พิมพ์

 

กติกาการให้คะแนนมวยไทย
กติกาการให้คะแนนมวยไทย

กติกาให้คะแนน  

การให้คะแนนมวยไทยสมัครเล่น มี 2 วิธี

     1. การให้คะแนนการตัดสินด้วยใบให้คะแนน (SCORING CARD)

หลักเกณฑ์การให้คะแนน การให้คะแนนต้องให้ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

      1.1 เกี่ยวกับการชก (อวัยวะที่ใช้ในการต่อสู้คือ หมัด เท้า เข่า ศอก)

      ก. การชกที่ได้คะแนน ในแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคิดคะแนนให้แก่ผู้แข่งขันแต่ละขันแต่ละคน ตามจำนวนของการชกที่ถูกต้อง ตามแบบของมวยไทย เช่น ผู้แข่งขันจะกระแทรก ชก ตี เตะ ทุบ ถอง เหน็บ ถีบ ฯลฯ บริเวณทุกส่วนบนร่างกายคู่ต่อสู้ด้วยประการใดๆ ก็ได้ที่เข้าลักษณะของมวยไทย โดยปราศจากการป้องกันและทำให้ผู้แข่งขันเสียเปรียบถือว่าได้คะแนน ในการชกคลุกวงใน หรือการเข้าคลุกนั้น ต้องคิดคะแนนให้ผู้แข่งขันที่แลกอาวุธ (แม่ไม้มวยไทย คือ หมัด เข่า ศอก) ได้ถูกต้องมากกว่า ดีกว่า เมื่อสิ้นสุดการเข้าคลุกวงในกันนั้น 

       ข.การชกที่ไม่ได้คะแนน มีดังนี้

              • การชกที่ละเมิดกติกาข้อหนึ่งข้อใด

              • ชกถูกแขน ขา ของคู่แข่งขัน อันเป็นลักษณะของการป้องกันของคู่แข่งขัน

              • ไม่มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากร่างกาย

       1.2 เกี่ยวกับฟาวล์

          ก. ระหว่างการชกแต่ละยกผู้ตัดสินต้องคำนึงถึงความสำคัญของการฟาวล์ เตือนและตำหนิโทษตามสมควรในการฟาวล์เท่าที่ได้มองเห็น แม้ผู้ชี้ขาดจะเห็นหรือไม่ก็ตาม เมื่อผู้ชี้ขาดเตือนให้ใส่เครื่องหมาย(c) ในช่องที่แบ่งไว้ของผู้กระทำฟาวล์

         ข. การตำหนิโทษ ผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนนผู้แข่งขันคนหนึ่ง ผู้ตัดสินอาจให้คะแนนอีกคนหนึ่งก็ได้ เมื่อผู้ตัดสินจะให้คะแนนแก่ผู้แข่งขันที่คู่ต่อสู้ฟาวล์ซึ่งถูกผู้ชี้ขาดสั่งตัดคะแนน ผู้ตัดสินต้องใส่ (w) ในช่องที่แบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้ถูกสั่งตัดคะแนนเพื่อแสดงว่าเขาได้กระทำเช่นนั้น ถ้าผู้ตัดสินไม่เห็นด้วยต้องใส่(x) ในช่องแบ่งไว้ข้างคะแนนของผู้แข่งขันที่ถูกตัดสินคะแนน

          ค.ถ้าผู้ตัดสินเห็นการฟาวล์อย่างชัดเจนโดยผู้ชี้ขาดไม่ได้สังเกตและตัดคะแนนผู้แข่งขันที่กระทำฟาวล์ผู้ตัดสินจะต้องประเมินความรุนแรงของการฟาวล์และตัดคะแนนในการกระทำฟาวล์ไปตามความเหมาะสม แม้ผู้ชี้ขาดจะไม่เห็นก็ตามผู้ตัดสินจะต้องแสดงให้เห็นว่านักมวยได้กระทำเช่นนั้นโดยใส่ (J) ลงไปในช่องที่แบ่งไว้ทางด้านนักมวยที่กระทำผิด พร้อมทั้งระบุไว้ด้วยว่าทำผิดด้วยเหตุใด

          1.3 เกี่ยวกับการให้คะแนน

               ก. เมื่อสิ้นสุดแต่ละยก แต่ละยกมี 20 คะแนน ไม่มีการให้คะแนนเป็นเศษส่วน เมื่อสิ้นสุดแต่ละยกผู้แข่งขันที่ดีกว่า(มีทักษะมากกว่า) จะได้ 20 คะแนน และคู่แข่งขันจะได้ลดลงไปตามส่วนถ้าผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายชกตีเท่ากัน ให้คะแนนคนละ 20 คะแนน

               ข. เกณฑ์การคิดคะแนน การคิดคะแนนให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้คือ 1 คะแนนสำหรับอาวุธที่กระทำถูกต้อง 1 อาวุธ

               ค. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน เมื่อการแข่งขันสิ้นสุดลงถ้าได้คะแนนแต่ละยกตามเกณฑ์ข้อ ก. และข้อ ข.

แล้วผู้ตัดสินพบว่าคะแนนของผู้แข่งขันทั้งสองฝ่ายเท่ากัน จะต้องพิจารณาตัดสินผลการแข่งขันให้แก่ผู้แข่งขันที่

                    • เป็นฝ่ายรุกมากที่สุด หรือถ้าเป็นฝ่ายรุกเท่ากันให้พิจารณาผู้ที่มีแบบการชกดีกว่า หรือถ้ายังเท่ากันอีก

                    • เป็นผู้มีการป้องกันดีกว่า (การปิดป้อง ปัด จับ รั้ง การหลบหลีก การฉาก ฯลฯ) จนคู่ต่อสู้ทำอะไรไม่ได้ (คือสามารถป้องกันอาวุธต่างๆ ของคู่ต่อสู้ให้พ้นจากอันตราย พลาดจากเป้าหมายไปได้)

                    • ในการแข่งขันทุกครั้งจะต้องมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผู้ชนะ (แต่ในการแข่งขันแบบแข่งขันครั้งเดียว อาจมีการประกาศผลเป็นเสมอกันได้)

           2. การให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์(Use of electronic scoring machine) 

วิธีการให้คะแนนการตัดสินด้วยเครื่องการใช้ไฟฟ้าหรือเครื่องการใช้คอมพิวเตอร์ผู้ปฏิบัติต้องปฏิบัติ ดังนี้

          1. ต้องมีผู้ตัดสิน 5 คน ทำหน้าที่ในการตัดสินข้างสังเวียน(judge 1- judge5)

          2. เมื่อผู้ตัดสินนั่งประจำที่ข้างสังเวียน ให้สำรวจความเรียบร้อย ของแป้นกด (Key board) (เจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ จะทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว๗ ลักษณะของแป้นกดเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีปุ่มในการกดอยู่ 4 ปุ่ม ดังนี้

               • ด้านซ้ายมือสำหรับนักมวยมุมแดงมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับตัดคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)

               • ด้านขวามือสำหรับนักมวยมุมน้ำเงินมี 2 ปุ่ม ปุ่มบนสำหรับคะแนน (w) ปุ่มล่างสำหรับกดให้คะแนน (p)

          3. ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะต้องกดให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้อย่างถูกต้องตามกติกาหรือการใช้ทักษะมวยไทยที่ให้คะแนน

          4.ผู้ตัดสินที่กดปุ่มให้คะแนนแก่นักมวยที่กระทำได้ถูกต้องจะถูกบันทึกไว้ในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นคะแนนข้อมูลของแต่ละบุคคล (INDIVIDUAL SCORE) 

          5. คะแนนหรือข้อมูลจากการกดของผู้ตัดสินทั้ง 5 จะถูกบันทึกไว้และคำนวณออกมาเป็นผลขั้นสุดท้ายโดยอัตโนมัติ(ACEPTED SCORE)โดยคิดเฉพาะการกระทำที่ผู้ตัดสินให้คะแนนอย่างน้อย 3 ใน 5 บันทึกลงในเครื่องพร้อมกันภายใน 1 นาที (เห็นเหมือนกันอย่างน้อย 3 คนขึ้นไป ภายใน 1 วินาที เป็นหลักในการตัดสินผลการแข่งขัน)

          6. ผู้แข่งขันที่สามารถใช้อาวุธแม่ไม้มวยไทย ดังต่อไปนี้

          1. เตะด้วยส้นเท้าที่ศีรษะ ใบหน้า (จระเข้ฟาดหาง)

          2. โยนเข่าลอยที่ศีรษะ ใบหน้า

          3. ศอกกลับศีรษะ ใบหน้า

          4. เตะสูงที่ศีรษะ ใบหน้า (ก้านคอ) ได้ถูกต้องเข้าเป้าหมายมีน้ำหนัก จะได้คะแนนพิเศษเพิ่มขึ้น 3 คะแนนโดยพิจารณาการให้คะแนนจากการกดเครื่องไฟฟ้า โดยให้คณะลูกขุนพิจารณา

         7. คะแนนในแต่ละยกที่สมบูรณ์จะบันทึกรวมกันไปตลอดจนครบยกสุดท้าย ผู้กระทำได้ถูกต้องมากกว่าจะเป็นผู้ชนะโดยคะแนน

         8. นักมวยที่ถูกตัดคะแนน (WARING)คะแนนจะหายไป 2 คะแนน (มีค่าเท่ากับ 2 การกระทำ) ไปเพิ่มให้กับฝ่ายตรงข้าม

         9. คะแนนของผู้ตัดสินทั้ง 5 คน จะบันทึกจำนวนทักษะที่กระทำทั้งหมด จัดเก็บไว้ทั้งส่วน บุคคลและผลอย่างน้อย 3 คน

        10. ถ้าการชกสิ้นสุด ผลสุดท้ายคะแนนออกมาเสมอกัน จะ ต้องนำคะแนนดิบมาพิจารณา โดยตัดคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่ให้คะแนนไว้สูงสูดและต่ำสุดออก แล้วนำคะแนนส่วนบุคคลของผู้ตัดสินที่เหลืออยู่ทั้ง 3 คน มารวมกัน นักมวยที่มีคะแนนรวมมากกว่าจะเป็นผู้ชนะ แต่ถ้ามีผลเสมอกันอีก ลูกขุน (JURY) จะให้ผู้ตัดสินทั้ง 5 คน พิจารณาครั้งสุดท้ายโดยการกดปุ่มบันทึกของแต่ละคนอีก 1 ครั้ง (ปุ่มแดงหรือปุ่มน้ำเงิน)

        11. การใช้ทักษะที่กระทำได้มากกว่าคู่ต่อสู้ จำนวน 25 คะแนน ถือว่ามีฝีมือเหนือกว่า ให้JURY แจ้งให้ REFEREE ยุติการแข่งขัน โดยให้สัญญากดออด และ REFEREE ยุติการแข่งขันฝีมือเหนือกว่าสำหรับเยาวชนหรือนักมวยหญิง จำนวน 20 คะแนน

         12. ถ้าเครื่องให้คะแนนขัดข้องต้องปฏิบัติ ดังนี้

          •ประธานคณะลูกขุน จะยุติการแข่งขัน 1 นาที ถ้ายังซ่อมเครื่องไม่ได้ให้แข่งขันต่อไป โดยให้คะแนนลูกขุน 3 หรือ 5 คน เป็นผู้ให้คะแนน

          ถ้าไม่สามารถซ่อมเครื่องได้ คณะลูกขุนสามารถตัดสินให้ใช้การตัดสินด้วยใบให้คะแนนสำหรับคู่มวยต่อไป

การใช้ทักษะมวยไทยสมัคเล่นที่ได้คะแนน

ผู้ตัดสินต้องพิจารณาจากการกระทำด้วยทักษะมวยไทย เช่น หมัด เท้า เข่า ศอก ดังนี้

          •ถูกเป้าหมายของมวยไทยสมัครเล่น

          •ปราศจากการป้องกันจากคู่ต่อสู้

          •มีน้ำหนักหรือแรงส่งจากหัวไหล่ ลำตัว สะโพก แขน หรือขา

          •ทักษะมวยไทยที่ใช้กระทำไม่ผิดกติกา (ฟาวล์)

สรุป     1. เห็นกด

           2. เข้าเป้า ปราศจากการป้องกัน

           3. มีน้ำหนัก

           4.ไม่ฟาวล์




- หรือ -