แสดงกลุ่มเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณข้อมือแสดงกลุ่มเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณข้อมือ
แสดงกลุ่มเส้นเอ็นและเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

 

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ


     เกิดจากการที่เส้นประสาทแขนถูกขนทับขณะที่ลอดผ่านที่ยึดบริเวณด้านหน้าข้อมือ เนื่องจากมีการหนาตัวขึ้นของเอ็นยึดดังกล่าว ทำให้ไปกดรัดเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและรับความรู้สึกที่ฝ่ามือ ส่งผลให้มีอาการบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง อาจมีการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือและมีอาการปวดร่วมด้วย ทำให้หยิบจับสิ่งของไม่ถนัด

 

สาเหตุ
     เกิดจากการบวมของเอ็นพังผืดที่โอบล้อมยึดกระชับเส้นเอ็นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้เส้นประสาทถูกกดรัดได้
     พบได้บ่อยใน{--mlinkarticle=424--ผู้สูงอายุและผู้ที่ใช้มือทำงานในลักษณะกระดกมือ หรือกำนิ้วมือตลอดเวลา เช่น งานเย็บปักถักร้อย งานอุตสาหกรรม งานครัว หั่นผัก สับมือ งานทำความสะอาด การเขียนหนังสือมาก ๆ หรือการนอนทับมือเป็นเวลานาน เป็นต้น

 

อาการ
     มีอาการชา คล้ายเป็นเหน็บบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง อาการอาจเกิดได้ทุกช่วงเวลา
     - ถ้ามีอาการในตอนกลางคืน สาเหตุอาจมาจากการนอนงอข้อมือหรือนอนทับข้อมือ
     - ถ้ามีอาการในตอนกลางวัน อาจจะเกี่ยวกับการใช้มือทำงานในวันนั้น ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าการสะบัดมือจะช่วยให้อาการลดลง
     นอกจากนี้ ยังมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อในการกำมือ ทำให้ของหลุดจากมือบ่อย ๆ หยิบจับของไม่ถนัด โดยเฉพาะสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ เช่น การติดกระดุม หากไม่ได้รับการรักษาหรือมีอาการรุนแรงมากขึ้น จะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณฝ่ามือด้านนิ้วหัวแม่มือ ฝ่อลีบเล็กลงและการรับความรู้สึกร้อน - เย็น ลดลง

 

การรักษา
1. การใช้อุปกรณ์พยุงข้อมือหรือผ้าเทปกาว เพื่อช่วยลดแรงกดที่ข้อมือ ลดการอักเสบ
2. การรับประทานยา เพื่อลดการปวด บวม อักเสบ
3. การฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ เพื่อลดการปวดบวม อักเสบ
4. การออกกำลังกาย และการรักษาทางกายภาพบำบัด เช่น การประคบร้อน การนวดบริเวณพังผืดที่กดรัดเส้นประสาท การยึดเส้นประสาท การรักษาด้วยคลื่นความถี่เหนือเสียง (Ultrasound) การบริหารเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแขนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
5. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงท่าทาง หรือกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น
6. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจรับการรักษาด้วยการผ่าตัด

 

การออกกำลังกายเพื่อรักษาและป้องกัน

ท่าที่ 1 หงายมือดันนิ้ว
ท่าที่ 1 หงายมือดันนิ้ว

     ยกแขนสูงขึ้นจนเสมอไหล่ เหยียดแขนหงายมือตรงไปด้านหน้า กระดกข้อมือและนิ้วมือลง มืออีกข้างจับบริเวณฝ่ามือ ดันข้อมือเข้าหาลำตัวให้รู้สึกตึงบริเวณกล้ามเนื้อแขนด้านหน้า นิ่งค้างไว้ 5 - 10 วินาที ทำซ้ำ 5 - 10 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 2 กำมือบีบบอล
ท่าที่ 2 กำมือบีบบอล

     มือถือ{--mlinkarticle=246--ลูกเทนนิสไว้ ค่อย ๆ ออกแรงบีบให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แล้วคลายมือออก ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

ท่าที่ 3 กระดกข้อมือขึ้นลง
ท่าที่ 3 กระดกข้อมือขึ้นลง


     มือถือขวดน้ำหรือวัตถุที่มีน้ำหนักพอเหมาะในลักษณะหงายมือขึ้น จากนั้นค่อย ๆ กระดกข้อมือขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ นิ่งค้างไว้ 2 วินาที แล้วค่อย ๆ ปล่อยข้อมือลงให้สุด ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับให้แขนอยู่ในท่าคว่ำมือ ออกแรงกระดกข้อมือขึ้นและลง ทำซ้ำ 10 - 15 ครั้ง/เซต สลับทำอีกข้างหนึ่ง วันละ 2 - 3 เซต

 

 

อ้างอิงจาก : กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อ่าน : บทความสุขภาพ เพิ่มเติม

 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 716,352 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 814,620 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 833,379 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 969,604 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 912,738 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 1,012,501 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 591,736 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 655,208 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม