วิทยาลัยธาตุพนม –ม.มหิหล คว้าแชมป์สุดยอดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม

แนะนำเว็บ โปรโมทเว็บ แนะนำเว็บ ตัวเองให้เป็นที่รู้จัก
ตอบกลับโพส
ktpr
Newbie
Newbie
โพสต์: 1
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.พ. 10, 2015 1:02 pm

วิทยาลัยธาตุพนม –ม.มหิหล คว้าแชมป์สุดยอดสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม

โพสต์ โดย ktpr »

6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14.00 น. ณ อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดงานประกาศผลการประกวดนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ประจำปี 2557 โดยมีทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจำนวน 15 ทีมจากทั่วประเทศ และเพื่อเฟ้นหาสุดยอดนักประดิษฐ์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา
นางสาวดารณี ลิขิตวรศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา นับเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาด้านการกีฬาของประเทศในทุกระดับ ทั้งในระดับกีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อมวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และกีฬาเพื่อการอาชีพ กรมพลศึกษา โดยสำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬามาโดยตลอด โดยเฉพาะการพัฒนาในระดับกีฬาขั้นพื้นฐานและกีฬาเพื่อมวลชน สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมการประกวดผลงานนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้น ภายใต้แนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการกีฬา เพื่อลดการพึ่งพาเทคโนโลยีราคาสูงจากต่างประเทศ จนสามารถพัฒนาให้เกิดการผลิตในเชิงพาณิชย์ สร้างรายได้ให้กับประเทศ สร้างทางเลือกในการดูแลสุขภาพให้ประชาชน และพัฒนาด้านการกีฬาของประเทศไทยในอนาคตต่อไป
สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศแบ่งเป็น 3 ประเภท ประเภทละ 5 ทีม ดังนี้
1.ประเภทอาชีวศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เกมแข่งรถไฟฟ้าด้วยพลังงานสองขาปั่นเพื่อสุขภาพ จากวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องฝึกกล้ามเนื้อด้านหน้าและหลังจากวิทยาลัยกาญจนบุรี
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ อุปกรณ์สูบน้ำพลังแขน จากวิทยาลัยสารพัดช่างศรีสะเกษ
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ เครื่องฝึกทักษะนักกีฬาวอลเลย์บอล จากวิทยาลัยเทคนิคนราธิวาส และชุดฝึกและทดสอบการเสิร์ฟของนักกีฬาวอลเล่ย์บอลจากวิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
2.ประเภทอุดมศึกษา
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Smart Real Steel Boxing Trainer จากมหาวิทยาลัยมหิดล
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องวิเคราะห์วงสวิงแบบพกพา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ระบบวัดและวิเคราะห์อัตราชีพจรขณะฝึกซ้อมสำหรับวิทยาศาสตร์การกีฬา จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียว,
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ The coordinate game จากสถาบันการพลศึกษาสุโขทัย และเครื่องเซตลูกวอลเลย์บอล (Volleyball Setting Machine) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
3.ประเภทประชาชนทั่วไป
รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ Kinetic Cycling จากทีมคุณดำรงศักดิ์ รวยสูงเนิน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เครื่องออกกำลังกายดึงดันเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แขน ขา เข่า และเท้า จากทีมสวนแตงวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ เครื่องมือวัดและวิเคราะห์การเคลื่อนไหวข้อเท้าสำหรับวิทยาศาสตร์การกีฬา จากทีม Ankle Science
รางวัลชมเชย 2 รางวัล ได้แก่ ตาราง 18 ช่องพัฒนาสมอง ปฏิกิริยาตอบสนองและความคล่องแคล่วว่องไว จากทีม TPU ท่าปลา อุตรดิตถ์ และอุปกรณ์ช่วยโยนลูกวอลเลย์บอล (The Black Hole) จากทีมลูกเจ้าตาก
โดยแต่ละประเภทมีรางวัลเป็นเงินสนับสนุนพร้อมโล่เกียรติยศ และเกียรติบัตร ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 30,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 1 รางวัล รางวัลละ 10,000 บาท
รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท
การจัดการประกวดในครั้งนี้ นับเป็นเวทีที่เยาวชนและประชาชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงฝีมือในการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดการใช้งานจริง จนก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงการกีฬาและสุขภาพของประเทศ รวมทั้งพัฒนาไปสู่การผลิตใช้งานในเชิงพาณิชย์เพื่อลดการนำเข้าสินค้า และวัสดุ อุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ที่มีราคาสูงจากต่างประเทศต่อไป
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง