การละเล่น
การละเล่น

 

ความสำคัญ คุณค่า และประโยชน์ของ การละเล่นพื้นบ้านไทย


     การละเล่นพื้นบ้าน เป็นการเล่นที่สืบทอดกันมาแต่โบราณโดยเฉพาะเด็ก ๆ จะนิยมเล่นกันมาก เด็กสมัยก่อนจะเรียนรู้การละเล่นโดยไม่มีการเรียนการสอน การละเล่นพื้นบ้านไม่ว่าของภาคใดล้วนเป็นประโยชน์ เพราะการละเล่นทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว ได้ออกกำลังกาย เกิดความคล่องแคล่วว่องไว ฝึกความอดทน ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี ฝึกการสังเกต มีปฏิภาณไหวพริบ สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ พร้อมทั้งเกิดความสนุกสนาน การละเล่นจึงถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของเด็ก ในปัจจุบันโรงเรียนควรที่จะนำเอาการละเล่นพื้นบ้านมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นมาเชื่อมโยงสู่การเรียนรู้ โดยเฉพาะการละเล่นพื้นบ้านการละเล่นพื้นบ้านควรให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และอนุรักษ์ไว้ซึ่งการละเล่นพื้นบ้านเป็นกิจกรรมรู้จักความยุติธรรม รู้จักการให้การรับและช่วยพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้เจริญเติบโต ผ่อนคลายความตึงเครียด

 

     ผอบ โปษะกฤษณะ. (๒๕๒๒). ได้สรุปคุณค่าของการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยซึ่งแบ่งเป็น คุณค่าทางวัฒนธรรม ด้านสังคม และด้านภาษา ดังนี้
ด้านวัฒนธรรม
     การละเล่นของเด็กไทย มีลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของเด็กปรากฏอย่างชัดเจน คือ
     1. เสริมสร้างพลานามัยให้สมบูรณ์
     2. เสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ให้เจริญ เช่น ทักษะในการใช้สายตาสังเกต ทักษะในการเคลื่อนไหวอวัยวะ
     3. ส่งเสริมความเจริญทางสติปัญญา เช่น ฝึกให้ใช้ความคิด ฝึกให้มีไหวพริบ ฝึกการคาดคะเนด้านสังคม
     3.1 การละเล่นของเด็กไทยสะท้อนภาพของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ เช่น สภาพความเป็นอยู่ อาชีพ เป็นต้น
     3.2 การละเล่นช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพและทางจิตใจ ฝึกให้เป็นผู้ที่มีระบบระเบียบวินัย และความรับผิดชอบ มีความสามัคคีในหมู่คณะ เมื่อเติบโตขึ้นเด็ก ๆ เหล่านี้ก็จะมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเป็นกำลังของชาติอันเป็นคุณค่าทางสังคมอันพึงปรารถนา
ด้านภาษา
     บทร้องประกอบการร้องของเด็ก มีคุณค่าทางภาษาทั้งในแง่วรรณศิลป์และในแง่การสื่อสาร ในแง่วรรณศิลป์นั้น บทร้องมีรูปแบบไม่จำกัดตายตัว มีการใช้คำเป็นวรรคสั้น ๆ และมีเสียงสัมผัสคล้องจอง ทำให้เกิดความไพเราะทำนองที่ใช้ร้องเป็นทำนองง่าย ๆ มีจังหวะเข้ากับวิธีเล่น มีการใช้คำเลียนเสียงต่าง ๆ และมีการใช้สัญลักษณ์ในเนื้อร้อง แฝงความหมายที่น่าสนใจ ในแง่ของการสื่อสารนับว่าบทร้องประกอบการละเล่น ได้มีส่วนช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทางภาษาโดยไม่รู้ตัว เพราะมีทั้งคำคล้องจอง คำถาม คำตอบ และคำพูดที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ช่วยให้เด็กได้รับความสนุกสนานในการใช้ภาษาสื่อสารไปด้วย ช่วยพัฒนาการทางด้านความคิดและการสังเกตได้เป็นอย่างดี

 

     สาร สาระทัศนานันท์. (๒๕๒๙). ได้กล่าวถึง ความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้านไว้ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ เกิดมาย่อมมีการเคลื่อนไหว จะอยู่นิ่งไม่ได้ยิ่งเป็นเด็กแล้วต้องมีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ทั้งนี้เพื่อบริหารร่างกายให้เจริญเติบโต การเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดจนผู้สูงอายุ และมนุษย์ผู้มีนิสัยชอบสังคม คือ ชอบรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม

 

     หรรษา นิลวิเชียร. (๒๕๓๕). ได้กล่าวว่า การเล่นเป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็ก และมีคุณค่าต่อการพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การเล่นทำให้เด็กเรียนรู้ การรู้จักดัดแปลง คืดยืดหยุ่น การนำเชือกมาผูกแทนชิงชา ปีนเล่นบนก้อนหินแทนการปีนเล่นบนเครื่องเล่นในโรงยิม ใช้ม้าก้านกล้วยสมมุติเป็นม้า การเล่นจะช่วยให้เด็กฝึกจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์เด็กจะสร้างภาพพจน์ และเรื่องราวต่าง ๆ แม้แต่เรื่องในใจของตนเอง เด็กจะฝึกเลียนเสียงธรรมชาติ เสียงสัตว์ เด็กจะศึกษาหาวิชาใหม่ ๆ จากการเล่นวัสดุ สิ่งของ จะเห็นได้ว่าการเล่นมีความสำคัญมากต่อชีวิตในวัยเด็ก การเล่นชนิดต่าง ๆ จะส่งผลให้เด็กมีความเจริญงอกงามและพัฒนาการครบทุกด้าน

 

     ทิพวรรณ คันธา. (๒๕๔๐). ได้กล่าวถึง คุณค่าของการละเล่นพื้นบ้าน ว่าเป็นการเล่นที่สามารถส่งเสริมกล่าวเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เพราะผู้เล่นได้เคลื่อนไหว ได้ออกกำลังกาย รู้จักเคารพกติกาในการเล่น รู้จักการรอคอย มีความอดทน รู้แพ้รู้ชนะและให้อภัย ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ตลอดจนผู้เล่นได้รับความสนุกสนาน อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่

การละเล่นพื้นบ้าน
การละเล่นพื้นบ้าน

 

     กรมวิชาการ. (๒๕๔๐). กล่าวว่า การเล่นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตเด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลองสร้างสรรค์ความคิดแก้ปัญหา และค้นพบด้วยตนเอง การเล่นช่วยพัฒนาร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เป็นทางที่เด็กจะสร้างประสบการณ์เรียนรู้สิ่งแวดล้อมกับธรรมชาติรอบตัว "การเล่น" เป็นหัวใจสำคัญของการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

 

     สุชา จันทร์เอม. (๒๕๔๑). ได้กล่าวว่า การเล่นของเด็กเน้นการฝึกมารยาทของเด็กได้ดียิ่ง เด็กจะรู้จักคิด รู้จักกระทำที่ถูกจากการเล่น รู้จักความยุติธรรม รู้จักการรับการให้ และช่วยพัฒนาให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ให้เจริญเติบโต ผ่อนคลายความตึงเครียด ในชีวิตประจำวันของเด็ก

 

     สำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ. (๒๕๓๓). ได้ให้ความสำคัญของการละเล่น ไว้ว่าการละเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาและการเรียนรู้ของเด็ก

 

     พัชรี สวนแก้ว. (๒๕๓๖). ได้กล่าวว่า การเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญมากต่อเด็ก เพราะนอกจากจะเป็นธรรมชาติของเด็กแล้ว การเล่นยังเป็นสิ่งที่นำไปสู่การเรียนรู้จักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้แก่เด็ก นอกจากนี้การเล่นยังช่วยให้เด็กได้พัฒนาไปสู่วิถีทางการดำเนินชีวิตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ประสบการณ์ที่เด็กได้จากการเล่นจะนำไปสู่การรับผิดชอบต่อตนเอง ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 

     สรวงธร นาวาผล. (๒๕๔๒). กล่าวว่า การเล่นสำหรับเด็กมีผลต่อการกระตุ้นการเรียนรู้พัฒนาการของสมอง เสริมสร้างความฉลาด พัฒนาสติปัญญา พัฒนาอารมณ์ ความคิดสร้างสรรค์การสื่อสาร การเล่นช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยของเด็กได้เรียนทักษะต่าง ๆ จากการเล่น เด็กได้เรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างจากการเล่น

 

     กุลยา ตันติผลาชีวะ. (๒๕๔๒). ได้กล่าวไว้ว่า การเล่นซึ่งมีความสำคัญกับเด็กมาก ไม่เพียงแต่สร้างความสนุกเพลิดเพลินให้กับเด็กเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก การเล่นจะเป็นการเรียนรู้ของเด็กมากขึ้น ถ้าครูจัดเตรียมการเล่นอย่างมีจุดประสงค์ และพร้อมที่จะให้การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สนุก การเล่นของเด็ก การเล่นเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตเด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต ได้มีโอกาสทดลอง สร้างสรรค์ความคิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง การเล่นมีอิทธิพลและมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ช่วยพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

 

     จะเห็นได้ว่า การละเล่นพื้นบ้านไทยมีคุณค่า มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งโดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติ เพื่อที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพในอนาคต การละเล่นพื้นบ้านไทยนี้เป็นสิ่งที่บอกถึงเอกลักษณ์ความเป็นไทย การปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้เล่นการละเล่นพื้นบ้านไทย ยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของไทยให้สืบไปด้วย

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ศึกษาการละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ ได้ที่ : บทความทั่วไป

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 710,865 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 806,257 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 821,720 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 955,249 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 903,313 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 999,945 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 585,346 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 645,916 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม