วิธีป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ตอนที่ 3
วิธีป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ตอนที่ 3

 

สำหรับการป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ คือเราต้องค่อยๆ ออกกำลังกายทีละน้อยๆ แล้วสังเกตตัวเองว่ามีร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ทั้งในขณะที่กำลังเล่นกีฬาอยู่ ถ้าพบความผิดปกติเกิดขึ้น เราไม่ควรฝืนเล่นกีฬาต่อไปหรือหยุดเล่นกีฬาไปเลย เราต้องสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอีกด้วย เราสามารถป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย โดยมีอยู่ 9 ข้อ ดังต่อไปนี้ 

 

5. การฝึกซ้อม 

เวลาที่ใช้สำหรับการฝึกซ้อมมีความสำคัญมาก ต้องหมั่นฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมมากจนเกินไปในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง การซ้อมหักโหมมากเกินไปจะมีผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก เพราะในช่วงระยะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโต กระดูกและกล้ามเนื้ออยู่ในระยะพัฒนา การหักโหมมากเกินไปก่อให้เกิดปัญหาการบาดเจ็บเรื้อรัง เราอาจจะสังเกตเป็นพิเศษต่อการเปลี่ยนแปลง คือ 

1. อาการทางจิต เช่น ไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดและเบื่อหน่ายในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา เป็นต้น 

2. อาการทางกาย เช่น อาการเมื่อยล้าทางกล้ามเนื้อเร็วกว่าปกติไป จนถึงขั้นมีอาการเจ็บปวดเฉพาะที่อย่างชัดเจน 

การเล่นกีฬาที่ต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างมาก การเล่นกีฬาช่วงในระยะเวลาสั้นๆ กล้ามเนื้อจะเกร็งหรือหดอย่างแรง และมีการดึงผิวกระดูกซึ่งเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกแตกหลุดจากบริเวณที่เกาะ ส่งผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกหยุดการเจริญเติบโตและอาจพิการผิดรูปได้ การเล่นกีฬาที่ต้องใช้พละกำลังในช่วงสั้นๆ นั้นไม่เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และการกีฬาประเภทนี้ควรจะฝึกเล่นจากเบาไปหาหนัก และไม่ควรฝึกอย่างหนัก การเล่นกีฬาที่หลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจะต้องมีการฝึกความอดทนและฝึกพละกำลัง โดยเริ่มฝึกจากเบาไปหาหนักทุกครั้ง 

สนามแข่งขันและสภาพแวดล้อมก็มีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บได้ สนามแข่งขันที่ถูกอัดแน่นและแข็งกว่าปกติเป็นสาเหตุทำให้นักกีฬาประเภทวิ่งเกิดอาการเจ็บปวดบริเวณข้อเท้า ส้นเท้า หรือเจ็บพังผืดฝ่าเท้าได้ง่าย สนามแข่งขันพื้นใยสังเคราะห์มักจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าสนามหญ้า เพราะใยสังเคราะห์สามารถดูดซับรับความร้อนเอาไว้ สภาพอากาศร้อน นักกีฬาที่เล่นกีฬาบนสนามแข่งขันพื้นใยสังเคราะห์มักจะประสบปัญหาการสูญเสียเหงื่อหรือน้ำและเกลือแร่ออกไปจากร่างกายเป็นจำนวนมาก ทำให้นักกีฬามีอาการเหนื่อยล้าได้ง่ายกว่านักกีฬาที่เล่นกีฬาบนสนามหญ้า เพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บในการฝึกซ้อมกีฬาทุกครั้ง ควรเริ่มต้นฝึกบนสนามหญ้าก่อน เพื่อที่จะได้มีความยืดหยุ่นของระบบโครงสร้างและการเคลื่อนไหว ต่อจากนั้นจึงเปลี่ยนมาเล่นบนพื้นที่มีความหนาแน่นและแข็งกว่าสนามหญ้า เช่น พื้นซีเมนต์ พื้นถนน พื้นยางมะตอย เป็นต้น การเล่นกีฬาที่เริ่มจากพื้นสนามแข่งขันที่อ่อนกว่าไปสู่พื้นสนามแข่งขันที่แข็งกว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่อาจมีต่อระบบโครงสร้างและระบบการเคลื่อนไหว 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=524 




- หรือ -



คำศัพท์กีฬา

Youtube: @siamsporttalk
สนามทุ่งทะเลหลวง
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 710,871 ครั้ง
สนามกีฬาราชนาวี สัตหีบ  
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 806,262 ครั้ง
สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
14 มิ.ย. 60
เข้าชม 821,726 ครั้ง
สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสมุทรสาคร
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 955,265 ครั้ง
PAT Stadium (แพท สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 903,318 ครั้ง
Chonburi Stadium (ชลบุรี สเตเดี้ยม)
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 999,951 ครั้ง
สนามลีโอ สเตเดียม
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 585,351 ครั้ง
สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
13 มิ.ย. 60
เข้าชม 645,918 ครั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์สนาม