กฎ,กติกา การเล่น การจัดการแข่งขัน ภาพประกอบ กีฬาว่ายน้ำ

ความรู้กีฬา ประวัติ กติกา ของกีฬาแต่ละชนิด
ตอบกลับโพส
ภาพประจำตัวสมาชิก
tc_botun
Hero Member
Hero Member
โพสต์: 523
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ พ.ค. 19, 2014 10:25 am

กฎ,กติกา การเล่น การจัดการแข่งขัน ภาพประกอบ กีฬาว่ายน้ำ

โพสต์ โดย tc_botun »

กฎ,กติกา การเล่น การจัดการแข่งขัน ภาพประกอบ กีฬาว่ายน้ำ
swimming.jpg

การจัดการแข่งขัน (MANAGEMENT OF COMPETITIONS)

1.1 คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ที่ได้รับการแต่งตั้งจากสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ มีอำนาจในการพิจารณาการตัดสินข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามกติกาเหนือว่าผู้ชี้ขาด
กรรมการตัดสินหรือเจ้าหน้าอื่น ๆ และยังมีอำนาจในการสั่งให้เลื่อนรายการแข่งขันและให้คำแนะนำที่สอดคล้องตามกติกาทุกกรณี

1.2 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championships) และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศระดับโลก (World Cups)
คณะกรรมการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ จะเป็นผู้แต่งตั้งจำนวนเจ้าหน้าที่ในการควบคุมการแข่งขันอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ ผู้ชี้ขาด 1 คน กรรมการตัดสินท่าว่าย 4 คน ผู้ปล่อยตัว 2 คน
หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว 2 คน (อยู่ปลายสระด้านละ 1 คน) กรรมการดูการกลับตัว 1 คน (อยู่ปลายสระแต่ละช่องว่าย ด้านละ 1) หัวหน้าผู้บันทึกเวลา 1 คน ผู้บันทึกเวลา 1 คน
ผู้รับรายงานตัว 1 คน กรรมการเชือกฟาวล์ 1 คน ผู้ประกาศ 1 คน
1.2.1 สำหรับการแข่งขันระดับนานาชาติ คณะกรรมการจัดการแข่ง จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ จำนวนเท่ากันหรือน้อยกว่าตามที่กำหนดก็ได้ โดยจะต้องได้รับการรับรองหรือ
เห็นชอบจากผู้แทนของสหพันธ์ว่ายน้ำของภูมิภาค ที่มีอำนาจตามความเหมาะสม
1.2.2 เมื่ออุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติไม่สามารถใช้งานได้ต้องมีการแต่งตั้งหัวหน้าผู้จับเวลา ผู้จับเวลาช่องว่ายละ 3 คนและสำรองผู้จับเวลาไว้ 2 คน
1.2.3 ต้องแต่งตั้ง หัวหน้ากรรมการเส้นชัย และกรรมการเส้นชัย ในกรณีที่อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ และ/หรือนาฬิกาจับเวลาระบบตัวเลข 3 เรือนต่อหนึ่งช่องว่ายไม่สามารถใช้งานได้

1.3 สระว่ายน้ำและอุปกรณ์ทางเทคนิค สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและการแข่งขันแชมป์โลก จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองตามขั้นตอนที่ถูกต้องก่อนจะทำการแข่งขันว่ายน้ำ
จากผู้แทนของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติร่วมกับคณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬาว่ายน้ำ

1.4 อุปกรณ์กล้องวิดีโอใต้น้ำที่ใช้เกี่ยวข้องกับโทรทัศน์ อุปกรณ์เหล่านี้จะต้องมีระบบควบคุมการทำงานและจะต้องไม่กีดขวางการมองเห็น หรือกีดขวางทางนักว่ายน้ำ
และต้องไม่เปลี่ยนองค์ประกอบของสระหรือบดบังเครื่องหมายตามที่สหพันธ์ว่ายนานาชาติกำหนดไว้



กรรมการ เจ้าหน้าที่ (OFFICIALS)

2.1 ผู้ชี้ขาด (Refeaee)
2.1.1 ผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ควบคุมและมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ทุกคน โดยเป็นผู้พิจารณามอบหมายหน้าที่และให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่ เกี่ยวกับงานที่มีลักษณะพิเศษหรือระเบียบข้อบังคับ
ที่เกี่ยวกับแข่งขัน เพื่อให้การตัดสินปัญหาทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้อง ตามสภาพความเป็นจริงที่พบเห็นจากการแข่งขันหรือจากผู้ทำการแข่งขัน การตัดสินขั้นสุดท้ายจะถือว่าสิ้นสุด
จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินเป็นอย่างอื่นไม่ได้
2.1.2 ผู้ชี้ขาดต้องมองดูทุดช่วงขณะทำการแข่งขัน เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามกติกาการแข่งขัน และจะสามารถวินิจฉัย ในกรณีที่มีการประท้วง ที่อาจจะเกิดขึ้นเกี่ยวกับการแข่งขันได้
2.1.3 กรณีที่ใช้กรรมการเส้นชัย โดยไม่มีนาฬิกาจับเวลาระบบตัวเลข 3 เรือน ผู้ชี้ขาดจำเป็นผู้พิจารณากำหนดตำแหน่งที่ให้ หากอุปกรณ์แบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้
ก็ให้พิจารณาผลการตัดสินตามกติกาข้อ 13
2.1.4 ผู้ชี้ขาดต้องมั่นใจว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตรงตามตำแหน่งในขณะแข่งขัน และเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเจ้าหน้าที่สำรองปฏิบัติหน้าที่แทน เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่อยู่ ไร้ความสามารถหรือ
ไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ชี้ขาดสามารถแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพิ่มได้ ตามแต่พิจารณาเห็นว่าสมควร
2.1.5 การเริ่มต้นการแข่งขันแต่ละรายการ ผู้ชี้ขาดจะเป็นผู้ให้สัญญาณแก่นักว่ายน้ำ โดยการเป่านกหวีดเสียงสั้น ๆ เพื่อเตือนให้นักว่ายน้ำถอดชุดคลุม จากนั้นจะเป่านกหวีดเสียงยาว
นักว่ายน้ำเข้าประจำบนแท่นกระโดด (หรือถ้าเป็นการแข่งขันว่ายแบบการเชียงและการแข่งขันว่ายแบบผลัดผสม นักว่ายน้ำจะต้องลงไปในน้ำโดยมิชักช้า) การเป่านกหวีดยาวเป็นครั้งที่สอง
เพื่อเรียกนักว่ายน้ำแบบกรรเชียง และนักว่ายน้ำแบบผลัดผสม รีบเข้าประจำที่เริ่มต้น เมื่อนักว่ายน้ำ และเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ พร้อม ผู้ชี้ขาดจะให้สัญญาณให้ผู้ปล่อยตัวทราบ โดยเหยียดแขน
เพื่อแสดงให้นักว่ายน้ำทราบว่าขณะนี้จะอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ปล่อยตัวแล้ว การเหยียดแขนจะคงอยู่ในลักษณะอย่างนั้นจนกระทั่งได้มีการปล่อยตัวออกไป
2.1.6 ผู้ชี้ขาดจะตัดสิทธิ์นักว่ายน้ำ ไม่ว่าคนไหนก็ตามถ้าพบว่ามีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน หรือได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ การตัดสิทธิ์ทุก ๆ กรณี
ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ชี้ขาด

2.2 ผู้ปล่อยตัว(Starter)
2.2.1 ผู้ปล่อยตัวจะมีอำนาจควบคุมนักว่ายน้ำอย่างเต็มที่หลักจากผู้ชี้ขาดได้ให้สัญญาณกลับมายังผู้ปล่อยตัว (กติกาข้อ 2.1.5) จนกระทั่งการแข่งขันได้เริ่มขั้น การเริ่มต้น
จะต้องดำเนินไปตามกติกาข้อ 4
2.2.2 ผู้ปล่อยตัวจะต้องรายงานต่อผู้ชี้ขาด เมื่อมีนักว่ายน้ำถ่วงเวลาในการเริ่มต้น มีเจตนาไม่เชื่อฟังคำสั่ง หรือกระทำผิดมารยาทในการเข้าประจำที่ ผู้ชี้ขาดสามารถตัดสิทธิ์นักว่ายน้ำ
ที่มีเจตนาถ่วงเวลา หรือกระทำผิดมารยาทได้ การตัดสิทธิ์ดังกล่าวจะไม่นับรวมกับจำนวนครั้งของการฟาวล์ในการเริ่มต้น
2.2.3 ผู้ปล่อยตัวมีอำนาจเต็มในการตัดสิน เพื่อให้การเริ่มต้นมีความถูกต้องยุติธรรม แต่การตัดสินขึ้นอยู่กับผู้ชี้ขาดเท่านั้น
2.2.4 การเริ่มต้นแต่ละรายการ ผู้ปล่อยตัวจะยืนด้านข้างของสระ ห่างประมาณ 5 เมตรจากขอบสระด้านที่ใช้ปล่อยตัว อยู่ในตำแหน่งที่ผู้จับเวลาสามารถมองเห็นหรือ
ได้ยินเสียงสัญญาณปล่อยตัวได้ชัดเจน และนักว่ายน้ำทุกคนก็ต้องสามารถได้ยินเสียงสัญญาณปล่อยตัวอย่างชัดเจนด้วย

2.3 ผู้รับรายงานตัว (Clerk of Course)
2.3.1 ผู้รับรายงานตัวจะต้องรวบรวมรายชื่อนักว่ายน้ำจัดเรียงลำดับก่อนหลังของแต่ละรายการ
2.3.2 ผู้รับรายงานตัวต้องรายงานต่อผู้ชี้ขาด ในกรณีที่มีการละเมิดเครื่องหมายการค้าเกินกว่าที่กำหนด (GR 7) และกรณีที่นักว่ายน้ำไม่มารายงานตัว

2.4 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว (Chief Inspector of Turns)
2.4.1 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว ต้องมั่นใจว่ากรรมการดูการกลับตัวทุกคนสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับการรายงานจากกรรมการดูการกลับตัว ว่ามีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น
จะต้องรายงานให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที
2.4.2 หัวหน้ากรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับการรายงานจากการกรรมการดูการกลับตัว เมื่อได้รับการรายงานจากกรรมการดูการกลับตัว ว่ามีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้น
จะต้องรายงานให้ผู้ชี้ขาดทราบทันที

2.5 กรรมการดูการกลับตัว (Inspector of Turns)
2.5.1 กรรมการดูการกลับตัวจะถูกกำหนดให้ประจำอยู่ด้านสระและท้ายสระของทุกช่องว่าย
2.5.2 กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนจะต้องมั่นใจว่านักว่ายน้ำไม่ได้ฝ่าฝืนกติกาเกี่ยวกับการกลับตัว โดยเริ่มดูจากการใช้แขนในช่วงสุดท้ายก่อนที่จะแตะขอบสระและ
จบลงอย่างสมบูรณ์ของการใช้แขนช่วงแรกหลังจากได้กลับตัวแล้ว กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำด้านหัวสระและท้ายสระจะต้องมั่นใจว่านักว่ายน้ำปฏิบัติการกลับตัวเป็นไปตามกติกา
โดยจากจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของการใช้แขนช่วงแรกได้อย่างสมบูรณ์ กรรมการดูการกลับตัวที่ประจำด้านเส้นชัยจะต้องมั่นใจว่านักว่ายน้ำได้เข้าเส้นชัยโดยแตะขอบสระ
เป็นไปอย่างถูกต้องตามกติกา
2.5.3 ในรายการแข่งขันประเภทบุคคล ระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนที่ประจำอยู่ท้ายสระ จะต้องบันทึกจำนวนรอบที่ว่ายไปแล้วของนักว่ายน้ำ
ในช่องว่ายของตนเอง และต้องแจ้งจำนวนรอบที่เหลือให้นักว่ายน้ำทราบด้วยป้ายแสดงบอกจำนวนรอบ หรืออาจใช้อุปกรณ์กึ่งอัตโนมัติรวมทั้งป้ายแสดงบอกจำนวนรอบใต้น้ำก็ได้
2.5.4 กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนที่ประจำด้านหัวสระจะต้องเป็นให้สัญญาณเตือน เมื่อนักว่ายน้ำในช่องว่ายของตนเหลือระยะทาง 5 เมตรก่อน 2 เที่ยวสุดท้าย
ที่จะสิ้นสุดการว่ายประเภทบุคคลระยะทาง 800 เมตร และ 1,500 เมตร และต้องให้สัญญาณเตือนหลังจากนักว่ายน้ำกลับตัว จนกระทั่งตรงแนวเชือกธงบอกระยะทาง 5 เมตรเหนือช่องว่าย
สัญญาณที่เตือนจะใช้เสียงนกหวีดหรือเสียงระฆังก็ได้
2.5.5 กรรมการดูการกลับตัวแต่ละคนที่ประจำด้านหัวสระจะต้องดูแลในรายการว่ายผลัด ว่าในช่วงรอยต่อ นักว่ายน้ำออกตัวจากแท่นกระโดดก่อนที่นักว่ายน้ำคนก่อนได้แตะขอบสระ
แล้วหรือยังเมื่อมีการใช้อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ สามารถนำมาเป็นเครื่องช่วยตัดสินในการออกตัวในการว่ายผลัด โดยจะให้เป็นไปตามกติกาข้อ 13.1
2.5.6 กรรมการดูการกลับตัว จะต้องรายงานการทำผิดกติกาต่าง ๆ โดยการเขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม เช่น รายการแข่งขัน หมายเลขช่องว่าย และสาเหตุของการทำผิดกติกา
ให้กับหัวหน้าผู้ดูการกลับตัว เพื่อที่จะรายงานผลดังกล่าวกับผู้ชี้ขาด โดยทันที

2.6 กรรมการตัดสินท่าว่าย (Judges fo Stroke)
2.6.1 กรรมการตัดสินท่าว่ายจะอยู่จะอยู่บริเวณด้านข้างของสระแต่ละด้าน
2.6.2 กรรมการตัดสินท่าว่ายแต่ละคน จะต้องเข้าใจกติกาการว่ายแต่ละแบบเป็นอย่างดี โดยต้องสังเกตการว่ายแต่ละรายการต้องเป็นไปตามกติกาการแข่งขันและ
จะต้องดูการกลับตัวร่วมกับกรรมการดูการกลับตัว
2.6.3 กรรมการตัดสินท่าว่าย จะต้องรายงานการทำผิดกติกาต่าง ๆ ต่อผู้ชี้ขาดโดยการเขียนรายละเอียดลงในแบบฟอร์ม เช่น รายการแข่งขัน หมายเลขช่องว่าย และสาเหตุของการทำผิดกติกา

2.7 หัวหน้าผู้จับเวลา (Chief Timekeeper)
2.7.1 หัวหน้าผู้จับเวลา จะเป็นผู้กำหนดตำแหน่งสำหรับผู้จับเวลาทุกคน และให้มีหน้าที่รับผิดชอบประจำช่องว่าย โดยแต่ละช่องว่ายจะต้องมีผู้เวลา 3 คน
ถ้าเกิดกรณีที่อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติไม่สามารถใช้งานได้ ในสภาวะดังกล่าวนี้จะต้องใช้ผู้จับเวลาสำรอง 2 คนที่แต่งตั้งไว้แล้ว โดยให้คนใดคนหนึ่งจะต้องทำหน้าที่แทนในกรณีที่
นาฬิกาของผู้จับเวลาคนใดไม่ทำงานหรือไม่หยุดในระหว่างการแข่งขัน หรือด้วยเหตุผลอื่นใด ที่ผู้จับเวลาไม่สามารถจับเวลาได้ เมื่อมีการใช้นาฬิกาจับเวลาแบบตัวเลข 3 เรือนต่อหนึ่งช่องว่าย
ให้สรุปผลโดยเอาเวลาและลำดับที่มาพิจารณา โดยยึดเอาเวลาที่ได้เป็นหลัก
2.7.2 หัวหน้าผู้จับเวลา จะเป็นผู้รวบรวมใบบันทึกเวลาจากผู้จับเวลาทุกช่องว่าย ใบบันทึกเวลาที่แสดงผลเวลา ถ้าหากมีความจำเป็นก็ขอตรวจสอบกับนาฬิกาเรือนนั้นได้
2.7.3 หัวหน้าผู้จับเวลา จะต้องบันทึกหรือตรวจสอบเวลาอย่างเป็นทางการตามใบบันทึกเวลาของแต่ละช่องว่าย

2.8 ผู้จับเวลา (Timekeepers)
2.8.1 ผู้จับเวลาแต่ละคน จะต้องของนักว่ายน้ำในช่องว่ายของตนเองที่รับผิดชอบให้เป็นไปตามกติกาข้อ 11.3 ส่วนนาฬิกาจับเวลานั้นจะต้องได้รับการตรวจสอบและ
รับรอง จากคณะกรรมการจัดการแข่งขัน
2.8.2 ผู้จับเวลาแต่ละคน จะกดเวลาเริ่มต้น เมื่อสัญญาณปล่อยตัวเริ่มขึ้นและกดเวลาให้หยุด เมื่อนักว่ายน้ำในช่องว่ายน้ำของตนเองว่ายเสร็จสิ้นสมบูรณ์หัวหน้าผู้จับเวลาอาจจะแนะนำ
ให้ผู้จับเวลาบันทึกเวลาแต่ละเที่ยวไปด้วย หากการแข่งขันรายการนั้นระยะทางเกินกว่า 100 เมตร
2.8.3 ทันทีที่การแข่งขันสิ้นสุด ผู้จับเวลาในแต่ช่องว่างจะต้องบันทึกเวลาที่จับได้จากนาฬิกาของตน ลงในใบบันทึกเวลาแล้วส่งให้กับหัวหน้าผู้จับเวลา
และจะต้องไม่ลบเวลาจนกว่าจะได้รับคำสั่งให้ "ลบเวลา" จากหัวหน้าผู้จับเวลาหรือผู้ชี้ขาด
2.8.4 นอกจากจะมีการใช้ระบบกล้องบันทึกภาพโทรทัศน์สำรองไว้ ผู้จับเวลาก็ยังมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้การจับเวลาเกิดความสมบูรณ์ ถึงแม้ว่าจะมีการใช้
อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติอยู่แล้วก็ตาม

2.9 หัวหน้ากรรมการเส้นชัย (Chief Finish Judge)
2.9.1 หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะเป็นผู้มอบหมายให้กรรมการเส้นชัยที่ประจำเส้นชัยแต่ละคน รับผิดชอบการพิจารณาลำดับที่การเข้าเส้นชัย
2.9.2 หลังจากเสร็จสิ้นการแข่งขันแต่ละรายการ หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องรวบรวมผลในใบบันทึกจากกรรมการเส้นชัยทุกคน และให้จัดผลตามลำดับที่เข้าเส้นชัย
พร้อมลงชื่อรับรองผลเพื่อที่จะนำส่งโดยตรงต่อผู้ชี้ขาด
2.9.3 เมื่อมีการใช้อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติเป็นเครื่องตัดสินการเข้าเส้นชัยในการแข่งขัน หัวหน้ากรรมการเส้นชัยจะต้องบันทึกลำดับที่ที่ได้จากอุปกรณ์อัตโนมัติหลังจากการแข่งขัน
แต่ละรายการเสร็จสิ้นลง

2.10 กรรมการเส้นชัย (Finish Judges)
2.10.1 กรรมการเส้นชัย จะต้องนั่งประจำตำแหน่งบนแท่นอัฒจันทร์เส้นชัย ซึ่งอยู่แนวเดียวกับเส้นชัยและสามารถมองเห็นแนวเส้นชัยได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา
นอกจากนี้หากมีการใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ กรรมการเส้นชัยแต่ละคนจะได้รับมอบหมายความรับผิดชอบโดยการ "กดปุ่ม" ในช่องว่ายของตน เพื่อให้มีความสมบูรณ์ที่สุดในการแข่งขัน
2.10.2 หลังจากการแข่งขันแต่ละรายการ กรรมการเส้นชัยจะต้องตัดสินและรายงานลำดับที่ของนักว่ายน้ำ ตามที่ได้รับมอบหมาย กรรมการเส้นชัยจะทำหน้าที่ในการกดปุ่มเท่านั้น
จะไม่มีการกระทำหน้าที่เหมือนผู้จับเวลาในรายการนั้น ๆ

2.11 เจ้าหน้าที่ควบคุมผลกาแข่งขัน (Desk Control)
2.11.1 หัวหน้าผู้บันทึกมีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบผลการแข่งขันที่พิมพ์มาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือผลของเวลาและลำดับที่ ในแต่ละรายการที่ได้รับมาจากผู้ชี้ขาด
หัวหน้าผู้บันทึกจะต้องลงลายมือชื่อในผลการแข่งขันร่วมกับลายมือชื่อของผู้ชี้ขาด
2.11.2 ผู้บันทึกจะต้องควบคุมตรวจสอบการขอสละสิทธิ์ หลังจากแข่งขันรอบคัดเลือกหรือรอบชิงชนะเลิศ เก็บเอกสารผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ การรับรองผลที่มี
การทำสถิติขึ้นใหม่ทุกรายการและเก็บคะแนนสะสมในการแข่งขัน

2.12 การตัดสินใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่ (Officials Decision Making)
2.12.1 เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องมีการตัดสินใจอย่างอิสระเป็นของตนเอง และไม่ขึ้นอยู่กับผู้ใด เป็นของแต่ละคนนอกจากนี้ต้องไม่แตกต่างไปจากกติกาของว่ายน้ำ


การจัดช่องว่ายในรอบคัดเลือก รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ (SEEDING OF HEATS,SEMI-FINALS AND FINALS)
การจัดช่องว่ายทุกรายการ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก การแข่งขันชิงแชมป์โลก การแข่งขันระดับทวีป และรายการอื่น ๆ ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ
จะต้องดำเนินการจัดช่องว่ายให้เป็นไปดังนี้

3.1 รอบคัดเลือก (Heats)
3.1.1 จัดเวลาที่ดีที่สุดของผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกคนที่ส่งมาในใบสมัคร ที่เคยทำภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 12 เดือนก่อนวันแข่งขัน โดยจะต้องส่งใบสมัคร และรายการแข่งขัน
พร้อมกับเวลาต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ส่วนนักว่ายน้ำที่ไม่ได้ส่งเวลาจะถูกพิจารณาให้เป็นผู้ที่มีเวลาช้าที่สุดและจะถูกจัดให้อยู่ในลำดับท้ายสุดในบัญชีรายชื่อ นักว่ายน้ำ
ที่ส่งเวลามาเท่ากันหรือนักว่ายน้ำที่ไม่ได้ส่งเวลามา ถ้ามีมากกว่า 1 คน จะพิจารณาการจัดลำดับโดยการจับฉลากนักว่ายน้ำจะถูกจัดให้อยู่ในช่องว่ายตามขั้นตอนของกติกาข้อ 3.1.2
ในกติกาข้อ 3.1.2 นักว่ายน้ำจะถูกจัดให้ว่ายในรอบคัดเลือก โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาเวลาตามวิธีการดังต่อไปนี้
3.1.1.1 ถ้ามีเพียงชุดเดียว จะจัดช่องว่ายแข่งขันเช่นเดียวกับรอบชิงชนะเลิศ และต้องว่ายในช่วงของการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศด้วย
3.1.1.2 ถ้ามี 2 ชุด นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วที่สุดจะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วที่สุดจะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 2 จะอยู่ในชุดที่ 1 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 3 จะอยู่
ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำเร็วลำดับที่ 4 จะอยู่ในชุดที่ 1 โดยจัดสลับชุดอย่างนี้จนครบ
3.1.1.3 ถ้ามี 3 ชุด นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วที่สุดจะอยู่ในชุดที่ 3 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 2 จะอยู่ในชุดที่ 2 นักว่ายน้ำจะอยู่ในชุดที่ 3 นักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 5 จะอยู่ในชุดที่ 2
และนักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วลำดับที่ 6 จะอยู่ในชุดที่ 1 นักว่ายน้ำเร็วลำดับที่ 7 จะอยู่ในชุดที่ 3 โดยจัดสลับชุดอย่างนี้จนครบ 3.1.1.4 ถ้ามี 4 ชุดหรือมากกว่า ใน 3 ชุดสุดท้ายการแข่งขัน
จะจัดช่องว่ายตามกติกาข้อ 3.1.1.3 ส่วนชุดที่ 4 จะประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำเร็วถัดไป สำหรับในชุดที่ 5 จะประกอบไปด้วยนักว่ายน้ำที่ว่ายเร็วถัดต่อไปอีก ในชุดต่อ ๆ ไปก็เช่นกัน
ในการจัดช่องว่ายจะพิจารณาตามลำดับเวลาภายในแต่ละชุดโดยรูปแบบการจัดต้องสอดคล้องตามกติกาข้อ 3.1.2 3.1.1.5 ข้อยกเว้น เมื่อรอบคัดเลือกมี 2 ชุดหรือมากกว่า ในแต่ละรายการ
จะต้องมีนักว่ายน้ำไม่น้อยกว่า 3 คน ในแต่ละชุด แต่ภายหลังมีการสละสิทธิ์ ดังนั้น จะเหลือนักว่ายน้ำในชุดน้อยกว่า 3 คนก็ได้

3.1.2 ยกเว้น ในรายการแข่งขัน 50 เมตร ในสระ 50 เมตร การพิจารณาช่องว่ายจะจัด (ช่องว่ายที่ 1 จะต้องอยู่ทางขวามือของสระ เมื่อยืนหันหน้าจากจุดสระไปยังปลายสระ)
ลำดับนักว่ายน้ำหรือทีมที่ว่ายเร็วที่สุดในช่องว่ายกลางของสระว่ายน้ำตามจำนวนช่องว่ายหรืออยู่ในช่องว่ายที่ 3 หรือ 4 ในสระว่ายน้ำที่มีช่องว่าย 6 หรือ 8 ช่องว่าย ตามลำดับ
ส่วนนักว่ายน้ำที่มีเวลาเร็วลำดับถัดไปอยู่ทางซ้ายมือของนักว่ายน้ำคนแรก ต่อจากนั้นคนอื่น ๆ ก็จัดสลับขวาและซ้ายมือของนักว่ายน้ำคนแรก ต่อจากนั้นคนอื่น ๆ
ก็จัดสลับขวาและซ้ายให้เป็นไปตามลำดับเวลา ส่วนนักว่ายน้ำที่มีเวลาเท่ากัน จะทำการจับฉลากเพื่อจัดช่องว่าย ตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว

3.1.3 เมื่อมีรายการแข่งขัน 50 เมตร ในสระ 50 เมตรการแข่งขันจะอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน โดยให้แต่ละคนเริ่มต้นว่ายจากจุดเริ่มตามปกติไปยังจุดเริ่มต้นหัวสระ
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น มีอุปกรณ์อัตโนมัติเพียงพอหรือไม่ตำแหน่งผู้ปล่อยตัวเหมาะสมหรือไม่ และอื่น ๆ คณะกรรมการแน่นอน
และชี้แจงให้นักว่ายน้ำทราบก่อนที่จะเริ่มทำการแข่งขันเกี่ยวกับการจัดช่องว่าย นักว่ายน้ำก็ให้ดำเนินการไปตามปกติรวมทั้งการเริ่มต้นและการเข้าเส้นชัย
ไม่ว่าจุดเริ่มต้นจะอยู่ที่หัวสระหรือท้ายสระก็ตาม

3.2 รอบรองชนะเลิศและรอบชิงชนะเลิศ (Semi-Finals and Finals)
3.2.1 ในรอบรองชนะเลิศ จะให้ดำเนินการไปตามตามกติกา ข้อ 3.1.1.2
3.2.2 หากไม่มีรอบคัดเลือก การจัดช่องว่ายจะให้ดำเนินการไปตามกติกาข้อ 3.1.2 ถ้าหากมีรอบคัดเลือกหรือรอบรองชนะเลิศการจัดช่องว่ายจะให้ดำเนินการ
ไปตามกติกาข้อ 3.1.2 เป็นหลักอย่างไรก็ตาม ยังใช้เวลาเป็นตัวกำหนดในการจัดชุดนั้น ๆ
3.2.3 ในรายการแข่งขันที่มีนักว่ายน้ำในชุดเดียวกันหรือต่างชุดกัน มีเวลาที่ให้จากการแข่งขันเท่ากัน ในอัตราส่วน 1/100 วินาที สำหรับลำดับที่ 8 หรืออันดับที่ 16 เท่ากัน
จะต้องทำการว่ายใหม่เพื่อหานักว่ายน้ำที่มีลำดับสูงกว่า เข้าไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศสำหรับการว่ายใหม่ เพื่อจัดลำดับที่ ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงหลังจาก
นักว่ายน้ำแข่งขันรอบคัดเลือกเสร็จสิ้นลง เช่นเดียวกันการว่ายใหม่เพื่อจัดลำดับที่ จะเกิดขี้นอีก ถ้าหากเวลายังเท่ากันอีก
3.2.4 หากมีนักว่ายน้ำ 1 คนหรือมากว่า ถอนตัวออกจากการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศหรือรอบชิงชนะเลิศ นักว่ายน้ำสำรองไว้จะถูกเรียกเข้าแทน โดยพิจารณาจากการลำดับในรอบคัดเลือก
หรือรอบรองชนะเลิศ รายการแข่งขันนั้น ๆ จะต้องมีการจัดเรียงลำดับใหม่และต้องจัดทำเอกสารแจ้งรายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงหรือการเปลี่ยนตัว
ให้ทราบการจัดช่องว่ายใหม่เป็นไปตามกติกาในข้อ 3.1.2

3.3 ในการแข่งขันอื่น ๆ บางทีอาจใช้ระบบการจับฉลากสำหรับการจัดช่องว่ายก็ได้



การเริ่มต้น (THE START)

4.1 การเริ่มต้นในการแข่งขันการว่ายแบบฟรีสไตล์ การว่ายแบบกบ การว่ายแบบผีเสื้อ และการว่ายเดี่ยวผสม จะเริ่มจากการกระโดดข้างบนแท่น โดยเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว
(กติกา 2.1.5) จากผู้ชี้ขาด นักว่ายน้ำจะก้าวขึ้นไปยืนบนแท่นปล่อยตัวและพักอยู่บนนั้น เมื่อมีคำสั่งของผู้ปล่อยตัวให้ "เข้าที่" ("take your marks") นักว่ายน้ำทุกคนจะต้องรับเข้าไป
อยู่ในตำแหน่งของการตั้งต้นทันทีโดยที่ต้องมีเท้าอย่างน้อยหนึ่งข้างอยู่ที่ปลายสุดของแท่นตั้งต้น ส่วนตำแหน่งของแขนนั้นไม่กำหนด เมื่อนักว่ายน้ำทั้งหมดอยู่ในลักษณะนิ่ง
ผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว

4.2 การเริ่มต้นในแข่งขันการว่ายแบบกรรเชียง และการว่ายแบบผลัดผสม จะเริ่มต้นจากในน้ำ โดยเมื่อผู้ชี้ขาดเป่านกหวีดยาวครั้งหนึ่ง (กติกา 2.1.5) นักว่ายน้ำจะต้องรีบลงไปในน้ำทันที
ผู้ชี้ขาดเป่านักหวีดยาวครั้งที่สอง นักว่ายน้ำจะต้องไม่ถ่วงเวลา โดยต้องรีบกลับเข้ามาอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นทันที (กติกา 6.1) เมื่อนักว่ายน้ำทั้งหมดเข้าประจำตำแหน่งเริ่มต้นแล้ว
ผู้ปล่อยตัวจะออกคำสั่งให้ "เข้าที่" ("take your marks") นักว่ายน้ำทั้งหมด
จะต้องอยู่ในลักษณะนิ่งผู้ปล่อยตัวจะให้สัญญาณปล่อยตัว

4.3 ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันชิงแชมป์โลก (World Championships) และรายการแข่งขันอื่น ๆ ของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (FINA) จะใช้คำสั่งปล่อยตัว
เป็นภาษาอังกฤษว่า ("take your marks") และในการปล่อยตัวจะต้องมีเครื่องขยายเสียงติดตั้ง ในแต่ละแท่นเริ่มต้น

4.4 นักว่ายน้ำคนใดที่ออกตัวก่อนสัญญาณปล่อยตัวจะดังขึ้น จะถูกตัดสิทธิ์ออกจากว่าย ถ้าเสียงปล่อยตัวดังก่อนมีการกระทำผิด การแข่งขันจะดำเนินต่อไปและ
เมื่อนักว่ายน้ำหนึ่งคนดังก่อนมีการกระทำผิด การแข่งขันจะดำเนินจะถูกตัดสิทธิ์หลังจากการว่ายเสร็จสิ้นลง ถ้าหากมีการกระทำผิดก่อนสัญญาณปล่อยตัว จะไม่มีการให้สัญญาณปล่อยตัว
โดยจะเรียกนักว่ายน้ำทั้งหมดที่เหลืออยู่กลับมา และให้มีการเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง



การว่ายแบบฟรีสไตล์ (FREESTYLE)
FREESTYLE.jpg
5.1 การว่ายแบบฟรีสไตล์ หมายถึง รายการแข่งขันนั้นกำหนดให้นักว่ายน้ำอาจจะว่ายรูปแบบใดก็ได้ ยกเว้นในรายการว่ายเดี่ยวผสมหรือ
ว่ายผลัดผสมการว่ายแบบฟรีสไตล์หมายถึงการว่ายแบบใดก็ได้ต้องนอกเหนือไปจากการว่ายแบบกรรเชียง การว่ายแบบกบ หรือการว่ายแบบผีเสื้อ

5.2 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องสัมผัสผนังสระ ในเวลากลับตัวและเมื่อเข้าเส้นชัย จึงจะเป็นการว่ายที่ถูกต้องสมบูรณ์

5.3 ส่วนใดส่วนหนี่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน ยกเว้นจะอนุญาตให้นักว่ายน้ำดำน้ำในระหว่างการกลับตัวจนเสร็จสมบูรณ์
และระยะทางต้องไม่เกิน 15 เมตร หลังจากตัวและการกลับตัวแต่ละครั้งโดยนับจากจุดที่ศีรษะโผล่พ้นผิวน้ำ



การว่ายแบบกรรเชียง (BACKSTROKE) .
BACKSTROKE.jpg
6.1 ก่อนที่จะที่มีสัญญาณปล่อยตัว นักว่ายน้ำจะต้องลงไปอยู่ในน้ำเป็นแนวเดียวกัน โดยหันหน้าเข้าหาปลายแท่นกระโดด มือทั้งสองข้างจับที่ยึดของแท่นกระโดดเท้าและ
รวมไปถึงนิ้วเท้าจะต้องอยู่ใต้ผิวน้ำ ห้ามไม่ให้เหยียบในหรือบนรางน้ำ หรือนิ้วเท้าเกลี่ยเกาะบนขอบของรางน้ำ

6.2 เมื่อให้สัญญาณการปล่อยตัวและหลังจากการกลับตัวนักว่ายน้ำจะถีบตัวออกและว่ายในลักษณะนอนหงายตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน ยกเว้นในขณะที่ทำการกลับตัว
ให้เป็นไปตามกติกาข้อ 6.4 ตามปกติของการนอนหงายยังจะรวมไปถึงการเคลื่อนไหวโดยการกลิ้งของลำตัวขึ้นมา แต่ลำตัวต้องพลิกไม่เกิน 90 องศาจากแนวนอน
ส่วนตำแหน่งของศีรษะไม่ได้กำหนดไว้

6.3 ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายนักว่ายน้ำจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำตลอดระยะทางที่ทำการแข่งขัน จะอนุญาตให้นักว่ายน้ำดำน้ำในระหว่างการกลับตัวจนเสร็จสมบูรณ์
และระยะทางต้องไม่เกิน 15 เมตรหลังจากออกตัวและการกลับตัวแต่ละครั้ง โดยนับจากจุดที่ศีรษะโผล่พ้นผิวน้ำ

6.4 ระหว่างการกลับตัว หัวไหล่อาจจะหมุนพลิกกลับเป็นแนวดิ่งตั้งฉากกับหน้าอกภายหลังจากกากดึงแขนเดียวหรือดึงแขนสองข้างพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ในการหมุนตัว
เมื่อไรที่ร่างกายเปลี่ยนตำแหน่งเป็นท่านอนหงาย การเตะเท้าหรือการดึงแขนใด ๆ ก็ตาม ต้องถือเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการกลับตัว นักว่ายน้ำต้องออกจากผนังสระในลักษณะนอกหงาย
ในเวลาทำการกลับตัวจะต้องแตะผนังสระด้วยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างการนักว่ายน้ำ

6.5 ในขณะเข้าเส้นชัยของการแข่งขัน นักว่ายน้ำจะต้องอยู่ในลักษณะนอนหงายจนกว่าจะแตะผนังผนังสระ ร่างกายอาจจะจมน้ำในขณะแตะผนังสระได้ ร่างกายอาจจะจมน้ำ
ในขณะแตะผนังสระได้
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
tc_botun
Hero Member
Hero Member
โพสต์: 523
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ พ.ค. 19, 2014 10:25 am

Re: กฎ,กติกา การเล่น การจัดการแข่งขัน ภาพประกอบ กีฬาว่ายน้ำ

โพสต์ โดย tc_botun »

การว่ายแบบกบ (BREASTSTROKE)
BREASTSTROKE.jpg
7.1 จากการเริ่มต้นโดยการใช้แขนจังหวะแรกหลังจากการออกตัวและหลังจากการกลับตัวทุก ๆ ครั้ง รักษาลำตัว ให้อยู่ในท่าคว่ำหน้า ไม่อนุญาตให้กลิ้งลำตัวไปสู่การนอนหงายตลอดเวลา

7.2 การเคลื่อนไหวของแขนทั้งสองข้างจะต้องกระทำพร้อมกันและอยู่ในแนวนอนราบระดับเดียวกัน โดยปราศจากการเคลื่อนไหวสลับกัน

7.3มือทั้งสองจะต้องพุ่งไปข้างหน้าพร้อมกัน จากหน้าอกใต้น้ำหรือเหนือน้ำ โดยที่ข้อศอกจะต้องอยู่ใต้น้ำ ยกเว้นสำหรับการใช้แขนจังหวะสุดท้ายก่อนการกลับตัว ระหว่างการกลับตัว
และสำหรับการใช้แขนจังหวะสุดท้ายในขณะเข้าเส้นชัย มือทั้งสองจะดึงกลับหลังมาบนหรือใต้ผิวน้ำก็ได้ มือทั้งสองจะไม่ดึงกลับหลังเกินเลยแนวของสะโพก
ยกเว้นระหว่างการใช้แขนจังหวะแรกหลังจากการออกตัวและการกลับตัวแต่ละครั้ง

7.4 การเคลื่อนไหวของขาทั้งสองข้างจะต้องกระทำพร้อมกันและอยู่ในแนวนอนราบระดับเดียวกัน โดยปราศจากการเคลื่อนไหวสลับกัน

7.5 ในส่วนของการเตะขา เท้าทั้งสองจะต้องพับงอ ขณะที่ถีบออกด้านนอก ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ ไม่อนุญาตให้เตะขาไขว้แบบกรรไกร แบบสลับขึ้น-ลง
หรือเตะขาลงแบบปลาโลมา อนุญาตให้เท้าทั้งสองอยู่เหนือผิวน้ำได้ เพียงแต่ต้องไม่เตะขาลงตามแบบปลาโลมา

7.6 ในการกลับตัวแต่ละครั้ง และการเข้าเส้นชัยในการแข่งขันการแตะขอบสระจะต้องทำด้วยมือทั้งสองข้างอย่างพร้อมกัน จะอยู่เหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำก็ได้
ศีรษะอาจจะจมน้ำภายหลังจากดึงแขนจังหวะสุดท้ายก่อนจะแตะ และให้ศีรษะสัมผัสผิวน้ำในบางจุดระหว่างการว่ายจังหวะสุดท้ายที่ครบรอบสมบูรณ์หรือไม่ครบรอบก่อนที่จะแตะ

7.7 ในระหว่างการว่ายครบรอบที่สมบูรณ์ หมายถึงการใช้แขน 1 ครั้ง และการถีบเขา 1 ครั้ง เพื่อให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของศีรษะนักว่ายน้ำจะต้องสัมผัสผิวน้ำ
ยกเว้นหลังจากการออกตัวและหลังจากการกลับตัวแต่ละครั้ง นักว่ายน้ำอาจจะใช้แขน 1 ครั้งอย่างสมบูรณ์โดยผลักแขนมาด้านหลังเลยไปถึงขา และถีบขาได้ 1 ครั้ง
ในขณะที่ลำตัวทั้งหมดจมอยู่ในน้ำ ศีรษะจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำก่อนที่มือทั้งสองจะหมุนเข้ามาใหม่ที่กว้างที่สุดของการว่ายในจังหวะที่สอง


การว่ายแบบผีเสื้อ (BUTTERFLY)
BUTTERFLY.jpg
8.1 จากการเริ่มต้นใช้แขนจังหวะแรก หลังจากการออกตัวและหลังจากการกลับตัวทุก ๆ ครั้ง รักษาลำตัวให้อยู่ในท่าคว่ำหน้าอนุญาตให้เตะขาใต้น้ำแบบด้านข้างได้
แต่ไม่อนุญาตให้กลิ้งลำตัวไปสู่การนอนหงายตลอดเวลา

8.2 แขนทั้งสองจะยกไปด้านหน้าพร้อมกัน เหนือน้ำและดึงแขนกลับมาด้านหลังอย่างพร้อมกัน ตลอดการแข่งขัน ตามกติกาข้อ 8.5
8.3 การเคลื่อนไหวขึ้นและลงของขาทั้งสอง จะต้องทำลักษณะพร้อม ๆ กัน ตำแหน่งของขาหรือเท้าไม่จำเป็นต้องอยู่ในระดับที่เท่ากัน แต่จะไม่มีการเตะขาสลับกัน
ไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนไหวด้วยการถีบขากบ

8.4 ในการกลับตัวแต่ละครั้ง และการเข้าเส้นชัย ในการแข่งขันการเตะขอบสระจะต้องทำด้วยมือทั้งสองข้างอย่างพร้อมกัน จะอยู่เหนือหรือใต้ระดับผิวน้ำก็ได้

8.5 ในการเริ่มต้นและการกลับตัว อนุญาตให้นักว่ายน้ำเตะขาหนึ่งครั้งหรือมากกว่าก็ได้และดึงแขนใต้น้ำได้ 1 ครั้ง ซึ่งต้องน้ำตัวเองขึ้นสู่ผิวน้ำ
จะอนุญาตให้นักว่ายน้ำอยู่ใต้น้ำอย่างเต็มที่ได้ในระยะทางไม่เกิน 15 หลังจากการปล่อยตัวและหลังจากการกลับตัวแต่ละครั้ง โดยนับจากจุดที่ศีรษะจะต้องโผล่พ้นผิวน้ำ
นักว่ายน้ำจะต้องว่ายอยู่บนผิวน้ำในระยะทางที่เหลือจนกว่าจะกลับตัวครั้งต่อไปหรือเข้าเส้นชัย


การว่ายแบบผสม (MEDLEY SWIMMING)
9.1 ในรายการว่ายแบบเดี่ยวผสม นักว่ายน้ำแต่ละคนจะต้องว่ายให้ครบทั้ง 4 แบบ ตามลำดับดังนี้ แบบผีเสื้อ แบบกรรเชียง แบบกบและแบบฟรีสไตล์

9.2 ในรายการว่ายแบบผลัดผสม นักว่ายน้ำทั้งทีมจะต้องว่ายให้ครบทั้ง 4 แบบ ตามลำดับดังนี้ แบบกรรเชียง แบบกบ แบบผีเสื้อและแบบฟรีสไตล์
9.3 ในการว่ายแต่ละช่วงจะต้องว่ายจนจบท่า โดยให้เป็นไปตามกติกาที่นำมาใช้เกี่ยวกับการว่ายในแต่ละท่าว่ายนั้น ๆ


การแข่งขัน (THE RACE)

10.1 นักว่ายน้ำจะต้องว่ายไปตลอดระยะทางด้วยตนเองจนครบระยะทางการแข่งขันจึงจะถือว่าถูกต้องตามกติกา

10.2 นักว่ายน้ำจะต้องเข้าเส้นชัยในช่องว่ายของตน ซึ่งเป็นช่องว่ายเดียวกันกับที่เริ่มต้นทำการแข่งขัน

10.3 ในทุก ๆ รายการ นักว่ายน้ำเมื่อทำการกลับตัวจะต้องให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายสัมผัสกับขอบสระ การกลับตัวจะต้องทำจากผนังขอบสระ และไมอนุญาตให้มีการเดินหรือ
ก้าวเดินออกจากพื้นสระ

10.4 การยืนบนพื้นสระ ระหว่างทำการแข่งขันท่าฟรีสไตล์ หรือระหว่างการว่ายในส่วนฟรีสไตล์ ของรายการว่ายแบบผสม นักว่ายน้ำจะไม่ถูกตัดสิทธิ์ แต่จะต้องไม่มีเดินบนพื้นสระ

10.5 ไม่อนุญาตให้มีการดึงช่องว่าย

10.6 การกีดขวางนักว่ายน้ำคนอื่น โดยการว่ายน้ำไปในช่องว่ายอื่นหรือมีการรบกวนอื่น ๆ จะถูกตัดสิทธิ์ฐานละเมิด ถ้าทำผิดกติกาโดยเจตนา ผู้ชี้ขาดจะรายงานกระทำนั้น ๆ
ต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขัน และต่อสโมสรต้นสังกัดของนักว่ายน้ำที่กระทำผิด

10.7 ไม่อนุญาตให้นักว่ายน้ำใช้หรือสวมใส่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจจะช่วยให้นักว่ายน้ำว่ายได้เร็วขึ้น ทำให้ตัวลอยขึ้น หรือทำให้มีความอดทนขึ้นในระหว่างการแข่งขัน
(ตัวอย่างเช่น ถุงมือที่มีพังพืดระหว่างนิ้ว แผ่นดึงมือ ตีนกบ ฯลฯ) ให้สวมใส่แว่นว่ายน้ำได้

10.8 ห้ามนักว่ายน้ำคนใดที่ไม่ได้เข้าแข่งขัน ลงไปอยู่ในน้ำ ขณะที่กำลังทำการแข่งขันยังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้ทำการแข่งขันในรายการที่เหลือของตนเองทั้งหมด

10.9 จะต้องมีนักว่ายน้ำจำนวน 4 คนในการว่ายทีมผลัดแต่ละผลัด

10.10 ในการแข่งขันว่ายผลัด นักว่ายน้ำของทีมใดเท้าหลุดจากตัดสิทธิ์ เว้นแต่นักว่ายน้ำกระทำผิด โดยการออกตัวก่อนนั้น จะกลับมาแตะขอบสระด้านจะถูกตัดสิทธิ์
เว้นแต่นักว่ายน้ำที่กระทำผิด โดยการออกตัวก่อนนั้น จะกลับมาแตะขอบสระที่ตนเองออกตัว แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องกลับขึ้นไปบนแท่นกระโดดเริ่มต้น


การจับเวลา (TIMING)
11.1 การใช้อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติ จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งเท่านั้น เวลาที่ได้มาจากอุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติ
จะถูกนำมาใช้พิจารณาตัดสินหาผู้ชนะ รวมทั้งการจัดลำดับและเวลาของแต่ละช่องว่ายด้วย ลำดับที่และเวลาที่ได้มาจากอุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติ จะนำมาใช้
ในการพิจารณาตัดสินเป็นหลักก่อนเหนือกว่าผู้จับเวลา ในรายการที่อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติเกิดขัดข้อง หรือมีการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอุปกรณ์จับเวลามีความผิดพลาด
หรืออุปกรณ์จับเวลาเกิดความคลาดเคลื่อนในการจับเวลาของนักว่ายน้ำ ก็จะนำผลเวลาที่บันทึกไว้จากผู้จับเวลามาพิจารณา ให้ถือว่าเป็นเวลาทางการ (กติกาข้อ 13.3)

11.2 เมื่อใช้อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติ การบันทึกผลจะใช้เป็น 1/100 วินาทีเท่านั้น หากมีการบันทึกเป็น 1/1000 วินาทีจะไม่นำเอาทศนิยมตัวที่ 3 มาบันทึก
หรือใช้ในการตัดสินเวลาหรือใช้ในการจัดลำดับที่ ในรายการที่มีเวลาเท่ากัน นักว่ายน้ำที่มีการบันทึกเวลา ที่เวลาเท่ากัน 1/100 วินาที จะถูกจัดให้ได้ลำดับที่เท่ากันส่วนเวลา
ที่แสดงบนกระดานอิเล็กทรอนิกส์จะแสดงเวลา 1/100 วินาทีเท่านั้น

11.3 อุปกรณ์จับเวลาจับเวลาต่าง ๆ จะต้องได้รับการรับรอง โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบนาฬิกา ดังนั้นการจับเวลาด้วยมือจะต้องใช้ผู้จับเวลา 3 คน
ที่ได้รับแต่งตั้งหรือมีการรับรองจากสมาชิกในกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้อง นาฬิกาจับเวลาทุกเรือนจะถูกสอบความเที่ยงตรงจนเป็นที่พอใจจากคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
การจับเวลาด้วยมือ เจ้าหน้าที่จะบันทึกเวลา 1/100 วินาทีเมื่อไรมีอุปกรณ์ใช้จับเวลาแบบอัตโนมัติ เวลาที่จับด้วยมืออย่างเป็นทางการ จะมีหลักการพิจารณาดังต่อไปนี้
11.3.1 ถ้านาฬิกาจับเวลาสองเรือนในสามเรือนเวลาเท่ากันและนาฬิกาเรือนที่สามเวลาแตกต่างออกไป จะใช้เวลาจากนาฬิกาสองเรือนที่เท่ากัน เป็นเวลาทางการ
11.3.2 กรณีที่มีนาฬิกาสองเรือนทำงาน จากนาฬิกาสามเรือน จะใช้ค่าเฉลี่ย เป็นเวลาทางการ

11.4 หากนักว่ายน้ำได้กระทำผิดกติกา ในระหว่างหรือกำลังจะทำการแข่งขัน เช่นนี้จะต้องบันทึกเหตุที่มีการตัดสิทธิ์ในใบรายงานผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ
แต่จะต้องไม่มีการบันทึกเวลา หรือลำดับที่หรือประกาศให้ทราบ

11.5 ในกรณีของทีมว่ายผลัดมีการกระทำผิดกติกา ตามกติกาจะต้องบันทึกเวลาแต่ละช่วงที่ว่ายของทีมที่ถูกตัดสิทธิ์ ในผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ

11.6 จะต้องบันทึกผลการว่ายในระยะทาง 50 เมตร และ 100 เมตร สำหรับว่ายน้ำคนแรกในการว่ายทีมผลัดและประกาศในผลการแข่งขันอย่างเป็นทางการ


สถิติโลก (WORLD RECORDS)
12.1 สำหรับการบันทึกสถิติในสระที่มีความยาว 50 เมตร จะจำแนกตามระยะทางและท่าว่าย ทั้งชายและหญิง ดังต่อไปนี้
- แบบฟรีสไตล์ 50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500 เมตร
- แบบกรรเชียง 50, 100 และ 200 เมตร
- แบบกบ 50, 100 และ 200 เมตร
- แบบผีเสื้อ 50, 100 และ 200 เมตร
- แบบเดี่ยวผสม 200 และ 400 เมตร
- แบบผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200 เมตร
- แบบผลัดผสม 4 x 100 เมตร 12.2

สำหรับการบันทึกสถิติโลกในสระที่มีความยาว 25 เมตร จะจำแนกตามระยะทางและท่าว่าย ทั้งชายและหญิง ดังต่อไปนี้
- แบบฟรีสไตล์ 50, 100, 200, 400, 800 และ 1,500 เมตร
- แบบกรรเชียง 50, 100 และ 200 เมตร
- แบบกบ 50, 100 และ 200 เมตร
- แบบผีเสื้อ 50, 100 และ 200 เมตร
- แบบเดี่ยวผสม 100, 200 และ 400 เมตร
- แบบผลัดฟรีสไตล์ 4 x 100 และ 4 x 200 เมตร
- แบบผลัดผสม 4 x 100 เมตร


ไมเคิล เฟลป์ส นักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติสหรัฐอเมริกา
ไมเคิล เฟลป์ส.jpg

12.3 สมาชิกในทีมว่ายผลัด จะต้องมีสัญชาติเดียวกัน

12.4 การทำลายสถิติทุกครั้งจะต้องทำในการแข่งขันหรือมีบุคคลใดขอจับเวลาโดย ไม่มีคู่แข่งขันก็ได้ โดยจัดในที่สาธารณะและประกาศต่อ
สาธารณชนให้ทราบโดยโฆษณาผ่านสื่อมวลชนไม่น้อยกว่าสามวันก่อนที่จะทำการจับเวลา ในรายการของบุคคลที่ขอจับเวลานั้นจะต้องได้รับความเห็นชอบโดยสมาชิกเสียก่อน
เช่นเดียวกันผลการทดสอบเวลาในระหว่างการแข่งขัน ต้องมีการโฆษณาผ่านสื่อมวลชนไม่น้อยกว่าสามวันก่อนที่จะมีการจับเวลาต่อไปหรือไม่ก็ตาม

12.5 ความยาวของช่องว่ายแต่ละช่องจะต้องได้รับการรับรองจากผู้ตรวจสอบหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการหรือมีการรับรองโดยสมาชิกของ
กลุ่มประเทศที่จัดการแข่งขัน

12.6 สถิติโลกจะยอมรับเวลาที่ได้จากรายการจับเวลาด้วยอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ หรือกึ่งอัตโนมัติ ในกรณีที่อุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติทำงานไม่ปกติ

12.7 เวลาที่จับได้ซึ่งเท่ากัน จาก 1/100 ของวินาที จะถูกพิจารณาให้มีสถิติเท่ากัน และนักว่ายน้ำจะได้รับเวลาที่เท่ากัน จะถือว่า "เป็นผู้ชนะร่วมกัน" เวลาของผู้ชนะจากการแข่งขัน
จะได้รับการยอมรับเป็นสถิติโลกในรายการที่มีสถิติเท่ากันหลายคนจากการแข่งขันนักว่ายน้ำแต่ละคนจะได้รับการพิจารณาเป็นผู้ชนะเช่นเดียวกัน

12.8 นักว่ายน้ำคนแรกในการว่ายผลัดสามารถร้องขอการทำสถิติโลกได้ โดยนักว่ายน้ำคนแรกในการว่ายทีมผลัดจะต้องว่ายในระยะทางของตนเองให้ครบสมบูรณ์
การบันทึกเวลาจะเป็นไปตามที่ร้องขอ เฉพาะในส่วนของนักว่ายน้ำคนแรกเท่านั้น การว่ายของนักว่ายน้ำคนแรก จะไม่เป็นโมฆะ หากภายหลังมีนักว่ายน้ำคนหนึ่งคนใดในทีมว่ายผลัด
ได้มีการฝ่าฝืนกติกา หลังจากที่นักว่ายน้ำคนแรกว่ายในระยะทางของตนเองครบสมบูรณ์

12.9 นักว่ายน้ำที่แข่งขันในประเภทบุคคลสามารถร้องขอการทำสถิติโลก ในระยะทางที่เขาจะว่าย ถ้าตัวนักว่ายน้ำหรือผู้ฝึกสอนหรือผู้จัดการทีม ได้มีการร้องขอต่อผู้ชี้ขาดเป็นกรณีพิเศษ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านักว่ายน้ำที่มีความสามารถจะทำเวลาได้ดีหรือถ้าสามารถทำเวลาได้ในขณะทำการแข่งขัน โดยใช้การจับเวลาด้วยอุปกรณ์จับเวลาแบบอัตโนมัติ
โดยที่นักว่ายน้ำจะต้องว่ายให้ครบระยะทางที่กำหนดอย่างสมบูรณ์ในรายการแข่งขันที่มีการร้องขอการบันทึกเวลาในระยะทางนั้น

12.10 การยื่นคำร้องสำหรับขอทำสถิติโลกจะต้องทำการกรอกแบบคำร้องอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ (ดูในตัวอย่าง) โดยเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบขององค์กรหรือ
คณะกรรมการจัดการแข่งขันและลงนามรับรองโดยผู้แทนที่รับการมอบอำนาจจากผู้แทนของประเทศของนักว่ายน้ำผู้นั้น การรับรองให้ปฏิบัติเป็นไปตามกฎข้อบังคับ
รวมทั้งการรับรองผลของการตรวจสารต้องห้ามที่เป็นลบ (กติกา DC 6.2) ใบคำร้องจะต้องส่งมายังเลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ ภายใน 14 วันหลังจากแข่งขัน

12.11 การยืนยันผลการทำสถิติโลก จะต้องรายงานผลทางโทรเลข โทรสาร หรือสำเนาผลการแข่งขันมายังเลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ ภายใน 7 วันหลังจากที่มีการทำสถิติเสร็จสิ้นแล้ว

12.12 ผู้แทนของประเทศที่นักว่ายน้ำมีการทำสถิติโลก จะต้องรายงาน โดยทำจดหมายถึงเลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ เกี่ยวกับรายละเอียดและวิธีการดำเนินการ
ถ้าจำเป็นเพื่อให้เกิดความมั่นใจ ให้เขียนใบคำร้องอย่างเป็นทางการส่งมาให้พิจารณาตามขั้นตอน โดยให้ผู้ที่มีอำนาจลงนามรับรอง

12.13 หลังจากที่ได้รับเอกสารอย่างเป็นทางการและได้มีการตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดในใบคำร้องจนเป็นที่พอใจ รวมถึงการรับทราบผลการตรวจสารต้องห้ามว่าเป็นลบ
เพื่อให้เกิดความถูกต้องชัดเจน เลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานานชาติจึงจะแถลงข่าวรับรองเป็นสถิติโลกใหม่ โดยตีพิมพ์โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ทราบและ
ออกใบประกาศนียบัตรรับรองสถิติให้กับนักว่ายน้ำผู้นั้น

12.14 ทำสถิติโลกระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (Olympic Games) การแข่งขันกีฬาโอลิม (World Championships) และการแข่งขันชิงถ้วยเกียรติยศระดับโลก (World Cup)
ทั้งหมดจะถูกรับรองโดยอัตโนมัติ

12.15 ถ้าขั้นตอนไม่เป็นไปตามกติกาข้อ 12.10 ผู้แทนของประเทศที่นักว่ายน้ำผู้นั้นสามารถร้องเรียนให้รับรองสถิติโลก และชี้แจงถึงสาเหตุที่ไม่ได้ปฏิบัติตามขั้นตอน
ภายหลังที่มีการตรวจสอบว่ามีเหตุผลที่เหมาะสม เลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติจะเป็นผู้มีอำนาจในการรับรองสถิตินั้น ถ้าพบว่าข้อร้องเรียนเป็นความจริง

12.16 ถ้าการขอรับรองสถิติโลกได้รับการยอมรับจากสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ ทางสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติจะออกประกาศนียบัตรซึ่งลงนามโดยประธานและ
เลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ โดยจะส่งไปยังเลขานุการสมาคมว่ายน้ำของประเทศของนักว่ายน้ำผู้นั้นเพื่อที่จะได้ทำการมอบให้นักว่ายน้ำผู้นั้น
เพื่อเป็นการแสดงความยินดีในความสามารถของเขา สำหรับประกาศนียบัตรในประเภททีมว่ายผลัด กำหนดแจกไว้เพียงห้าคน ในการทำสถิติโลกใบประกาศนียบัตรนี้
ให้ไว้เฉพาะแก่นักว่ายน้ำเท่านั้น

แบบฟอร์มการขอทำสถิติโลก
1. แบบท่าว่าย (ฟรีสไตล์ กรรเชียง ผีเสื้อ กบ หรือเดี่ยวผสม)
2. ระยะทางการแข่งขัน
3. ขนาดของสระว่ายน้ำ (1 เที่ยว) 25 เมตร 50 เมตร
4. ชื่อนักว่ายน้ำ และชื่อประเทศ
5. รายชื่อทีมว่ายผลัด ตามลำดับการแข่งขัน
1.......................................................
2.......................................................
3.......................................................
4.......................................................

6. วันที่ในการแข่งขัน
7. เวลาขณะที่แข่งขัน
8. บริษัทที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจับเวลาอัตโนมัติ
9. ชื่อเมืองที่จัดการแข่งขัน และชื่อสระว่ายน้ำที่ใช้ในการแข่งขัน
10.ชื่อขององค์กรที่รับรองในการแข่งขัน
11.ผู้ตรวจสอบในการวัดความยาวของสระว่ายน้ำ
12.สภาพของน้ำ ความใส อุณหภูมิ ในสระที่แข่งขัน
13.สระว่ายน้ำ กลางแจ้ง หรือในร่ม
14.มีตรวจสารต้องห้าม ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการแข่งขัน หรือไม่
- สถานที่ตรวจสารต้องห้าม .......................................
- ชื่อผู้ทำการตรวจ........................................................

15.ข้อคิดเห็นในการประชุมเกี่ยวกับข้อบังคับของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ
- ชื่อผู้ชี้ขาด....................................ลายมือชื่อผู้ชี้ขาด...............................
หลักฐานทั้งหมดจะต้องส่งไปยังเลขาธิการสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ เป็นไปตามกติกาข้อ 12
หมายเหตุ การตรวจสอบใบแบบฟอร์ม การขอทำสถิติโลกและใบรับรองผลการตรวจสารต้องห้ามที่เป็นลบ จะต้องมีคู่กัน ตามกติกาข้อ 12.10 และ DC 6.2


กระบวนการทำงานในกรณีใช้อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ (AUTOMATIC OFFICIATING PROCEDURE)
13.1 เมื่อมีการใช้อุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ (FR) ไม่ว่าการแข่งขันใด ๆ ก็ตาม การพิจารณาลำดับที่และเวลา และการกระโดดในการว่ายผลัด จะให้ความสำคัญของผลการแข่งขัน
ที่ได้จากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติก่อนผลของผู้จับเวลา

13.2 เมื่ออุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติเกิดขัดข้องในการบันทึกลำดับที่ และ/หรือ เวลาของนักว่ายน้ำหนึ่งคนหรือมากกว่า ให้กระทำดังต่อไปนี้
13.2.1 ให้นำผลบันทึกจากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับเวลาว่ายและลำดับที่ในการว่ายเท่าที่มีทั้งหมดมาพิจารณา
13.2.2 ให้นำผลจากผู้จับเวลา และผลลำดับที่จากกรรมการเส้นชัยทั้งหมดมาพิจารณา
13.2.3 ลำดับการพิจารณาอย่างเป็นทางการเท่าที่จะทำได้ ให้เป็นไปตามนี้
13.2.3.1 ให้คงเวลาและลำดับที่ของนักว่ายน้ำที่สามารถจับได้จากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับนักว่ายน้ำคนอื่น ๆ ที่มีเวลาและลำดับที่ได้จากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ
ในส่วนของการแข่งขัน
13.2.3.2 นักว่ายน้ำที่ไม่มีลำดับที่จากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ แต่มีเวลาจากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ จะพิจารณาจากข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้อง โดยมีการเปรียบเทียบเวลาจากอุปกรณ์จับเวลา
อัตโนมัติของเขากับเวลาของนักว่ายน้ำคนอื่น ๆ จากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ 13.2.3.3 นักว่ายน้ำที่ไม่มีทั้งลำดับที่และเวลาจากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ
จะพิจารณาจากข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันของเขา โดยพิจารณาจากบันทึกเวลาของอุปกรณ์จับเวลากึ่งอัตโนมัติ หรือจากนาฬิกาจับเวลาระบบตัวเลข 3 เรือน

13.3 เวลาอย่างเป็นทางการ จะพิจารณาตามลำดับดังต่อไปนี้
13.3.1 เวลาที่ได้จากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติ ให้ถือว่าเวลาที่ได้นั้น เป็นเวลาอย่างเป็นทางการของนักว่ายน้ำทุกคน
13.3.2 กรณีที่ไม่มีเวลาจากอุปกรณ์จับเวลาอัตโนมัติจะใช้เวลาจากนาฬิกาจับเวลาระบบตัวเลข 3 เรือน หรือใช้เวลาจากอุปกรณ์จับเวลากึ่งอัตโนมัติเป็นเวลาอย่างเป็นทางการ
ของนักว่ายน้ำทุกคน

13.4 การพิจารณาลำดับที่ของการแข่งขันในรอบคัดเลือกที่มีหลายชุดเสร็จสิ้นแล้วนำผลมารวมกัน ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
13.4.1 นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันของนักว่ายน้ำทุกคนพิจารณาโดยการนำเวลาอย่างเป็นทางการมาเปรียบเทียบกัน
13.4.2 ถ้านักว่ายน้ำมีเวลาอย่างเป็นทางการเท่ากันหนึ่งคนหรือมากกว่า นักว่ายน้ำเหล่านี้จะมีเวลาและลำดับที่เท่ากันเมื่อเสร็จสิ้นในรายการแข่งขันนั้น ๆ
กติกาการแข่งขันว่ายน้ำตามกลุ่มอายุ สมาพันธ์ต่าง ๆ อาจจะมีกติกาของตนเองได้ ในการแข่งขันว่ายน้ำตามกลุ่มอายุ โดยใช้กติกาที่เกี่ยวกับเทคนิคของสหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ เป็นหลัก
รูปแบบสนามกีฬาว่ายน้ำ ประกอบด้วย สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน ๕๐ เมตร จำนวน ๘ ลู่ และสระกระโดด ขนาด ๒๑ x ๒๑ x ๕ เมตร พร้อมสปริงบอร์ด กระโดดน้ำ ๑ เมตร, ๓ เมตร
และแพลทฟอร์ม ๑๐ เมตร มีอัฒจันทร์จุผู้ชมประมาณ ๓,๐๐๐ ที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีสระฝึกซ้อม ขนาด ๕๐ เมตร จำนวน ๘ ลู่ อุปกรณ์กีฬาว่ายน้ำ ชุดว่ายน้ำผู้หญิง แบบขาสั้น แบบกระโปง
แบบขาเว้า ชุดว่ายน้ำชาย แบบเต็มตัว แบบครึ่งตัง แบบขาสั้น หมวกว่ายน้ำ แว่นตาว่ายน้ำ แผ่นโฟมว่ายน้ำ


รูปแบบสนามกีฬาว่ายน้ำ

ประกอบด้วย
สระว่ายน้ำขนาดมาตรฐาน ๕๐ เมตร จำนวน ๘ ลู่ และสระกระโดด ขนาด ๒๑ x ๒๑ x ๕ เมตร พร้อมสปริงบอร์ด กระโดดน้ำ ๑ เมตร, ๓ เมตร และแพลทฟอร์ม ๑๐ เมตร
มีอัฒจันทร์จุผู้ชมประมาณ ๓,๐๐๐ ที่นั่ง นอกจากนี้ยังมีสระฝึกซ้อม ขนาด ๕๐ เมตร จำนวน ๘ ลู่
สนามกีฬาว่ายน้ำ.jpg
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ตอบกลับโพส

ย้อนกลับไปยัง