก็ได้รับความเสียหายไปมากแล้วเกิดกว่าจะบำบัดให้กลับคืนสภาพปกติได้ การละเลยไม่สนใจตรวจร่างกายของประชากรวัยกลางคน เพราะเห็นว่าร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่มีโทษต่อตนเอง  โรคความดันเลือดสูงนี้ถ้าทราบแต่เนิ่นๆ ผู้ป่วยจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและชะลอความรุนแรงของโรค  การควบคุมความดันเลือดสามารถป้องกันการเกิดผลแทรกซ้อนอย่างใหญ่หลวงอื่นๆ ที่จะตามมากได้ การรักษาความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอยู่เสมอจะช่วยลดโอกาสเกิดโรคแทรกทางสมอง หัวใจ ไต และ หลอดเลือดในอนาคตได้
  ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวขึ้น  การเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อก็มียาดีจัดการได้เกือบทุกโรค แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่เจ็บป่วยเรื้อรังในวัยสูงอายุ  เนื่องจากขาดการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องในวัยทำงาน  การดูแลหรือป้องกันความดันเลือดสูงในวันนี้จะลดโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาตค เพื่อคุณภาพชีวิตในช่วงหลังของเรานั่นเอง

การดูแลผู้มีความดันเลือดสูง
การรักษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ  การใช้ยา (ดูแลโดยแพทย์) อีกส่วนคือไม่ใช้ยา (ดูแลโดยตัวผู้ป่วย และบุคคลรอบตัว)  การไม่ใช้ยาทำได้โดยการลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  ทำจิตใจให้แจ่มใส  ลดความเครียด  งดบุหรี่  ลดการบริโภคน้ำตาลขัดขาว  อาหารไขมันสูง  กาแฟและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เพิ่มปริมาณโพแทสเซียม และเส้นใยพืชในอาหาร  กินอาหารหลากชนิดให้ได้แร่ธาตุและวิตามินครบ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม จะช่วยให้ควบคุมความดันเลือดได้ดี
ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเล็กน้อยหรือกลุ่มก้ำกึ่งอาจเริ่มการรักษาโดยไม่ใช้ยา  แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอยู่ด้วยก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วยทั้งนี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์
“การออกกำลังกาย  การบำบัดให้ผ่อนคลาย และปรับอาหารของกลุ่มความดันเลือดสูงแบบก้ำกิ่งให้ผลระยะยาวดีกว่ากลุ่มเดียวกันที่บำบัดอาการโดยการใช้ยา”
การดูแลผู้ป่วยกลุ่มก้ำกึ่ง


สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยความดันเลือดสูงร้อยละ 80  เป็นกลุ่มก้ำกึ่ง ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถดูแลตนเองได้ดี  ภายใต้คำแนะนำของแพทย์โดยการปรับวิถีชีวิตและอาหาร งานวิจัยจากตะวันตกพบว่า  การออกกำลังกายการบำบัดจิตใจให้ผ่อนคลาย  และปรับอาหารของกลุ่มความดันเลือดสูงแบบกำกึ่งให้ผลระยะยาว ดีกว่ากลุ่มเดียวกับที่บำบัดอาการโดยการใช้ยา  อาหารที่ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มควรกิน ได้แก่ผักขึ้นฉ่าย (celery) กระเทียม หอมหัวใหญ่ กล้วย  ถั่วต่างๆ เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน  และ ธัญพืชที่เป็นเมล็ด  ปลาทะเล จากน่านน้ำเย็น  ผักใบเขียว  บร็อกโคลี่ ส้มต่างๆ  ฝรั่ง และอาหารที่มีวิตามินซีสูง
ผักขึ้นฉ่าย มีสาร 3-เอ็น-บิวทิล ฟทาไลน์ (3-n-butyl  phthalide) มีฤทธิ์ลดความดันเลือด  และลดปริมาณคอเลสเตอรอลด้วย    ถ้ากินวันละ 6 ช้อนโต๊ะพูนทุกวันพร้อมปรับเปลียนพฤติกรรมอื่นก็จะเห็นผลลดความดันเลือด (ขึ้นฉ่ายฝรั่งก้านโต 4 ก้านต่อวัน)
กระเทียมและหอมหัวใหญ่มีผลทั้งลดความดัน และคอเลสเตอรอล ให้กินเพิ่มเติมในอาหาร  ถ้ากินกระเทียมเม็ดหรือแคปซูลให้กิน 4000 ไมโครกรัม อัลลิซินต่อวัน
กล้วยเป็นผลไม้มีราคาถูก หาได้ง่าย กินได้ทุกวัยแถมช่วยเรื่องขับถ่ายด้วย  เป็นผลไม้ที่มีเส้นใยและมีโพแทสเซียมสูง
รูปภาพ
โพแทสเซียมทำหน้าที่ดูแลสมดุลของน้ำและการส่งน้ำไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ดูแลสมดุลความดันเลือด สมดุลกรด-ด่าง  การทำงานของหัวใจ  กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาท  ไต  และต่อมหมวกไต โพแทสเซียม  พบได้ทั่วไปในพืชผักต่างๆ ที่มีมากได้แก่ กล้วย ส้มต่างๆ แอปพริคอต ลูกไหน ลูกพรุน  ลูกท้อ ลูกเกด  สตรอเบอร์รี่  แตงกวา  มะเขือเทศ  กะหล่ำปลี  มะขือยาว  ขมิ้นชัน  ผักขม  บร็อกโคลี่  มันฝรั่งทั้งเปลือก  ปลาทูน่า  เมล็ดฟักทอง  และ เมล็ดทานตะวัน

บุคคลทั่วไปต้องการโพแทสเซียมวันละ 2000  มก.  แต่ผู้ที่มีความดันเลือดสูงต้องการถึง 3500  มก. ต่อวัน ลองกินกล้วยสองผลให้โพแทสเซียม  934 มก. เติมลูกพรุนครึ่งถ้วย  721 มก. ลูกเกดครึ่งถ้วย 598 มก. น้ำส้ม 1 ถ้วย  354 มก. มันฝรั่งอบทั้งเปลือก 721 มก. และมะเขือเทศ 1 ผล 273 มก.  ได้เกิน 3500 มก.

คนที่เกินอาหารฟาสต์ฟู้ด จะกินผักและผลไม้น้อย ทำให้ได้รับโพแทสเซียมน้อย แถมยังได้รับเกลือโซเดียมสูง ทั้งจากกะปิ น้ำปลา เกลือ ผงฟู (จากขนมปังและขนมอบ)  ซีอิ้วขาว  เต้าเจี้ยว  เต้าหู้ยี้  อาหารหมัก ดอง
แฮม  เบคอน ไส้กรอกทุกชนิด เนื้อเค็ม  ขนมกรุบกรอบ  บะหมี่สำเร็จรูป  ก๋วยเตี๋ยวน้ำและน้ำซุปทั้งหลาย
ที่สหรัฐอเมริการประมาณว่าประชากรได้รับโซเดียมตามสัดส่วนดังนี้คือ 45,45 ,5 และ 5 นั่นคือ
ร้อยละ 45  จากอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น อาหาร  พร้อมอุ่น  อาหารกระป๋อง  อาหารซองฉีกเติมเนื้อสัตว์  กินได้  น้ำสลัดเป็นต้น
ร้อยละ 45  จากการปรุงอาหารที่บ้านหรือร้านอาหาร
ร้อยละ 5  จากการเติมน้ำเกลือเพื่อปรุงรส ก่อนกิน (เหมือนที่คนไทยเติมน้ำปลาพริก)
ร้อยละ 5 เท่านั้นที่มาจากตัวอาหารเอง (จากผักและผลไม้)

สูตรอาหารลดความดัน
รายงานจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดกล่าวว่า  อาหารที่มีส่วนประกอบของพืชมากลดความดันเลือดได้  นอกจากนี้ ยังลดคอเลสเตอรอล  ควบคุมสภาวะเบาหวานและลดน้ำหนักได้ ในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกิน  ผู้ที่มีความดันเลือดสูงเมื่อกินอาหารสูตรนี้พบว่า 2  สัปดาห์มีการเปลี่ยนแปลงของความดันเลือด  คณะวิจัยเชื่อว่าการกินอาหารที่เพิ่มแร่ธาตุโพแทสเซียม  แมกนีเซียม และ แคลเซียม  ลดความดันเลือด
นอกจากนี้ การกินอาหารลดความดัน (DASH หรือ Dietary Approaches to Stop Hypertension)  ยังขับปัสสาวะและขับเกลือออกอีกด้วย  ปัจจุบันสูตรนี้เป็นสูตรอาหารแนะนำของสมาคมโรคหัวใจ และหน่วยวิจัย  ปอด  หัวใจ และหลอดเลือดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา คนที่มีความดันเลือดสูงถ้ากินสูตรอาหารลดความดันนี้จะเห็นผลได้ชัดเจน  สำหรับการลดความดันเลือด สำหรับคนที่มีความดันเลือดแบบก้ำกึ่งจะได้ผลการลดความดันแบบค่อยเป็นค่อยไป  บางคนอาจจะบอกว่าให้กินน้อย แล้วจะอยู่ได้อย่างไร
จริงอยู่การกินอาหารให้ปริมาณน้อยแต่สามารถดำรงตนอยู่ได้แน่นอน  พระที่ท่านเข้ากรรมฐานฉันมื้อละ 10 คำ ท่านยังดำรงชีพได้เลยค่ะ  แต่ท่านจะไม่อ้วนและปลอดโรคด้วย  ทุกคนสามารถเลือกคุณภาพของอาหารได้โดยไปเพิ่มรสชาติอาหารด้วยสมุนไพรเครื่องเทศแทนเกลือดีกว่า

นอกจากนี้  ยังแนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย เช่น  เดินวันละ 40 นาที และแนะนำการหายใจเข้าลึกๆ เพื่อนำออกซิเจนเข้าปอดให้มากที่สุด  หาวิธีคลากอารมณ์ลดความเครียดด้วย  อาจใช้โยคะ การทำสมาธิ หรือการสวดมนต์ก็ได้  ถ้าน้ำหนักและความเครียของผู้ป่วยความดันเลือดสูงลดไปได้แม้เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยลดความดันเลือดได้อีกฝ่ายหนึ่ง  ผู้อ่านคงเหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่ทำงานนั่งโต๊ะ แต่ละวันไม่ได้ใช้พลังงานเท่าไหร่เลย
เดี๋ยวก็ขับรถหรือ ขึ้นรถเมล์กลับบ้านก็ไม่ได้ออกกำลังกายอีก น้ำหนักของพวกเราจึงพอกพูนและโรคภัยก็ถามหาด้วย  การเปลี่ยนแปลงการกินอาหารดูจะดีกว่าการกินยาลดความดันตลอดชีวิตแน่นอน คนไทยอยู่ประเทศไทย เรื่องอาหารสด  ผัก ผลไม้ หาได้ไม่ยาก  ถ้าอยู่ตะวันออกกลางต้องกินเหมือนกับอยู่เมืองไทย  อย่างนี้สงสัยจะแพงน่าดู กินอยู่แบบพอเพียง  มีสุขภาพกายใจแข็งแรกกันถ้วนหน้า

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/
jokerzero
Newbie
Newbie
โพสต์: 19
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ มี.ค. 15, 2010 9:16 pm

Re: ความดันเลือดสูง กินอะไร คลายโรค

โพสต์ โดย jokerzero »

แคลเซียมกับความต้องการของคนต่างวัย
รูปภาพ
เชื่อว่าทุกคนคงรู้ถึงคุณประโยชน์ของแคลเซียม เป็นอย่างดีแล้ว ว่ามีผลดีต่อร่างกายทช่วยให้กระดูกแข็งแรง และเมื่อเร็วๆนี้มีงานวิจัยที่พบว่าแคลเซียมสามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อโรคความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือนและมะเร็งลำ ไส้ แต่คนส่วนน้อยมักละเลยว่าการได้รับแคลเซียมต่อวันนั้นย่อมต้องคำนึงถึงวัย เป็นสำคัญด้วย ดังนั้นจึงมีข้อมูลมานำเสนอให้คุณผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ


หญิงตั้งครรภ์
สำหรับหญิงมี ครรภ์แล้ว แคลเซียม นับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน จำเป็นต้องได้รับมากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกาย ของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลน แคลเซียม นอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูกหรือโรค กระดูกพรุน ในภายหลังได้


วัยเด็ก
เด็กๆ ต้องการ แคลเซียม มากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เด็ก (1-10 ปี) ควรได้รับ 800 - 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยการสะสม แคลเซียม ในเด็กที่หัดพูดจะช้าแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าถ้าปริมาณ แคลเซียม ในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้ สิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนารูปแบบการบริโภคให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการให้เพียงพอ เพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูก ให้การเติบโตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกใน ช่วงต่อไปของชีวิตได้


วัยหนุ่มสาว
จากการศึกษาวิจัย แสดงว่า ช่วยอายุ 11-24 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับ แคลเซียม ในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรงจะก่อให้เกิดโรค กระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้า ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน สิ่งสำคัญคือ การรักษาระดับการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ต้องการเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปในภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับ แคลเซียม ตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่รับ แคลเซียมไม่เพียงพอ


วัยกลางคนถึงวัยสูงอายุ
คนเรา ปกติจะมีโอกาสสูญเสีย แคลเซียม จากกระดูกเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูงถ้าร่างกายไม่ได้รับ แคลเซียมอย่างเพียงพอ ซึ่งควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสีย กระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรค กระดูกพรุนสูง ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริม แคลเซียม ให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ได้ การเผชิญกับการผุกร่อนของกระดูกจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูกเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็ น้อยลงหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ว่าได้


สนับสนุนเนื้อหา รูปภาพ

คำที่เกี่ยวข้อง :  โรคความดัน  สุขภาพ  นม  แคลเซียม  วัย  กระดูก   
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง