สนาม ฟุตบอล

ในการเเข่งฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก ในรอบคัดเลือก เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสมาพันธ์ย่อยทั้ง 6 สมาพันธ์ของฟีฟ่า เพื่อตัดสินหา 31 จาก 32 ทีมที่จะลงเล่นใน ฟุตบอลโลก  ร่วมกับกาตาร์ซึ่งผ่านการเข้ารอบโดยอัตโนมัติในฐานะเจ้าภาพ โดยมีทีมจากชาติสมาชิกฟีฟ่าทั้งหมด 206 ทีมลงแข่งขัน เป็นการเเข่งขันฟุตบอลที่รายงานใหญ่ที่สุดของการเเข่งขันฟุตบอล ซึ่งการเเข่งเเต่ละ 4 ปีก็จะมีเจ้าภาพของฟุตบอลบอลโลกในปีนั่น ซึ่งในปีนี้เป็นฟุตบอลโลกปี 2022 ซึ่งประเทศที่่เป็นเจ้าภาพปีนี้นั้นก็คือ ประเทศกาตาร์ ประกาตาร์ได้สร้างสนามฟุตบอลที่สวยอลังการเเละเป็น  สนามฟุตบอลหลัก ที่จะใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศกาตาร์รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ จะทั้งหมด 8 สนาม เเละนักฟุตเเต่ละคนมีตำเเหน่งผู้เล่นมีทั้งหมด 11 คน ผู้รักษาประตู กองหลัง กองกลางเเละกองหน้า เราไปดูกันว่ามีสนามกีฬาฟุตบอลปี 2022 มีกี่สนาม

 

สนามที่ใช่เเข่งฟุตบอลโลกมีทั้งหมด 8 สนาม

 

  1. สนามกีฬาลูเซล

    สนามกีฬาลูเซล
    สนามกีฬาลูเซล


    ความจุ: 80,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 10 เกม รวมพิธีเปิดและรอบชิงชนะเลิศ

         สนามลูเซล ตั้งอยู่ในเมืองลูเซล ห่างจาก 'โดฮา' เมืองหลวงของกาตาร์ประมาณ 20 กิโลเมตร โดยเป็นสนามหลักของศึกฟุตบอลโลกในครั้งนี้ที่เจ้าภาพเตรียมไว้นำเสนอแฟนบอลทั่วโลก ทั้งเป็นสนามสำหรับพิธีเปิดการแข่งขัน และใช้แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ตัวสนามถูกออกแบบโดย Foster + Partner บริษัทสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมชื่อดังในอังกฤษ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากแสงและเงาที่เกิดจากตะเกียงไฟสไตล์อาหรับ เมื่อมองจากด้านบนจะเห็นทั้งส่วนโค้งและลาดเอียง ที่ทำให้เกิดรูปทรงหม้อต้มขนาดใหญ่

         ทางผู้จัดการแข่งขันบอกว่าจะช่วยสร้างบรรยากาศการแข่งขันที่ยอดเยี่ยม อย่างไรก็ตามเมื่อเสร็จศึกฟุตบอลโลก ที่นั่งส่วนใหญ่จะถูกถอดออกไปบริจาคให้กับประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากเมืองลูเซลไม่ได้ต้องการใช้สนามฟุตบอล



  2.  อัล จานูบ สเตเดี้ยม

     อัล จานูบ สเตเดี้ยม
    อัล จานูบ สเตเดี้ยม



    ความจุ: 40,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 7 เกม

         สนามอัล จานอบ หรือชื่อเดิม สนามอัลวาก์ราห์ (Al Wakrah) ได้แรงบันดาลใจจากการล่องเรือใบที่เรียกว่า Dhow ตามแนวชายฝั่งที่มีมายาวนานในกาตาร์ ออกแบบโดย เดม ซาฮา ฮาดิด (Dame Zaha Hadid) สถาปนิกชาวอังกฤษ-อิรัก อย่างไรก็ตามหลังภาพร่างของสนามอัล จานอบ ถูกเผยแพร่ออกมาครั้งแรกกลับถูกวิจารณ์ว่าดูเหมือนอวัยวะเพศหญิงมากกว่าเรือใบ

         ตัวสนามถูกออกแบบให้มีความทันสมัยโดยมีหลังคาเปิด-ปิด พร้อมระบบทำความเย็น เพื่อให้สามารถใช้จัดการแข่งขันได้ตลอดทั้งปี อย่างไรก็ตามหลังจบทัวร์นาเมนต์ ที่นั่งในสนามจำนวน 2 หมื่นที่นั่ง จะถูกนำไปบริจาคเช่นเดียวกันกับสนามลูเซล




  3. อัล ไบท์ สเตเดี้ยม


    อัล ไบท์ สเตเดี้ยม
    อัล ไบท์ สเตเดี้ยม



    ความจุ: 60,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 8 เกม

         สนามอัล บายต์ ตั้งอยู่ในเมืองอัล กห์อร์ (Al Khor) ห่างจากเมืองโดฮาไปทางเหนือประมาณ 50 กิโลเมตร โดยถูกใช้จัดการแข่งขันตั้งแต่รอบแรกไปจนถึงรอบรองชนะเลิศ ออกแบบโดย ดาร์ อัล-ฮานดาซาห์ (Dar Al-Handasah) ที่ต้องการให้ตัวสนามแสดงถึงการต้อนรับอย่างมิตรไมตรี ด้วยโครงสร้างสนามที่ดูเหมือนเต็นต์แบบดั้งเดิมของอาหรับที่เรียกว่า บาย อัล ซา’อาร์ (Bayt al Sha’ar)

         สนามอัล บายต์ มาพร้อมหลังคาเปิด-ปิด เพื่อรับมือกับอุณหภูมิที่อาจสูงถึง 30 องศาในเดือนพฤศจิกายน และเนื่องจากเป็นสนามที่อยู่ไกลจากเมืองโดฮามากที่สุด ทางเจ้าภาพจึงเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งโรงแรมและแหล่งชอปปิ้งไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่ไม่ต้องการเดินทางไปยังเมืองหลวงของกาตาร์


  4. สนามกีฬา อาเหม็ด บิน อาลี


    สนามกีฬา อาเหม็ด บิน อาลี
    สนามกีฬา อาเหม็ด บิน อาลี


    ความจุ: 40,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 7 เกม

         สนามอาห์มัด บิน อาลี ตั้งอยู่ในเมืองอัล ราย์ยาน (Al Rayyan) ถูกสร้างขึ้นใหม่บนสนามแห่งเดิม โดยเป็นสังเวียนฟาดแข้งไปจนถึงรอบ 16 ทีมสุดท้าย ได้รับการออกแบบเพื่อสะท้อนถึงวัฒนธรรมของประเทศกาตาร์ ด้านหน้าของสนามมีลวดลายอันซับซ้อนเพื่อแสดงถึงเรื่องราวของประเทศ ตั้งแต่สัตว์ป่าพื้นเมืองไปจนถึงประวัติศาสตร์ด้านการค้าขาย และเนื่องจากสนามตั้งอยู่ใกล้ทะเลทราย จึงมีการตกแต่งพื้นที่ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว และมีร้านค้าขายของที่ระลึกบริเวณนอกสนาม



  5. สนามกีฬาเอดูเคชัน ซิตี้



    สนามกีฬาเอดูเคชัน ซิตี้
    สนามกีฬาเอดูเคชัน ซิตี้


    ความจุ: 40,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 8 เกม

         สนามเอดูเคชัน ซิตี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของกาตาร์ ฟาวเดชัน อยู่ห่างจากศูนย์กลางเมืองโดฮาเพียง 6 ไมล์ สนามถูกออกแบบให้มีรูปทรงเหมือนเพชร โดยจะมีความระยิบระยับทั้งในตอนกลางวันและตอนกลางคืน จึงมีอีกชื่อเรียกว่า 'เพชรแห่งทะเลทราย'

         สนามแห่งนี้เคยถูกใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้งรายการฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2021 นัดชิงชนะเลิศ ระหว่างบาเยิร์น มิวนิค และ ติเกรส มาแล้ว โดยหลังจากจบศึกฟุตบอลโลก 2022 สนามเอดูเคชัน ซิตี้ จะถูกใช้เป็นสนามเหย้าสำหรับทีมฟุตบอลหญิงกาตาร์ในการแข่งขันระดับประเทศ 



  6.  อัล ทูมามา สเตเดี้ยม


     อัล ทูมามา สเตเดี้ยม
    อัล ทูมามา สเตเดี้ยม



    ความจุ: 40,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 8 เกม

         สนามฟุตบอลแห่งนี้ถูกออกแบบโดย Arab Engineering Bureau โดยได้แรงบันดาลใจจาก 'Gahfiya' หมวกอาหรับสำหรับผู้ชาย และเป็นสนามแข่งขันฟุตบอลโลกแห่งแรกที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวกาตาร์

         ไม่เพียงแต่จะถูกใช้เป็นสังเวียนฟาดแข้ง บริเวณภายในพื้นที่ของสนามยังมีโรงแรมและมัสยิดไว้บริการนักท่องเที่ยวด้วย อย่างไรก็ตามหลังการแข่งขันจบลง เก้าอี้ในสนามอัล ธูมามา จะถูกถอดออกจำนวนครึ่งหนึ่งเพื่อนำไปบริจาคให้กับประเทศกำลังพัฒนา

     

  7. สนามกีฬา 974

    สนามกีฬา 974
    สนามกีฬา 974


    ความจุ: 40,000 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 7 เกม

         สนามแห่งนี้ถูกออกแบบโดย FIA Fenwick Iribarren Architecs สำหรับศึกฟุตบอลโลก 2022 เพียงครั้งเดียว ด้วยการใช้ตู้คอนเทนเนอร์จำนวน 974 ตู้ รวมทั้งวัสดุอื่นๆ ที่สามารถรื้อถอนได้ง่ายหลังจบการแข่งขัน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสนาม

         แม้จะเป็นสนามฟุตบอลชั่วคราว แต่ก็มีจุดเด่นในด้านความสวยงามของพื้นที่โดยรอบ เพราะภายนอกของสนามสามารถมองเห็น Doha Corniche และ West Bay ซึ่งเป็นพื้นที่ริมชายฝั่ง




  8. สนามกีฬานานาชาติคาลิฟา

    สนามกีฬานานาชาติคาลิฟา
    สนามกีฬานานาชาติคาลิฟา

    ความจุ: 45,416 ที่นั่ง

    จำนวนเกมที่ใช้: 8 เกม

         สนามฟุตบอลเพียงแห่งเดียวที่ถูกสร้างขึ้นก่อนจะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 โดยเป็นสนามกีฬาแห่งชาติของกาตาร์ที่สร้างเมื่อปี 1976 และเคยผ่านการจัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติมาแล้วหลายรายการทั้งเอเชียน เกมส์, กัล์ฟ คัพ, เอเอฟซี เอเชียนคัพ รวมทั้งการแข่งขันกรีฑา ไอเอเอเอฟ เวิลด์ แอธเลติก แชมเปียนชิพ 2019

         นอกจากนี้ ยังเป็นสนามนัดกระชับมิตรระหว่างอังกฤษกับบราซิลเมื่อปี 2009 รวมถึง ลิเวอร์พูล ที่เคยมาคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลกเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ส่วนรายการล่าสุดที่ใช้สนามแห่งนี้คือ ฟุตบอลอีมีร์ คัพ (Emir Cup) เมื่อปีท

 

 

 

 

 

สรุปได้ว่าเราสามารถรับรู้เกี่ยวกับสนามฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือกที่ใช้เเข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ว่าทั้งหมด 8 สนาม มีการพูดถึงรายละเอียดการสร้างสนามฟุตบอลโลก 2022 ว่าใครเป็นคนสร้างมีสนามทั้งหมด 8 สนามว่ามีความจุของผู้เข้าชมการเเข่งเเละมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนที่ใช้ทั้งหมดใช้เเข่งกี่เกมของสนามฟุตบอลโลกปี 2022 ตำเเหน่งกีฬาฟุตบอล  ตัวเเทนทีมชาติพยายามเป็นเเชมป์รายงานนี้ข้อมูลที่นำเสนอหวังว่าจะเป็นข้อมูลเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่สนใจหากต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน Google Chorme เเละ Internet Explore

 

อ้างอิง

ส่อง 8 สังเวียนฟาดเเข้งศึกฟุตบอลโลก 2022 สนามฟุตบอลที่เเข่งขันในฟุตบอลโลกปี 2022. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://www.gqthailand.com/lifestyle/article/qatar-2022-guide-world-cups-eight-stadiums

สนามฟุตบอลที่เเข่งขันในฟุตบอลโลกปี 2022.สนามฟุตบอลที่เเข่งขันในฟุตบอลโลกปี 2022.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://thestandard.co/world-cup-stadium/

อลังการดาวล้านดวง!! ส่อง 8 สนามฟาดแข้ง.ศึกฟุตบอลโลก กาตาร์ 2022 สนามฟุตบอลที่เเข่งขันในฟุตบอลโลกปี 2022. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://sport.trueid.net/detail/lE9x2x85W8eo

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 712,753 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 808,479 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 825,329 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 959,087 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 905,369 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,004,992 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 589,106 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 649,825 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม